Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไดโนเสาร์สายพันธ์กินเนื้อในประเทศไทย - Coggle Diagram
ไดโนเสาร์สายพันธ์กินเนื้อในประเทศไทย
สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni
ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในประเทศไทย เดิน 2 ขา มีความยาวประมาณ 7 เมตร ฟันมีลักษณะเป็นทรงกรวย มีแนวร่องและสันเรียงสลับตลอดคล้ายฟันของจระเข้ สันนิษฐานว่ามีแหล่งหากินอยู่ริมน้ำ กินปลาเป็นอาหาร เป็นไดโนเสารไทยที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว พบที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี สกลนคร อุดรธานีและจังหวัดนครราชสีมา โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการสำรวจไดโนเสาร์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2529
สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ เดิน 2 เท้า มีความยาวประมาณ 6.5 เมตร มีขาหลังที่ใหญ่และแข็งแรง พบเฉพาะส่วนกระดูกโคนหาง และกระดูกสะโพก สะโพกและหางสภาพสมบูรณ์ฝังอยู่ในชั้นหินทราย เป็นไดโนเสารไทยวงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน สันนิษฐานว่าเริ่มวิวัฒนาการครั้งแรกในทวีปเอเชีย แล้วแพร่กระจายไปยังเอเชียเหนือและอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะสูญพันธุ์พบที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี และนครราชสีมา
กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus khomkaenensis)
กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส หรือไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ วิ่งเร็ว ปราดเปรียว ไม่มีฟัน กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ความยาวประมาณ 1-2 เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน พบที่จังหวัดขอนแก่น
ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenator yaemniyomi)
ไดโนเสาร์ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ หรือไดโนเสาร์นักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง ส่วนแย้มนิยมมิ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตข้าราชการกรมทรัพยากรธรณี ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงเมื่อ 40 กว่าปีก่อน อันนำมาสู่การศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ในประเทศไทยในเวลาต่อมา
มีลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร โดยพบในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินเสาขัว อายุประมาณครีเทเชียสตอนต้น 130 ล้านปี ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเมกะแรพเตอรา เนื่องจากมีลักษณะทั่วไปคล้ายไดโนเสาร์อื่นๆ ในกลุ่มเมกะแรพเตอรา คือ มีขาหน้าและขาหลังที่ยาว บ่งบอกถึงการวิ่งเร็ว มีกรงเล็บใหญ่ กะโหลกเรียวกว่าที่พบในไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไป
วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis)
ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง กลุ่มเทอโรพอด พวกซีลูโรซอร์ยุคแรกๆ (Basal Coelurosaur : มีสายวิวัฒนากรไปทางนก) พบที่จังหวัดหนองบัวลำภู ชิ้นส่วนกระดูกที่พบประกอบด้วย กระดูกขาหลัง กระดูกนิ้วขาหน้า กระดูกหัวหน่าว ซี่โครง และกระดูกจะงอยบ่า อยู่ในหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้นหรือประมาณ 130 ล้านปีก่อน ด้วยกระดูกขาที่พบมีความแตกต่างจากที่เคยพบมา จึงตั้งชื่อสกุลและชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อตามเทพวายุ เป็นเทพแห่งสายลม เปรียบเสมือนไดโนเสาร์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว
มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4 - 4.5 เมตร
"วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส" มีลักษณะข้อเท้าที่ไม่เหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดใดในโลก จึงได้รับการตั้งชื่อเป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ และถูกจัดอยู่ในเบซอลซีลูโรซอร์ ถือได้ว่าอยู่ตรงกลางระหว่างไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่กับไดโนเสาร์ที่จะวิวัฒนาการไปเป็นนก
หากเทียบหมวดหินเสาขัวแห่งเทือกเขาภูเวียงและภูวัดกับทุ่งหญ้าสะวันนา วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส ก็เปรียบได้กับ "เสือชีต้า" ที่มีความปราดเปรียว สยามโมไทแรนนัส อิสานเอนซิส เปรียบได้กับ "สิงโต" ที่เป็นนักล่าขนาดใหญ่ และภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ก็อาจเปรียบได้กับ "เสือดาว"
สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ (Siamraptor suwati)
ไดโนเสาร์กินเนื้อ สยามแรปเตอร์พบที่บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา มีอายุประมาณ 113-115 ล้านปีก่อน ในช่วงต้นยุคครีเตเชียส ไดโนเสาร์ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มคาร์คาโรดอนโตซอร์ เป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และครองตำแหน่งผู้ล่าสูงสุดเนิ่นนานก่อนที่ไทแรนโนซอร์จะวิวัฒนาการขึ้นมาจนใหญ่โตในภายหลัง ด้วยความยาวไม่ต่ำกว่า 7.6 เมตร สยามแรปเตอร์จึงเป็นผู้ล่าสูงสุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้มันยังเป็นคาร์คาโรดอนโตซอร์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังเป็นตัวแรกที่ถูกค้นพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สยามแรปเตอร์ มาจากการศึกษา ค้นคว้าจากฟอสซิลรวมทั้งสิ้น 22 ชิ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนกะโหลก กระดูกขากรรไกรบน-ล่าง กระดูกคอ กระดูกหลัง กระดูกหาง กระดูกสะโพก กระดูกขาหลัง กรงเล็บ กระดูกนิ้วเท้า ฟอสซิลดังกล่าวคาดว่ามาจากสยามแรปเตอร์ไม่ต่ำกว่า 4 ตัว
คาร์คาโรดอนโทซอรัสเป็นสกุลของไดโนเสาร์เทโรพอด (Theropod) หรือไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จจนแพร่ขยายสายพันธุ์ไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปลายยุคจูราสสิกไปจนถึงช่วงต้นยุคครีเทเชียส ชื่อสกุล Carcharodontosaurus มาจากภาษากรีก karchar ที่หมายถึง ‘ฉลาม’ กับคำว่า odōn ที่หมายถึงฟัน และ saurus ที่หมายถึงกิ้งก่า โดยรวมแล้วหมายถึงไดโนเสาร์นักล่าที่มีฟันคมดุจฉลาม หรืออาจเรียกมันว่า “กิ้งก่าฟันฉลาม” มันมีฟันกรามเป็นรูปตัว V ที่แม้จะมีแรงกัดไม่เท่า “ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์” ไดโนเสาร์นักล่าผู้โด่งดังที่เกิดมาภายหลังช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งมีฟันกรามเป็นรูปตัว U แต่คาร์คาโรดอนโทซอรัสก็ได้เปรียบกว่าไดโนเสาร์ ที-เร็กซ์ที่ความว่องไว เนื่องเพราะภายในโครงสร้างของกระดูกหลายส่วนเป็นโพรงอากาศ ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้ใน เทโรพอด (Theropod) ยุคปัจจุบัน นั่นคือนก นอกจากนี้คาร์คาโรดอนโทซอรัสยังสามารถอ้าปากได้กว้างเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มันสามารถกัดหรือกลืนกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขนาดหมีกริซลีที่มีน้ำหนักตัวราว 424 กิโลกรัมได้อย่างไม่ยากเย็น มันมีตำแหน่งดวงตาอยู่ด้านข้างของกระโหลก กระดูกแขนมี 3 ข้อต่อ ขาหน้าหรือมือมี 3 นิ้ว ขาหลังแข็งแรงเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และเท้าก็มีนิ้ว 3 นิ้ว รูปร่างถูกออกแบบมาให้วิ่งได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้ทำให้ในมันกลายเป็นนักล่าอันตรายที่สุดในยุคของมัน