Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีชีวเคมี (biological theories) - Coggle Diagram
ทฤษฏีชีวเคมี (biological theories)
สาเหตุความผิดปกติทางจิตตามแนวคิดทฤษฏีชีวเคมี
สารสื่อประสาท (neurotransmitters)
โดปามีน (dopamine)
ในผู้ป่วยโรคจิตเภทและผู้ที่มีภาวะคลุ้มคลั่งจะมีระดับของโดปามีนที่สูงมากกว่าปกติ แต่ผู้ที่ภาวะซึมเศร้าจะพบว่ามีระดับของโดปามีนที่ต่ำกว่าปกติ
นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
สารสื่อประสาทชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรควิตกกังวล (anxiety disorders) และโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorders) พบว่าถ้าหากมีระดับของนอร์อิพิเนฟรินที่ต่ำกว่าปกติจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า แต่ถ้ามีระดับนอร์อิพิเนฟรินที่สูงกว่าปกติจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะคลุ้มคลั่ง
ซีโรโตนิน (serotonin)
มีความสัมพันธ์กับสภาวะอารมณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorders) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorders: OCD)
อะเซทิลโคลีน (acetyl choline)
มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
กาบา (Gamma Aminobutyric Acid: GABA)
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวล (anxiety disorders) และโรคลมซัก (seizure disorders)
ความผิดปกติของโครงสร้างและการทํางานของสมอง
เมื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยคอมพิวเตอร์ และการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง จะพบว่าในผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีช่องเวนตริเคิลใหญ่ขึ้น และเมื่อตรวจด้วย Positron Emission Tomography: PET scan จะพบว่าการไหลเวียนของเลือดบริเวณ สมองส่วนหน้า (frontal lope) ลดลงกว่าผู้ที่ไม่ป่วยด้วยโรคจิตเภท
ไซโคลเอนโดรครายโนโลยี (psychoendocrinology)
พบว่าความผิดปกติของการทำงานระหว่างระบบประสาทและการทำงานต่อมไร้ท่อ มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิต
ไซโคนิวโรอิมมูโนโลยี (psychoimmonology)
พบว่าการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และพฤติกรรม เนื่องจากระบบประสาทและภูมิคุ้มกันทำงานโดยอาศัยการทำงานของฮอร์โมนและสารสื่อประสาท
พัฒนาการของเซลล์ประสาทในสมอง (neural development)
ความผิดปกติของโครงสร้างของเซลล์ประสาทของมารดาขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ได้แก่ การติดเชื้อหรือการได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นความผิดปกติของยีนส์ ก็มีความความสัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภทร่วมด้วย