Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 การจัดตั้งธุรกิจ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 2
การจัดตั้งธุรกิจ
กิจการเจ้าของคนเดียว
คือธุรกิจที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว เป็นการลงทุนธุรกิจเพียงคนเดียว สามารถจัดตั้งธุรกิจได้เองและทำได้ง่าย เพราะเป็นการตัดสินใจเพียงคนเดียว ทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว เวลาลงทุนก็ลงคนเดียว ได้กำไรก็ไม่ต้องแบ่งใคร แต่ถ้าหากธุรกิจขาดทุน เจ้าของธุรกิจต้องเป้นผู้รับผิดชอบทุกอย่างเพียงคนเดียวเท่านั้น ธุรกิจบุคคลธรรมดาจึงเป็นธุรกิจที่มีกำหมายข้อบังคับที่น้อยกว่าธุรกิจรูปแบบอื่น ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียในการทำธุรกิจ
ผู้ที่ตั้งธุรกิจรูปแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา เจ้าของธุรกิจจะมีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าหากว่าธุรกิจเข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของธุรกิจต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย ตาม พรบ. ทะเบียนพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือธุรกิจที่ขายสินค้าได้ 20 บาทขึ้นไปในหนึ่งวัน หรือมีสินค้าขายใน 1 วันตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป เป็นต้น
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์
-การจดทะเบียนพาณิชย์
-การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
1.1วัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนพาณิชย์
1.2การจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
1.3ผู้ประกอบกิจการต้องจดทะเบียนพาณิชย์
1.บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
2.1พาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
1.การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2.พาณิชยกิจหรือการบำรุงศาสนาพรือเพื่อกุศล
3.พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4.พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5.พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6.พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
2.2บทลงโทษ
1.ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียนแสดงรายการเท็จ มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท
2.ถ้าใบทะเบียนสูญหายๆม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน มีความผิดปรับไม่เกิน200บาท
3.กระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต จะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์
4.ผู้ประกอบพาณิชย์ที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนแล้ว ยังฝ่าฝืน มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกิน10,000บาทหรือจำคุกไม่เกิน1ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.3 การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
1.ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
2.ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
2.4จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.บริการผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน้ต
2.ให้บริการอินเทอร์เน็ต (lsp:lnternet Service Provider
3.ให้เช่าพื่นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
บริษัทจำกัด
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดในประเทศไทย มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
การตรวจสอบชื่อบริษัท
ก่อนที่จะจดทะเบียน ต้องตรวจสอบชื่อบริษัทที่ต้องการ โดยยื่นขอจองชื่อบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการใช้ชื่อเดียวกันหรือชื่อที่ใกล้เคียง
2.จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association)
หนังสือบริคณห์สนธิเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลสำคัญของบริษัท เช่น ชื่อบริษัท วัตถุประสงค์ของธุรกิจ ที่ตั้ง สัดส่วนการถือหุ้น เป็นต้น โดยผู้ก่อตั้งต้องลงนามในเอกสารนี้และส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3.การประชุมจัดตั้งบริษัท
หลังจากจองชื่อและยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้ก่อตั้งต้องจัดการประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การจัดสรรหุ้น การตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชี การอนุมัติกฎเกณฑ์ที่สำคัญของบริษัท เป็นต้น
4.ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
หลังจากการประชุมจัดตั้ง ผู้ก่อตั้งสามารถยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องใช้เอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ รายงานการประชุมจัดตั้ง และหนังสือรับรองจากผู้ถือหุ้น การลงทะเบียนสามารถทำได้ที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผ่านระบบออนไลน์
5.ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ผู้ก่อตั้งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปตามทุนจดทะเบียนและประเภทของบริษัท
6.การออกหนังสือรับรองบริษัท
เมื่อยื่นเอกสารครบถ้วนและชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะออกหนังสือรับรองบริษัท ซึ่งสามารถใช้ในการดำเนินธุรกิจและเป็นหลักฐานว่าบริษัทได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
หมายเหตุ: หลังการจดทะเบียน บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายทางบัญชีและภาษีของประเทศไทย เช่น การยื่นแบบภาษี การทำบัญชีประจำปี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีอยู่ทั้งหมด 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนสามัญคือ ห้างหุ้นส่วนประเภท “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึง หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด ไม่ว่าสัดส่วนหุ้นที่ลงไปนั้นจะมากหรือน้อยเท่าใด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะทำการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ แล้วแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการนั้น โดยต้องมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สามารถแบ่งลักษณะของผู้ถือหุ้นเป็น 2 รูปแบบคือ
1.หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง หุ้นส่วนรับผิดจำกัดตามเงินลงทุนที่ได้ลงหุ้นไปเท่านั้น หุ้นส่วนประเภทนี้ มีสิทธิ์ในการส่งคำถาม ออกความเห็น หรือเป็นที่ปรึกษาของกิจการได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าบริหารจัดการหรือตัดสินใจใดๆ และการลงหุ้นจะลงเป็นแรงงานไม่ได้
2.หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด คือ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่รับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน อาจมากกว่าสัดส่วนเงินลงทุนก็ได้ หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์เข้าจัดการงานและตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วนได้อย่างเต็มที่ โดยในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องมีหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหนุ้นส่วนจำกัด
มี3ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างประกอบการค้า จึงควรตกลงกันในเรื่องสำคัญไว้ก่อนให้ชัดเจน
ตรวจสอบรายชื่อและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ที่เว็บไซต์
https://reserve.dbd.go.th/
กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดให้ผู้ที่จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นใหม่ต้องตรวจและจองชื่อก่อนจดทะเบียนจัดตั้งเพื่อมิให้ชื่อซ้ำหรือคล้ายกัน และแบบของชื่อมีนิติบุคคลที่ผ่านทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำดวงตราของห้างหุ้นส่วน และจัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบเมื่อชื่อที่จะจดทะเบียนผ่านการตรวจและตรวจจากเจ้าหน้าที่แล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกรายละเอียด (โดยวิธีพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 3 การยื่นขอจดทะเบียน ทำได้ 2 วิธี คือ
1.ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือตอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2.ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อถูกต้องแล้วให้ผู้ขอจดทะเบียนส่งพิมพ์เอกสารคำขอจดทะเบียนให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและรับคำขอพร้อมหลักฐานไปยื่นขอจดทะเบียน
ข้อมูลที่ใช้
1.ชื่อของห้างหุ้นส่วน
2.สำนักงานที่ใช้ติดต่อห้าง
3.ชื่อที่ตั้งสำนักงานใหญ่และ/หรือสาขา
4.ชื่อ, ที่อยู่, อายุ, สัญชาติ และสิ่งที่นำมาลงหุ้น
5.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
6.ข้อกำหนดเกี่ยวกับอำนาจผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้น
7.ส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน
8.ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ (ถ้ามี)
9.ตราสำคัญของห้าง (ถ้ามี)
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
1.คำขอจดทะเบียน (แบบ หส.1)
2.รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลใช้เฉพาะหน้า 1 และ 3
3.วัตถุประสงค์ (แบบ จ.)
4.แบบขอจดชื่อบุคคล
5.แบบ สสช. 1 จำนวน 2 ฉบับ
6.สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือหุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
7.หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม ได้แก่ หนังสือรับรองจากธนาคาร หรือสำเนาหลักฐานแสดงการชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
8.สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
9.หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
10.กำหนดค่าจ้างตัวผู้จัดการหุ้นส่วนตั้งแต่เดือนละ 40 แต่ไม่เกิน 50 ของทุนจดทะเบียนหรือค่าตอบแทนอื่นๆ