Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพรวมของการออกแบบ (Landscape of Design) - Coggle Diagram
ภาพรวมของการออกแบบ
(Landscape of Design)
บทนำ
“การออกแบบ” ความหมายกว้าง ๆ คือ การสร้างแผน (plan) หรือ รูปแบบ
(convention) เพื่อนําไปสู่การสร้างวัตถุ (object) ระบบ (system) หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ชี้วัดได้
การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทําตามที่ต้องการนั้น
โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ
การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม และดูมีความแปลก
ใหม่ขึ้น
การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติและ 3 มิติเข้าด้วยกันอย่างมี
หลักเกณฑ์การนําองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการ
ดํารงชีวิตให้อยู่รอด และสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์และการแก้ไข
ปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนํากลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น เเบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก
ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับ
ความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน
มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีเป็นเรื่องที่สําคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบ
สิ่งของ
มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดีเป็นหนทางความคิด ที่ทําให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อ
ความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสําคัญมากหรือน้อย
วัตถุประสงค์
เพื่อเข้าใจถึงความเป็นมาของการออกแบบ
เพื่อเข้าใจความหมายของออกแบบ
เพื่อตระหนักถึงบทบาทและคุณค่าของการออกแบบ
นิยามของการออกแบบ
คําว่า "การออกแบบ" นั้นพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพ.ศ. 2554 ไม่ได้ให้ความหมายไว้สําหรับ
ภาษาอังกฤษ
Design (นาม) การออกแบบคือข้อกําหนดของวัตถุซึ่งถูกทําให้ปรากฏโดยบุคคลหรือกลุ่ม
บุคคลเพื่อใหบรรล ้ เปุ าหมายในสภาวะแวดล ้ ้อมใด ๆ
นิยามอีกประเภทสําหรับคําว่า Design คือ แผน (roadmap) หรือแนวทางเชิงยุทธวิธี (strategic approach)
เพื่อให้บุคคลสามารถบรรลุความคาดหวังที่มีลักษณะเฉพาะ
คนที่ทําหน้าที่ออกแบบคือ “นักออกแบบ (Designer)” ซึ่งมักถูกใช้ในความหมายที่หมายถึงบุคคลที่มีทํางาน
ออกแบบ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายสาขา
การออกแบบในฐานะที่เป็นกระบวนการ
เนื่องจากการออกแบบได้ถูกนําไปใช้ใช้ในหลายสาขา จึงมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสําคัญเกยวก ี่ ับ
กระบวนการออกแบบ (Design process)
KeesDorstและ Judith Dijkhuis ซึ่งเป็นนักออกแบบได้ถกเถียงกันในประเด็นนี้ว่ามีหลายวิธีที่จะอธิบาย
กระบวนการออกแบบ
มุมมองหลัก: “แบบจําลองเชิงเหตุผล (Rational Model)” ซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค (Technical
Problem Solving) และมุมมองแบบมีเหตุผลเป็นศูนย์กลาง (Reason-Centric Perspective)
มุมมองทางเลือก: “ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทํา (Reflection-in-Action)” ซึ่งรวมถึงการออกแบบเชิง
วิวัฒนาการ (Evolutionary Design) การวิวัฒนาการร่วม (co-evolution) มุมมองทางเลือก: “ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทํา (Reflection-in-Action)” ซึ่งรวมถึงการออกแบบเชิง
วิวัฒนาการ (Evolutionary Design) การวิวัฒนาการร่วม (co-evolution)
แบบจําลองเชิงเหตุผล (Rational Model)
แบบจําลองเชิงเหตุผลได้ถูกพัฒนาโดย Herbert A. Simon นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และ Gerhard
Pahl กับ Wolfgang Beitz วิศวกรและนักทฤษฎีการออกแบบชาวเยอรมัน
แบบจําลองเชิงเหตุผลอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาเหตุผลนิยม และใช้แบบจําลอง Waterfall วงจรชีวิตของการ
พัฒนาระบบและแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมเป็นหลัก
ตัวอย่างลำดับขั้นตอนของการออกแบบ
การออกแบบในช่วงก่อนการผลิต (Pre-production design)
การออกแบบระหว่างการผลิต
การออกแบบในช่วงหลังการผลิต (Post-production design)
การออกแบบซ้ํา (Redesign) – ทํากระบวนการออกแบบซ้ําทั้งหมดหรือว่าแค่บางส่วน โดยมีการปรับปรุงให้ดี
ขึ้น
คําวิจารณ์ต่อแบบจําลองเชงเหตุผล
ในทางปฏิบัตินักออกแบบไม่ได้ทํางานในลักษณะนี้ – การเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างกว้างขวางแสดงให้เห็น
ว่านักออกแบบไม่ได้ทํางานตามลําดับขั้นตอนของแบบจําลองเชิงเหตุผล
สมมติฐานที่ไม่สมจริง – บ่อยครั้งที่เป้าหมายยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในช่วงที่เริ่มการออกแบบ นอกจากนั้น
เงื่อนไขที่จําเป็นและข้อจํากัดมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มุมมองที่เน้นการกระทําเป็นศูนย์กลาง ( Action-Centric Perspective)
มุมมองที่เน้นการกระทําเป็นศูนย์กลางหมายถึงกลุ่มแนวคิดที่มีความเชื่อมโยงกันที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ
แบบจําลองเชิงเหตุผล
แนวทางในการออกแบบ
นักออกแบบสามารถเลือกใช้แนวทางหนึ่ง ๆ เป็นแนวทางหลักในการออกแบบ หรือผสมผสานวิธีการต่าง (ซึ่ง
ไม่ขัดแย้งกันเอง) ได้สามารถยกตัวอย่างแนวทางในการออกแบบที่ได้รับความนิยม
การออกแบบเชิงวิพากษ์ (Critical Design)
การออกแบบโดยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม (Participatory design)
การออกแบบเชิงการกําเนิด (Generative design)
การออกแบบโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design หรือ User-Centered Design)
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์และการยศาสตร์ (Human factors and ergonomics)
การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนาประยุกต์ (Applied ethnography)
นวัตกรรมโดยผู้ใช้นํา (Lead User Innovation)
การทดสอบการใช้งาน (Usability Testing)
การออกแบบและอารมณ์ (Design and Emotion)