Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล - Coggle Diagram
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล
การสื่อสารด้วยข้อมูล
กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทาง
สื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร (Sender)
สาร (Message)
ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel)
ผู้รับสาร (Receiver)
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้
รวดเร็ว
วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
สามารถทำได้รวดเร็วความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
การทำข้อมูลให้เป็นภาพ
การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ สามารถช่วยตอบคำถาม หรือนำเสนอประเด็นต่างๆ ได้รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดพันคำ
การเลือกใช้แผนภาพให้เหมาะสมกับข้อมูล
แผนภูมิแท่ง - เปรียบเทียบปริมาณข้อมูลแต่ละรายการ
กราฟเส้น - แสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง
แผนภาพการกระจาย - แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด
แผนภูมิรูปวงกลม - แสดงสัดส่วนของข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนัก
การเล่าเรื่องจากข้อมูล
เป็นการถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้ ผลลัพธ์จากข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลออกมาเป็นภาพ จำเป็นต้องมีกลวิธีในการเล่าเรื่องราวเพื่อเชื่อมโยงหรือสื่อสารให้เข้ากับผลลัพธ์ของข้อมูล ทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในการติดตามเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ และมีความเข้าใจตรงตามความต้องการของผู้สร้างเนื้อหา
การนำเสนอ แบบตู้กดน้ำ – เปรียบเสมือนการพูดคุยในขณะกดน้ำมีเวลาในการสนทนาเพียงช่วงสั้นๆ
การนำเสนอ แบบร้านกาแฟ – เปรียบเสมือนการพูดคุยกันในร้านกาแฟ มีเวลาในการสนทนามากขึ้น เล่าเรื่องราวระหว่างกัน เนื้อหาที่นำเสนอมีความยาว
การนำเสนอ แบบห้องสมุด – เปรียบเสมือนการเข้าศึกษาเนื้อหาในห้องสมุด ที่มีเอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัยต้องค้นคว้าเชิงลึกในสิ่งที่สนใจ
การนำเสนอ แบบห้องทดลอง – เปรียบเสมือนการทดลองและลงมือปฏิบัติการในห้องทดลอง ที่ได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง
ข้อควรระวังในการนำเสนอข้อมูล
การใช้ตัวแปรในการมองเห็นผลลัพธ์ของข้อมูล จะต้องระวังไม่ให้ตัวแปรที่ใช้แสดงผลด้านอื่นที่ไม่ได้ตั้งใจปรากฏออกมา
ข้อมูลที่นำมาใส่ในงานนำเสนอนั้นจะต้องสั้น กระชับ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำเสนอ
สีที่ใช้ต้องสบายตา และน่าสนใจ หลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นอ่อนคู่กับตัวหนังสือสีอ่อนเพราะจะทำให้อ่านยาก
รูปที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหา
รูปที่นำมาใส่ในงานนำเสนอจะต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่ไป
ภาพเคลื่อนไหวควรใส่ให้เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป
สิ่งที่ไม่ควรทำในการนำเสนองาน
อาขยาน อ่านกระจุย
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคอมฯ (และอุปกรณ์ทั้งหลาย)
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคอมฯ (และอุปกรณ์ทั้งหลาย)
ใช้ตัวอักษรบนหน้าสไลด์ให้น้อยที่สุด