Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการขุดกระดูกไดโนเสาร์, นักถ่ายภาพ - Coggle Diagram
กระบวนการขุดกระดูกไดโนเสาร์
การสำรวจเบื้องต้น
นักวิจัยจะเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการค้นพบซากไดโนเสาร์ เช่น บริเวณที่มีการค้นพบก่อนหน้านี้
การศึกษาแผนที่ทางธรณีวิทยาเพื่อหาชั้นหินที่เหมาะสม
การวางแผน
กำหนดวัตถุประสงค์การขุดค้น และเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องมือขุด อุปกรณ์บันทึกข้อมูล และเครื่องมือในการถ่ายภาพ
การขุดค้น
ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการขุดค้น เช่น ไม้พาย, แปรง, และเครื่องมือพิเศษ
ขุดดินอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสียหายต่อซากโครงกระดูก
การบันทึกข้อมูล
จดบันทึกตำแหน่งที่พบซาก
และรายละเอียดของสิ่งที่พบ เช่น
ขนาดและลักษณะของกระดูก
ถ่ายภาพและทำแผนที่
เพื่อติดตามบริบทของการค้นพบ
การอนุรักษ์
หากพบซากไดโนเสาร์ จะต้องมีการทำความสะอาด
และบรรจุในวัสดุที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหาย
อาจมีการสร้างแม่พิมพ์หรือการใช้เทคนิคการทำสำเนา
การวิเคราะห์
ศึกษาโครงสร้างกระดูกและเปรียบเทียบกับซากอื่นๆเพื่อระบุสายพันธุ์และเข้าใจลักษณะการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์
การเผยแพร่ข้อมูล
นักวิจัยจะรายงานผลการค้นพบผ่านเอกสารวิจัย, งานสัมมนา, และการเผยแพร่ข้อมูลให้กับสาธารณะ
ขั้นตอนการขุดค้น
การสกัดกระดูกออกจากแหล่งขุดค้น
การศึกษาที่ห้องปฏิบัติการ
การทำความสะอาด
การเก็บรักษา
การซ่อมแซมเพิ่มเติม
เครื่องมือขุดค้นฟอสซิล
ค้อนกับมีดแซะ
คอยแซะชั้นดินทีละนิด
เหล็กสกัด
เคาะหรือทุบหัวเหล็กสกัดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ
แปรงปัด
คอยปัดหน้าเศษดิน
ตู้ไม้จัดเก็บ
การถ่ายเทความชื้นและอุณหภูมิได้ดีกว่าตู้โลหะ
กาวร้อน
เพื่อช่วยเชื่อมประสานฟอสซิลไม่ให้แตกหัก
ปูนพลาสเตอร์
ทำเฝือกห่อชิ้นฟอสซิล เพื่อป้องกันการแตกหัก
ปากกาเมจิก
เขียนกำกับวันเวลาลงใสกระดูกฟอสซิล
ปากกาลม
ช้สำหรับการเจียระไนกระดูกฟอสซิล
บุคลากร
นักบรรพชีวินวิทยา
เป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาซากสัตว์โบราณ รวมถึงไดโนเสาร์
มีหน้าที่วางแผนการขุดค้น วิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ได้จากการค้นพบ
นักธรณีวิทยา
ศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาและชั้นหินเพื่อช่วยในการค้นหาที่เหมาะสมสำหรับการขุดค้น
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอายุและลักษณะของหินในพื้นที่
ผู้ช่วยวิจัย
ช่วยงานด้านการขุดค้นและการบันทึกข้อมูล
ทำงานร่วมกับนักวิจัยในการเก็บรักษาและทำความสะอาดซากไดโนเสาร์
นักอนุรักษ์
มีหน้าที่อนุรักษ์และดูแลซากไดโนเสาร์ที่ค้นพบ เพื่อป้องกันความเสียหาย
ใช้เทคนิคพิเศษในการบำรุงรักษาและเก็บรักษาซากให้เหมาะสม
นักการศึกษา
ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการค้นพบแก่สาธารณชนหรือกลุ่มนักเรียน
มีส่วนช่วยในการเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการขุดค้นไดโนเสาร์
นักวิจัยด้านเทคนิค
ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การสำรวจด้วยเรดาร์หรือการวิเคราะห์ DNA เพื่อตรวจสอบซากไดโนเสาร์
การสำรวจขุดฟอสซิล
ชั้นหินที่่พบ
หินดินดาน หินทราย หรือหินปูน
แหล่งที่มีโอกาสพบฟอสซิลได้มาก
ลำห้วยและเนินเขา เพราะน้ำจะพัดพาฟอสซิลมาตามลำห้วย หรือไม่น้ำก็จะกัดเซาะดินตามเนินเขาจนฟอสซิลโผล่ออกมาให้เห็น
สถานที่ที่ขุดค้น
ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก
แหล่งซากดึกดำบรรพ์เกาะตะรุเตา อำเภอละงู จังหวัดสตูล
แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านป่าเสม็ด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนาราม อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก
แหล่งซากไดโนเสาร์ภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
แหล่งซากไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก
แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เหมืองถ่านหิน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เหมืองถ่านหินเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บ่อทราย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
สุสานหอยแหลมโพธิ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดกระบี่
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลา บ้านหนองปลา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
นักถ่ายภาพ
รับผิดชอบในการถ่ายภาพซากไดโนเสาร์และขั้นตอนการขุดค้น
สร้างบันทึกภาพเพื่อใช้ในการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูล