Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nutrition in Older Adults, นางสาวสุพิชฌาย์ ประทายนอก กลุ่มB รหัส6511175 …
Nutrition in Older Adults
ความสำคัญของโภชนาการให้ผู้สูงอายุ
:<3:
ความท้าทายในการดูแลผู้สูงอายุ
ภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุมีความซับซ้อนมากกว่าผู้ใหญ่วัยอื่น เนื่องจากการอักเสบที่สัมพันธ์กับอายุ การเสื่อมของอวัยวะ/ระบบต่างๆ ภาวะกล้ามเนื้อลีบ และภาวะเปราะบาง
การคัดกรองภาวะโภชนาการ
เป็นกระบวนการที่ระบุถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และความจำเป็นในการประเมินเพิ่มเติม
การประเมินภาวะโภชนาการ
คือ การประเมินอย่างครอบคลุมของผู้ป่วย/ผู้มารับบริการ เพื่อนวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการและระบุปัญหาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแทรกแซงที่อาจเกิดขึ้น
ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ภาวะทุพโภชนาการสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น
ความต้องการทางโภชนาการของผู้สูงอายุ
:star:
ปัญหาด้านสุขภาพ
ความต้องการทางโภชนาการของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ปัญหาสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง และการทำงานและการทำงานของระบบอวัยวะที่เสื่อมลง
ระดับกิจกรรม
ระดับการออกกำลังกาย พลังงานที่ใช้ และความต้องการแคลอรี่
ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร
การเตรียมอาหาร การบริโภค และการย่อยอาหาร
ความชอบส่วนตัว
ของผู้สูงอายุเกี่ยวกับอาหาร
การรับประทานอาหารเพื่อนสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
:red_flag:
ความสำคัญของการรับประทานอาหารที่ดี
เมื่อมีอายุมากขึ้น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ความต้องการพลังงาน (แคลอรี่)
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายทำให้ความต้องการพลังงานลดลง ดังนั้นควรลดขนาดมื้ออาหารหากมีกิจกรรมทางกายภาพน้อย และลดการทานของว่างที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้กหรือขนมปัง
การควบคุมปริมาณอาหาร
ควรลดขนาดมื้ออาหารและหลีกเลี่ยงการทานของหวานเกินจำเป็น
การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีสำหรับผู้สูงอายุ
:fire:
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
แนะนำในรับประทานผักและผลไม้ให้มาก ลดการบริโภคไขมัน น้ำตาล และเกลือ รวมถึงการออกกำลังกาย
การคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
คำนวณจากน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงที่เป็นเมตรยกกำลังสอง
WHO CLASSIFICATION OF WEIGHT STATUS
Underweight (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) <18.5 kg/m2
Normal range (น้ำหนักปกติ) 18.5-24.9 kg/m2
Overweight (น้ำหนักเกิน) 25.0-29.9 kg/m2
Obese (โรคอ้วน) ≥30 kg/m2
Obese class l (โรคอ้วนระดับ1) 30.0-34.9 kg/m2
Obese class ll (โรคอ้วนระดับ2) 35.0-39.9 kg/m2
Obese class lll (โรคอ้วนระดับ3) ≥40 kg/m2
Asian Criteria
Underweight (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ต่ำกว่า 18.5 kg/m2
Normal weight (น้ำหนักปกติ) 18.5-22.9 kg/m2
Overweight (น้ำหนักเกิน) 23.0-24.9 kg/m2
Obesity class l (โรคอ้วนระดับ1) 25.0-29.9 kg/m2
Obesity class ll (โรคอ้วนระดับ2) มากกว่า 30 kg/m2
การประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
:pencil2:
วิธีการประเมินแบบครอบคลุม
การประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุควรครอบคลุมถึงประวัติสุขภาพ การวินิจฉัยทางคลินิก การตรวจร่างกาย ข้อมูลปฏิบัติการ ข้อมูลด้านโภชนาการ และการประเมินสถานการทำงาน
เครื่องมือในการคัดกรอง
มีเครื่องมือในการประเมินที่ใช้กับผู้สูงอายุ เช่น Mini Nutrition Assessments (MNA), Nutrition Alert Form A simplified nutrition screening from for Nurse และ Nutrition Risk Screening 2002 (NRS-2002)
การแทรกแซงด้านโภชนาการ
:explode:
การปรับปรุงสถานะโภชนาการ
เป้าหมายหลักคือการรักษาหรือปรับปรุงสถานะโภชนาการ ซึ่งช่วยเติมเต็มพลังงานและโปรตีนที่จำเป็นต่อการตอบสนองต่อความเครียดจากภาวะเมตาบอลิซึม
การปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อ
การรักษาหรือปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อและการฟื้นฟู
การเพิ่มคุณภาพชีวิต
การปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเจ็บป่วย
การลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เช่น การลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการดูแลระยะยาว
ความท้าทายในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
:checkered_flag:
การรับประทานอาหารคนเดียว
การจัดกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เช่น การจัดอาหารร่วมกับเพื่อน หรือไปทานที่ศูนย์อาวุโส
ปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
หากมีปัญหาในการเคี้ยว ให้พบแพทย์หรือทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
การสูญเสียรสชาติหรือกลิ่น
ลองเพิ่มสีสันและเนื้อสัมผัสของอาหารเพื่อทำให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
เบื่ออาหาร
ควรเพิ่มของว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการการตลอดทั้งวัน เพื่อเพิ่มสารอาหารและพลังงาน
เคล็ดลับเพิ่มเติมในการรับประทานอาหาร
:!:
ปรับลักษณะอาหาร
สับละเอียด ต้มเปื่อย หรือปรุงให้มีลักษณะค่อนข้างเหลวเพื่อให้เคี้ยวง่าย
ปรุงรสตามชอบ
ปรับรสชาติให้เข้ากับความชอบ เช่น หวานขึ้นเล็กน้อย หรือจืดลง แต่ไม่ควรเค็มมาก
ปรับปริมาณและมื้ออาหาร
ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อ แต่เพิ่มจำนวนมื้อ เช่น จาก 3 มื้อเป็น 5 มื้อ
เพิ่มสีสันและเสิร์ฟร้อนๆ
แต่งสีสันของอาหาร และเสิร์ฟขณะที่ร้อนใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นน้ำย่อย
ทานมื้อหนักช่วงกลางวัน
ให้มื้อหนักเป็นมื้อกลางวันหรือบ่ายเพื่อช่วยให้หลับสบาย
เลี่ยงเครื่องดื่มกระตุ้น
เลี่ยงน้ำชาและกาแฟ เพราะจะรบกวนการนอนตอนกลางคืน
เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานน้อย
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลดพลังงานลง 5% ทุก 10 ปี เมื่ออายุ 60-69 ปีลด 10% และอายุ 70 ปีขึ้นไปลด 20%
รับปรทานโปรตีนที่ย่อยง่าย
ผู้สูงอายุควรทานย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ นม และถั่ว เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฟันและการย่อยอาหารที่ลดลง
ลดการบริโภคไขมัน
ควรได้รับไขมันไม่เกิน 25-30% ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน โดยน้ำมันพืชควรอยู่ที่ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อวัน เน้นไขมันดีจากน้ำมันปลาแลน้ำมันพืช หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
ได้รับคาร์โบไฮเดรต 55% ของพลังงานที่บริโภคต่อวัน
โดยทานข้าว แป้ง เผือก มัน เพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุเพิ่มเติม
การควบคุมอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเฉพาะ
:warning:
โรคเบาหวาน
ควบคุมชนิดและปริมาณคาร์โบไฮเดรต
ทานข้าวหรือแป้งได้ 2-3 ส่วนต่อมื้อ หากทานก๋วยเตี๋ยวหรือขนมปังต้องลดข้าวลง
ลดอาหารที่มีน้ำตาลทุกชนิด
สามารถทานผลไม้รสไม่หวานได้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้ง และหลีกเลี่ยงผลไม้รสจัด เช่น ทุเรียน องุ่น
ลดเนื้อสัตว์ติดมัน
เน้นทานปลานึ่งหรือต้ม และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
ลดอาหารที่มีไขมัน
เช่น กะทิ อาหารทอด หรือเนย
เพิ่มผักให้มากขึ้น
ทานผักวันละ 6 ทัพพี ควรเลี่ยงผักดิบเพราะย่อยยาก
โรคความดันโลหิตสูง
ลดอาหารรสเค็ม
หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองและลดการใช้เครื่องปรุง เช่น น้ำปลา เกลือ ผงชูรส
หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและเนื้อสัตว์แปรรูป
เช่น ไส้กรอก แฮม อาหารกระป๋อง
ลดอาหารที่มีไขมันสูง
เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด กะทิ
งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะกับสภาพร่างกาย
ระงับความเครียด
ทำกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลินเพื่อลดความกังวล
มีภาวะไขมันในเลือดสูง
ควบคุมอาหารคอเลสเตอรอลสูง
เช่น เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด ควรทานน้อยลงเหลือสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และเลือกทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา อกไก่ ไข่ 2-3 ฟองต่อสัปดาห์
ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมปกติ
ทานอาหารมีกากใยสูง
เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีกากใย ข้าวซ้อมมือ เพื่อลดคอเลสเตอรอล
เลือกใช้น้ำมันพืช
แทนน้ำมันจากไขมันสัตว์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เช่น วิ่งเหยาะ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
โรคเก๊าท์
ทานอาหารควบคุมน้ำหนัก
เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควบคุมสารพิวรีน
หลีกเลี่ยงอาหารเช่น เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง และอาหารที่มีไขมันสูง
ดื่มน้ำมากๆ
เพื่อช่วยขับกรดยูริก
งดการดื่มแอลกอฮอล์
ผ่อนคลายจิตใจ
รักษาอารมณ์ให้ร่าเริงและไม่เครียด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตามความเหมาะสมของร่างกาย
นางสาวสุพิชฌาย์ ประทายนอก กลุ่มB รหัส6511175 :<3: