Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่8 กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล (นางสาวรัตนาวดี กีเวียน) -…
บทที่8 กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล
(นางสาวรัตนาวดี กีเวียน)
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่วางระเบียบเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีสภาพบังคับให้บุคคลกระทําหรือไม่ให้กระทํา เพื่อกําหนดความประพฤติของบุคคลในรัฐ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและถูกลงโทษ
ความหมายของกฎหมาย
ความสําคัญของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ
กฎหมายเป็นตัวกําหนดความสําคัญของตัวบุคคล
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่กําหนดขึ้นจากคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
เป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศนั้น ๆ
เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ คือ ต้องมีการกําหนดความผิด
ลําดับศักดิ์ของกฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
เป็นฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ
พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เป็นบทบัญญัติ
พระราชกําหนด
คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคําแนะนําของคณะรัฐมนตรีหรือเป็น
กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พระราชกฤษฎีกา
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ
กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายลสยลักษณ์อักษร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้น
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอข้อมูลที่ทําในกระดาษเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทําขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที(IT Law) เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสําคัญอื่น ๆ
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจํานวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกําหนดกลไกสําคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
จุดประสงค์
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
นิยามที่สำคัญ
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
นิยามศัพท์
"ธุรกรรม"หมายความว่า การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์การดําเนินงานของรัฐตามที่กําหนดในหมวด 4 เรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
"อิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
"ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทําขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแค่บางส่วน
คุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณธรรม (Virtue) หมายถึง คุณงามความดี สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงามมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ จริยธรรมมีบทบาทในการช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่ถูกต้องไม่สมควร
ข้อแตกต่างของกฎหมายและจริยธรรม
กฎหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ ที่ระบุไว้
จริยธรรม สิ่งที่ควรประพฤติควรทำผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ต้องรับโทษทางกฎหมายบ้านเมืองลงโทษทางสังคม
ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเป็นส่วนตัว 2) ความถูกต้องแม่นยํา
3) ความเป็นเจ้าของ และ 4) ความเข้าถึงได้โดยมีรายละเอียด