Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่ายการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล :checkered_flag: -…
หน่ายการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล
:checkered_flag:
1.1 ความหมายและความสําคัญของเงิน
1.1.1 เงิน (Monney ) หมายถึงสิ่งที่สามารถใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับเพื่อใช้เป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ใช้ในการชําระหนี้ในปัจจุบันและอนาคต เช่น เหรียญ กษาปณ์ ธนบัตร รวมถึงเอกสารทางการเงินที่สามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยนได้ เช่น เงินฝากธนาคาร เช็ค ดราฟต์ และธนาณัติ เป็นต้น
1.1.2 ความสําคัญของเงิน
ความสําคัญด้านการผลิต
ความสําคัญด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค
ความสําคัญด้านสังคม
ความสําคัญด้านเศรษฐกิจ
1.2 หน้าที่ของเงิน
เงินเข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับในการซื้อขายสินค้าและชําระหนี้ โดยเงินมีมูลค่านับเป็นหน่วยเงินตรา เงินจึงทําหน้าที่ดังนี้
เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า
1.3 การบริหารเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
1.3.1 การบริหารเงินสด (Cash Management)
การบริหารเงินสดคือ การบริหารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมเงินสด การ จ่ายเงินสด และการลงทุน การจัดทํางบประมาณเงินสดเป็นเครื่องมือในการบริหารเงินสด เพื่อใช้ พยากรณ์ความต้องการของเงินสดในอนาคต
1.3.2 สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Asset)
สินทรัพย์สภาพคล่องคือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสด และสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียง เงินสด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยไม่ลดมูลค่า
1.3.3 เงินสดสํารอง
เงินสดสํารอง หมายถึงเงินที่ได้เก็บออมไว้ สามารถนํามาใช้ได้ทันทีที่เกิดความจําเป็น
1.4 เหตุผลในการถือเงินสดส่วนบุคคล
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจํา
เพื่อใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน
เพื่อการสะสมมูลค่าของเงินสด
1.5 การบริหารการเงินส่วนบุคคล
1.5.1 การบริหารการเงินส่วนบุคคล
การบริหารการเงินส่วนบุคคล หมายถึงการบริหารทรัพยากรทางการเงินที่บุคคลมีอยู่หรือ ได้มาให้บรรลุจุดมุ่งหมายคือ ให้ได้รับความมั่นคงของบุคคลและครอบครัว
1.6 ประโยชน์ของการบริหารการเงินส่วนบุคคล
เพื่อให้บุคคลมีแนวทางในการวางแผนการเงินของตนเองและครอบครัวได้ ถูกต้อง
เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้ตระหนักถึงความสําคัญของการใช้จ่ายเงินอย่างถูก ต้อง
เพื่อก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
เพื่อเป็นรากฐานความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
1.7 บทสรุป
เงินเป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของบุคคลในปัจจุบัน โดยเงินเป็นเครื่องมือในการสะสมความมั่นคง และทําให้บุคคลมีอํานาจทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในด้านความเป็นอยู่ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีการวางแผนการบริหารการเงิน