Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล - Coggle Diagram
บทที่ 8
กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่วางระเบียบเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีสภาพบังคับให้บุคคล
กระทําหรือไม่ให้กระทํา เพื่อกําหนดความประพฤติของบุคคลในรัฐ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและถูกลงโทษ
ความสําคัญของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ
กฎหมายเป็นตัวกําหนดความสําคัญของตัวบุคคล
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่กําหนดขึ้นจากคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
เป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศนั้น ๆ
เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ คือ ต้องมีการกําหนดความผิด
ลําดับศักดิ์ของกฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
เป็นฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ
พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เป็นบทบัญญัติ
ประมวลกฎหมายเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ
พระราชกําหนด
คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์
พระราชกฤษฎีกา
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ
กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายลสยลักษณ์อักษร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้น
ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่งของกระทรวง
เป็นกฎหมายที่อาศัยอํานาจตามกฎหมายต่าง ๆ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law)Law) หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที (IT
Law) เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
และเห็นชอบให้คณะกรรมการ
เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ(National Information Technology Committee)
พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการ
พัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
รวมทั้งส่งผลต่อฐานความรู้และขีดความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจต่างมีความต้องการนําระบบเทคโนโลยีด้าน
ดิจิทัลดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ
ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบาง
ประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ซึ่งมีรูปแบบการกระทําความผิดที่ซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การทําธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการทําธุรกรรมซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัตินี้กําหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36) มี
อํานาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา
คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับทุกองค์กร การเชื่อมโยง
สารสนเทศผ่านทางคอมพิวเตอร์ ทําให้สิ่งที่มีค่ามากที่สุดของระบบ
บทกําหนดโทษ
ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาหรือฝ่าฝืนคําสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการหรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (National
Information Infrastructure Law)
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
กฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
บทสรุป
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่
สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆจากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่
โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลใน
การเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน