Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไม้กวาดทางมะพร้าว
นางสาว โชตินภา อ่างทอง ม.5/1 เลขที่ 5
Screenshot…
ไม้กวาดทางมะพร้าว
นางสาว โชตินภา อ่างทอง ม.5/1 เลขที่ 5
ทางสายกลาง
พอประมาณ = รู้จักความพอดีในต้นทุน,ศักยภาพของตน
จัดสรรสัดส่วนให้พอดีกับต้นทุนและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ เพื่อไม่ให้เดือดร้อนตนและคุณภาพของวัสดุ อุปกรณ์ที่ไร้คุณภาพ
- งบประมาณ : คำนวณงบประมาณของตนที่ได้จัดสรร แบ่งงบประมาณเป็นสัดส่วนตามความเหมาะสม
เช่น มีงบ 1,000
• ก้านทางมะพร้าว = 400
• ไม้ที่เป็นด้าม = 300
• ด้ายหรือเชือกที่ใช้ร้อย = 300
* หากมีวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้วไม่ต้องซื้อ เพื่อนประหยัดงบประมาณ
อุปกรณ์
- มีด/กรรไกรเหล็ก
- ลวด
- ตะปู 1-2 นิ้ว
- สีน้ำมัน
- เชือกไนล่อน
• แรงงาน : จัดสรรไม้กวาดทางมะพร้าวโดยใช้แรงงานที่เหมาะสมตามสกัดศักยภาพของร่างกายตนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดได้ทุกเมื่อจากการใช้อุปกรณ์หรือวัสดุ
• เวลา : คำนวณและจัดสรรเวลาโดยการดูปฏิทินตารางงาน เพื่อไม่ให้เวลาในการทำไม้กวาดทางมะพร้าวคลาดเคลื่อนจนทำให้เกิดผลกระทบในหน้าที่การงานอื่นๆของตน
• จำนวนของไม้กวาดทางมะพร้าว = ให้พอดีกับงบประมาณแรงงานและเวลา
เช่น อัตราต่อการทำไม้กวาดทางมะพร้าวคือ 1 วัน ได้ไม้กวาดทางมะพร้าว 2 ด้าม ใน 1เดือนที่ต้องลงปฏิบัติจริงมีเวลาให้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว 1 อาทิตย์ จำนวนไม้กวาดทางมะพร้าวที่ได้คือ 14 ด้าม
• ชนิดของไม้ที่ทำด้ามจับของไม้กวาดทางมะพร้าว = ใช้ไม้ที่มีลักษณะที่แข็งไม่เปราะบางแตกหักง่ายขนาดของไม้ให้พอดีในการจับมือถือน้ำหนักไม่มากจนเกินไปหรือเบาจนเกินไป
เช่น • ไม้ไผ่
มีเหตุผล : ตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียง โดยการพิจารณาถึงสิ่งรอบข้างหรือสิ่งรอบตัว ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
• งบประมาณ : คำนวณถึงงบประมาณของค่าวัสดุอุปกรณ์ ตามความเหมาะสมคำนึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความจำเป็น โดยการจัดสวนงบประมาณจะต้องไม่ทำให้ตนหรือสมาชิกในกลุ่มเดือดร้อน
เช่น มีงบประมาณ 1,000
• ก้านทางมะพร้าว = (มีก้านทางมะพร้าวแก่ๆ แห้งๆ หากจับนิดเดียวแล้วหัก แต่ราคา 200 และก้านทางมะพร้าวอย่างดี หากแต่ราคา400)
ให้เลือกการทำมะพร้าวอย่างดีราคา 400 บาทเพราะอยู่ในงบประมาณที่สามารถจับต้องได้ และ วัสดุมีคุณภาพ
• ไม้ที่เป็นด้ามจับ = สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบๆได้ เช่น หากข้างบ้านมีต้นไผ่ให้นำลำต้นของไผ่มาทำเป็นด้ามจับโดยมีขนาดให้พอดีมือและมีความยาวให้เหมาะสม
• ด้ายหรือเชือก = เลือกด้ายหรือเชือกที่มีความเหนียวมาก ไม่เข็มฉีกขาดขาดง่ายๆ
• อุปกรณ์ในการทำ = เลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ไม่มีสนิม ศึกษาการใช้งานให้เข้าใจเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ลดปัจจัยของปัญหาที่พี่อาจเกิดขึ้นขณะลงมือปฏิบัติ
• แรงงาน = คำนึงถึงศักยภาพทางร่างกายของตนเอง หาขั้นตอนในการสร้างหรือประดิษฐ์น้อยกว่าทำมะพร้าวใดที่เหลือบ่ากว่าที่ตนสามารถทำได้ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
• ระยะเวลา = คำนวณและจัดสรรระยะเวลาในการลงมือปฏิบัติประดิษฐ์ไม้กวาดทางมะพร้าวเพื่อไม่ให้เวลาคลาดเคลื่อนจึงทำให้กิจกรรมในตารางเวลาของในเดือนนั้นคลาดเคลื่อน
หากแต่ไม้กวาดทางมะพร้าวยังไม่เสร็จและครบเวลาตามเป้าหมายแล้ว ให้หากิจกรรมที่ไม่มีความสำคัญมากอย่างเช่น งานอดิเรกของตนให้นำเวลานั้นมาปฏิบัติประดิษฐ์ไม้กวาดทางมะพร้าวต่อ
• ชนิดของไม้ที่จะมาเป็นด้ามจับของไม้กวาดทางมะพร้าว = ให้คำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของเนื้อไม้ ขนาด รูปร่าง เป็นหลัก
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี : คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในอนาคตและเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
• งบประมาณ = อาจมีวัสดุหรืออุปกรณ์ที่จะต้องซื้อเพิ่ม เช่น ด้ายหรือเชือกที่ไม่พอในการถักไม้กวาดทางมะพร้าว ดังนั้นจึงต้องคำนวณงบประมาณเผื่อหรือสำรอง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไม่มีงบในการซื้อวัสดุอุปกรณ์เพิ่ม
• ระยะเวลา = หากครบกำหนด 1 อาทิตย์แต่ยังทำไม้กวาดทำมะพร้าวไม่เสร็จให้หาเวลาว่างหรือตารางเวลากิจกรรมที่ไม่มีความสำคัญมาก ให้ลงมือประดิษฐ์ไม้กวาดทางมะพร้าวต่อ
• ก่อนจะลงมือปฏิบัติให้ตรวจสอบชนิดของไม้ที่เลือก เช่น ไม้ไผ่ ว่ามีความแข็งแรงขนาดรูปร่างตรงตามที่ออกแบบได้ไหม หากไม่ ให้รีบวางแผนและเปลี่ยนชนิดของไม้ทันที เพื่อไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนของเวลาในการลงมือประดิษฐ์ไม้กวาดทางมะพร้าว
เงื่อนไข
เงื่อนไขความรู้ = หลักการหรือวิธีการขั้นตอนในการประดิษฐ์ไม้กวาดทางมะพร้าวเตรียมด้ามไม้กวาด
- ตัดด้ามไม้ไผ่ตัน ขนาดลำต้น 2-3 เซนติเมตร โดยเลือกลำต้นออกสีเขียวแก่หรือเขียวออกเหลืองปนน้ำตาล
- เหลาตากิ่งไม้ไผ่ออก เกลาเสี้ยนให้เรียบ
- นำด้ามไม้ไผ่มาลวกไฟสักพัก ดัดให้ตรง นำไปตากแดดให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน
- ใช้เลื่อยตัดไม้ไผ่ตามความยาวด้ามไม้กวาดที่ต้องการ ประมาณ 1-1.5 เมตร
- เจาะรูตรงปลายด้ามขนาด 0.5x1.0 เซนติเมตร โดยกะระยะให้ห่างจากปลายด้ามประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
- ตัดไม้ไผ่ขนาด 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร สำหรับทำเป็นไม้สลักสอดเข้าด้ามไม้กวาด
ไม้กวาดทางมะพร้าว ทำเองได้ไม่ยาก
เตรียมก้านมะพร้าว
- ตัดทางมะพร้าวตามต้องการ โดยควรตัดให้โคนก้านติดกับทางมะพร้าว
- กรีดแผ่นใบมะพร้าวสดออกทั้งสองด้าน นำไปตากแดดประมาณ 7-10 วัน
- มัดใบมะพร้าวแห้งเก็บรวมกันไว้ในที่ร่ม เพื่อนำไปมัดติดกับด้ามไม้กวาดต่อไป อาจเตรียมไว้ประมาณ 300 ก้านสำหรับทำไม้กวาดทางมะพร้าวหนึ่งด้าม
ขั้นตอนการทำ
- สอดไม้สลักเข้าตรงรูปลายด้ามไม้กวาดที่เจาะไว้ตอนแรก โดยวางสอดให้อยู่กึ่งกลาง
- ตอกตะปู 2 จุด โดยจุดแรกอยู่เหนือไม้สลัก 12 เซนติเมตร และอีกจุดอยู่เหนือไม้สลัก 3-4 เซนติเมตร พอให้หัวตะปูโผล่ออกมาเล็กน้อย และมัดลวดตรงหัวตะปูให้แน่น
- นำมัดก้านมะพร้าวแห้งที่เตรียมไว้ มาตัดโคนเจียนให้เรียบเสมอกัน จากนั้นนำก้านมะพร้าววางล้อมห่อปลายด้ามไม้ไผ่ โดยวางสูงกว่าตะปูประมาณ 2 เซนติเมตร มัดเชือกรอบโคนก้านมะพร้าวให้แน่น
- แบ่งมัดก้านมะพร้าวแห้งมัดใหญ่ที่มัดติดด้ามไม้ไผ่ โดยเลือกตรงบริเวณไม้สลักลงมา แบ่งออกเป็น 6 กำ และมัดเชือกแต่ละกำให้เรียงติดไม้สลักทั้งสองข้าง
- จากนั้นแบ่งก้านมะพร้าวแห้งออกเป็นมัดย่อยอีก แล้วนำเชือกไนล่อนมารัดแต่ละกำเล็ก ถักเชือกให้เรียงติดกันเป็นระเบียบ
- ตัดก้านใบมะพร้าวอ่อนออก ตัดปลายให้เรียบเสมอกัน
- ทาสีน้ำมันกันสนิมให้ทั่วก้านมะพร้าว จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 3-5 วัน
เงื่อนไขคุณธรรม = มีความอดทนในการทำไม้กวาดทางมะพร้าว ความเพียรพยายาม และมีสติทุกขั้นตอนในการทำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นำพาสู่ในการทำไม้กวาดทางมะพร้าวได้สำเร็จ
นำไปสู่
- ชีวิต = กระบวนการในการลงมือปฏิบัติสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย
- เศรษฐกิจ = ส่งเสริมและอาชีพผู้ผลิต สร้างรายได้ให้กับตนเอง
- สังคม = ในสังคมรอบตัวตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรรอบตัว ก็สามารถนำมาใช้สอยประโยชน์ ที่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
- สิ่งแวดล้อม = จัดสรรและนำสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรมาทำให้เกิดประโยชน์ เพื่อไม่ให้เป็นการปล่อยปละละเลยให้ทรัพยากรรอบตัวเกิดระดับสูญไปเปล่าๆ
- สมดุล = เกิดความสมดุลในการวางแผนการทำงาน การรับมือกับปัญหา
- มั่นคง = แบบแผน และ กระบวนการทำงานงานยังอยู่ับตัวอย่างมั่นคง สามารถไปต่อยอดกับวานหรือกิจกรรมอื่นๆ
- ยั่งยืน = สามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ไปใช้ได้ในชีวิตอย่างยั่งยืน