Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว - Coggle Diagram
การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
วัยทารกและวัยเด็ก
พ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัวจะให้การดูแล จัดการวางแผน การปลูกฝังให้มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีภาวะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับวัยและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคม
วัยรุ่น
อายุ13-20 ปี เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว ควรปลูกฝังแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง ตั้งแต่อายุ 40 ถึง 60 ปี
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ตั้งแต่อายุ 20 ถึง 40 ปี บุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ เป็นวัยทำงานและสร้างครอบครัว
วัยสูงอายุ
มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อวัยวะทุกระบบในร่างกายเสื่อมถอย ปัญหาทางกายที่พบบ่อย การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวและการกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ข้อกระดูกเสื่อม ท้องผูก ตาเป็นต้อกระจก หูตึง และนอนไม่หลับ เป็นวัยที่ควรได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว
การดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
ตนเอง
.การออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
การพักผ่อนและกิจกรรมนันทนาการ
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
สร้างทักษะในชีวิตเพื่อการอยู่กันด้วยสันติ
ครอบครัว
สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้สมาชิกใหม่เกิดและมีชีวิตอยู่รอดได้
ป้องกันและคุ้มครองให้มีการเจริญเติบโตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่อย่างราบรื่น
ส่งเสริมสมาชิกของครอบครัวแต่ละคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี
กระบวนการในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การประเมินปัญหา
พิจารณาประเมิน “สภาวะของสุขภาพ” โดยตนเองเป็นคนประเมินตนเองและครอบครัวของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มใด
ร่างกายอยู่ในสภาพที่แข็งแรงหรือทรุดโทรม
สภาพแวดล้อมสะอาดหรือสกปรก
รูปร่างผอมหรืออ้วน
ตามองเห็นเป็นปกติหรือไม่ มีอาการสายตาสั้นหรืออาการสายตายาว
การวิเคราะห์ปัญหาการวิเคราะห์ปัญหา
เมื่อทราบว่าสภาวะของร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอหรืออยู่ในสภาวะเสี่ยง ก็นำเอาปัญหานั้นๆ มาวิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
การวางแผนในการแก้ปัญหา
หาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่เหมาะสมว่าจะดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี
การลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
นำเอาแผนที่วางไว้มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยไม่ปฏิบัติอย่างงมงาย แต่ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนเราและครอบครัว
การประเมินผล
เป็นกระบวนการสุดท้ายของทุกๆ กิจกรรม เพื่อจะได้ทราบผลหรือบทสรุปที่เราได้ปฏิบัติตามแผนแล้วเกิดผลอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาในการดำเนินการต่อไป
คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
สร้างเสริมสุขภาพทั้งกายและจิตใจของตนเองและครอบครัว
ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.สร้างสัมพันธภาพอันดีภายในครอบครัว ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวได้
กำหนดหรือเลือกรูปแบบการดๆเนินชีวิตของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
กำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวไม่ให้เจ็บป่วย