Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา นายถุงชา - Coggle Diagram
กรณีศึกษา นายถุงชา
- สมมติฐาน ที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตในโจทย์สถานการณ์ (Scenario)
-
-
-
-
-
-
- ระบุลักษณะอาการความผิดปกติ/ ปัญหาทางจิตของกรณีศึกษา
-
-
-
-
-
- ข้อมูลของผู้ป่วย และสาเหตุที่สัมพันธ์กับปัญหาเรื่องโรคและการบำบัดรักษา
ข้อมูลส่วนบุคคล
-
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) อาชีพ รับจ้างทั่วไป รายได้1,000 - 3,000 บาท/ เดือน
-
-
สาเหตุ
พันธุกรรมโรคจิตเภทสามารถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท พบว่าญาติของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเภทมากกว่าคนทั่วไป คู่ฝาแฝดที่ไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) มีโอกาสเป็นโรคจิตเภทร่วมกันร้อยละ 40-50 ทำให้เชื่อว่าปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม (nongenetic factors) ก็มีส่วนร่วมทำให้เกิดการป่วยเป็นโรคจิตเภทได้
โดปามีน เป็นปัจจัยด้านชีวเคมีที่มีผลทำให้ เกิดการเป็นโรคจิตเภทโดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลนี้จากการศึกษาเรื่องยารักษาโรคจิตที่มีฤทธิ์ ยับยั้งการจับตัวกันของโดปามีนกับตัวรับโดปามีนทำให้เกิดสมมติฐานที่ว่า โรคจิตเภทเกิดจากการทำงานของโดปามีนที่มากเกินไป
สารสื่อประสาทซีโรโตนีน (serotonin) ซึ่งพบว่าการทำงานของซีโรโตนีน 2 รีเซพเตอร์ (serotonin 2 receptor) ในส่วนหน้าของคอร์เท็ก (frontal cortex) ของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทลดลง
ปัจจัยเหตุด้านกระบวนการภายในจิตใจ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในจิตใจ ที่เกิดจากสัญชาติญาณธรรมชาติ ได้แก่ ความอยาก ถ้าบุคคลมีพลังความอยากความต้องการมากกว่าพลังควบคุมบุคคลนั้นจะทำตามความอยาก ความต้องการของตนเองทำให้เกิดความขัดแย้งกับบุคคลรอบข้างก่อให้เกิดอารมณ์ขุ่นเคือง โกรธ แต่ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลสามารถควบคุมความอยากความต้องการมาก จนไม่สามารถตอบสนองอย่างเพียงพอจะส่งผลทำให้บุคคลนั้นเกิดความคับข้องใจและไม่มีความสุข
ปัจจัยเหตุด้านกระบวนการระหว่างบุคคล ประกอบด้วย ลักษณะการเลี้ยงดูในวัยเด็กซึ่งมีผลต่อกระบวนการพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาม ขวบปีแรกของชีวิตถ้าเด็กได้รับความรักความอบอุ่นที่เพียงพอเด็กเรียนรู้ที่จะรักตนเอง รักผู้อื่นเกิดทัศนคติที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าบรรยากาศในการเลี้ยงดูเกิดความ สับสน มีการสื่อสารที่ขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน จะส่งผลให้เด็กเกิดความสับสนและทำให้เป็นโรคจิตเภทในที่สุดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทัศนคติ ค่านิยม สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่จะปลูกฝังแบบแผนความคิดและความ เชื่อให้กับเด็กหากมีการปลูกฝังค่านิยมความคิดทัศนคติที่ผิดให้เด็ก จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบแผนความคิดและความเชื่อเป็นไปในทางที่ไม่ดี
การรักษา
ระยะควบคุมอาการ (acute phase) เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้คือการควบคุม อาการให้สงบลงโดยเร็วขนาดของยาที่ใช้โดยทั่วไปคือคลอโปรมาซีน (chlopromazine) 300-500 mg ต่อวันหรือฮาโลเพอริดอล (haloperidol) 6-10 mg ต่อวันในกรณีผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงแพทย์ อาจให้ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปืน (benzodiazepine) ขนาดสูงร่วมไปด้วย หลังจากการรักษาด้วยยา ได้นาน 2 สัปดาห์ แล้วอาการทางจิตยังไม่ดีขึ้นแพทย์จึงจะพิจารณาเพิ่มขนาดของยาให้มีขนาด สูงขึ้นต่อไป
ระยะให้ยาต่อเนื่อง (stabilization phase) หลังจากอาการสงบแล้วผู้ป่วยยัง จำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการต่อไปยารักษาโรคจิตที่ใช้ควรให้ขนาดเท่าเดิมต่อไป อีกนาน 6 เดือน ซึ่งการลดขนาดยาลงอย่างรวดเร็วเกินไปหรือการหยุดยาในช่วงนี้อาจทำให้อาการ ของผู้ป่วยกำเริบได้
ระยะอาการคงที่ (maintenance phase) เป็นช่วงที่อาการของผู้ป่วยโรคจิตเภททุเลาลงแต่ยังคงต้องให้ยาต่อเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการกำเริบซ้ำ ขนาดของยาจะมีขนาดที่ต่ำกว่าที่ใช้ในระยะแรก ในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่ยอมรับประทานยาแพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาใช้ยาฉีดประเภท ที่ออกฤทธิ์ในระยะยาว (long acting) ร่วมด้วย
5.การวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความผิดปกติของความคิดและการรับรู้
-
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครอบครัวและผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากมีการแยกตัวจากสังคม
-
เกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น
- ผู้ป่วยไม่แยกตัวอยู่คนเดียว
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีที่ เป็นมิตร
- สนใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก กลัวหรือวิตกกังวล
- กระตุ้นให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น โดยมีพยาบาลอยู่ เป็นเพื่อนและให้กำลังใจ
4.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย
ผลการประเมิน
- ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น
- ผู้ป่วยไม่แยกตัวอยู่คนเดียว
วินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 3 บกพร่องการดูแลตนเองด้านกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นผลมาจากการ ดำเนินการของโรค
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขอนามัยที่สะอาดและถูก สุขลักษณะ
- เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้สึกสุขสบาย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีร่างกายสะอาด เช่น ไม่มีขี้โคล ผมสะอาด ไม่มี รังแค ไม่มีกลากเกลื้อน หรือโรค ทางผิวหนัง
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินการรับรู้ภาวะสุขอนามัยของตนเอง
- ให้ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียและผลดีของการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
- ล้างมือก่อนทำการพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง
- ทำการเช็ดตัวรวมถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดของ ร่างกาย
- ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวผู้ป่วยให้สะอาด
- แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติดูแลสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ
- กล่าวชื่นชมเมื่อผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
ผลการประเมิน ผู้ป่วยมีร่างกายสะอาด เช่น ไม่มีขี้โคล ผมสะอาด ไม่มี รังแค ไม่มีกลากเกลื้อน หรือโรคทาง ผิวหนัง
- วางแผนการพยาบาลโดยระบุการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต จากกรณีศึกษา
-
-
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 บกพร่องในการดูแลตนเองเรื่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากความสามารถในการ ดูแลตนเองลดลง
-
-
A : การแยกตัวจากผู้อื่น หมายถึง พฤติกรรมหรือภาวะที่บุคคลเลือกที่จะไม่เข้าสังคมหรือหลีกเลี่ยงการมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งในแง่ของการสนทนา การทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการอยู่ร่วมกับคนอื่นใน สถานการณ์ต่าง ๆ บุคคลที่แยกตัวมักจะเลือกอยู่คนเดียว ไม่ต้องการพูดคุยหรือสร้างความสัมพันธ์กับคน อื่น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความเครียดหรือภาวะซึมเศร้า : บุคคลที่รู้สึกเศร้า เครียด หรือหดหู่ อาจรู้สึกไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความวิตกกังวลทางสังคม : การกลัวหรือกังวลเกี่ยว กับการถูกปฏิเสธ การถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือการไม่สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม อาจทำให้บุคคล เลือก ที่จะแยกตัว ความไม่มั่นใจในตนเอง : บุคคลที่ขาดความมั่นใจในตนเองอาจรู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่ในกลุ่ม หรือเมื่อมีการสนทนากับผู้อื่น ปัญหาทางจิตใจหรือสุขภาพจิต : โรคทางจิตเวชบางอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือโรคจิตเภท อาจทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะแยกตัวจากผู้อื่น การแยกตัวจากผู้อื่นอาจส่งผลกระทบต่อ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในระยะยาว
วัตถุประสงค์ประสงค์
- ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
- ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจ สามารถบอกวิธีการปฏิบัติ ตัว และตอบข้อซักถามได้
- ครอบครัวและชุมชนให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยและครอบครัว
- อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจ และเห็นความ สำคัญในการดูแลตนเองเรื่องกิจวัตรประจำวัน
- ให้ผู้ป่วยและครอบครัวฝึกทักษะการดูแลตนเองและกา รดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ครอบครัวมีทักษะการดูแลที่ ถูกต้อง
- ประสานงานและส่งต่อหรือแนะนำแหล่งประโยชน์ใน ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
การประเมินผล
- ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจ สามารถบอกวิธีการปฏิบัติ ตัว และตอบข้อซักถามได้
- ครอบครัวและชุมชนให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้อง
- วิเคราะห์ปัญหาการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต จากกรณีศึกษา และเสนอ แนะแนวทางการพัฒนาการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
-
ปัญหาจากตัวผู้ป่วย
- ขาดความร่วมมือในการรักษา: ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกไม่ยอมรับปัญหาของตน หรือไม่เข้าใจถึงความ สำคัญของการรักษา ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาและดูแลระยะยาว
- ความไม่มั่นคงทางจิตใจ: ความไม่มั่นคงทางอารมณ์หรือจิตใจอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจัดการชีวิต ประจำวันของตนเองได้ และส่งผลต่อการฟื้นตัว
- ปัญหาจากครอบครัวและสังคม
- ขาดการสนับสนุนจากครอบครัว : ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการสนับสนุนหรือเข้าใจจากครอบครัว ซึ่งอาจ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีกำลังใจในการรักษา
- ระบุอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม ความคิดและการรับรู้ จากกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎี/ เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD-10 หรือ DSM-5
-