Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวดแผนไทยเพื่อการบำบัด, นางสาวกัญญาณัฐ กุญแจทอง เลขที่ 004 ชั้นปีที่ 4…
นวดแผนไทยเพื่อการบำบัด
บทที่ 1 ความรู้เบื้อต้นด้านการนวดไทย
ประวัติความเป็นมาของการนวดไทย
ใช้วิธีการ สัมผัส ลูบไล้ คลึง กด บีบ ขยี้
สมัยกรุงศรีอยุธยา
รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เกิดการระบาดของ โรคไข้ทรพิษ มีคนตายมากมาย พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยงานที่มีฐานะเป็นหน่วยงานการสาธารณสุขออกเป็น 7 กรม
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏหลักฐาน ในจดหมายเหตุของราชฑูต ลาลูแบร์
สมัยรัตนโกสินทร์
รัชกาลท่ี 1 ทรงได้ปฏิสังขรณ์ วัดโพธาราม (วัดโพธ์ิ) พระอารามหลวง ได้โปรดให้รวบรวมตํารายาและฤาษีดัดตน เป็นครั้งแรกไว้ตามศาลาราย และมีอักษรจารึกติดรูปฤาษีบอกวิธีการดัดและแก้โรคของแต่ละท่า
รัชกาลท่ี 2 โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายช่ือว่า “กฏหมายพนักงานโอสถถวาย”
รัชกาลท่ี 3 โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาไว้ โดยการนําไปจารึกไว้ในแผ่นหินอ่อนติดไว้ตามผนังและเสาอาคารของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กระทรวงสาธารณสุขจึงเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย” กำหนดวันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ”
รัชกาลท่ี 4 การแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาหมดบัดเลย์ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสูติกรรม
รัชกาลท่ี 5 ชําระคัมภีร์แพทย์ทั้งหมดให้ถูกต้อง รวมทั้งคัมภีร์แผน นวดและฤาษีดัดตนปรากฏหลักฐานในหอพระสมุดวชิรญาณ เป็น “ตําราแผนนวดฉบับหลวงพระราชทาน” ปี พ.ศ.2449 กรมหมื่าภูบดีราชหฤทัย กรมหมื่นอักษรสาสน์โสภณและหลวงสารประเสริฐได้ ชําระตําราการนวดไทยและเขียนตําราฉบับนี้ว่า “ตําราแผนนวดฉบับหลวง” และจัดตั้ง ศิริราชพยาบาล เป็นโรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยจัดการเรียนการสอนและการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ตะวันตกร่วมกัน
รัชกาลท่ี 6 ทรงให้ยกเลิกการสอนวิชาการแพทย์แผนไทย
รัชกาลท่ี 7 ทรงให้ตรากฎหมายเสนาบดีเพื่อแบ่งการ ประกอบโรคศิลปะออกเป็น “แผนปัจจุบัน”และ“แผนโบราณ” ก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มีการสอนและบริการนวดในสมาคมเป็นคร้ังแรก
รัชกาลท่ี 8 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479
รัชกาลที่ 9 จัดทําหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นในนาม “โรงเรียนแพทย์
”ได้เปิดสอนเป็นแห่งแรกที่วัดพระเชตุพนฯ โดยแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร คือ
องค์ความรู้และทฤษฎีการนวดไทยแบบราชสํานัก
การนวดไทยแบบราชสํานัก
หมายถึง การใช้นิ้วและมือกดนวดบริเวณร่างกายมนุษย์ตามศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทยที่เคยปฏิบัติกันมาในราชสำนัก
คุณลักษณะ
มีมารยาทที่สุภาพ
2.มีหลักการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค
3.มีความรู้ที่จะทำให้การนวดมีผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน
4.ผู้นวดใช้เฉพาะมือและนิ้วมือเท้านั้น
การนวดไทย
หมายถึง การตรวจประเมิน การวินิจฉัย การบําบัด การป้องกันโรค การส่งเสริม สุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การประคบ การอบ หรือวิธี อื่นตามศิลปะการนวดไทย หรือการใช้ยาตามกฎหมายว่าด้วยการใช้ยาทั้งนี้ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
คุณสมบัติของหมอหัตถเวชกรรมไทย
ศิลธรรมจรรยาบรรณ
ต้ังสัจจะ
ศีลจรรยาบรรณท่ีต้องยึดถือปฏิบัติ คือ
ไม่ดื่มสุราหรือสิ่งมึนเมาก่อนหรือหลังปฏิบัติงาน
ไม่เจ้าชู้โดยใช้วิชาเป็นสื่อ
ไม่หลอกลวงผู้ป่วยเพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ
2.ตั้งนิ้ว
3.ตั้งสมาธิ
4.ตั้งตา
5.ตั้งใจ
การฝึกกำลังนิ้วและการแต่งรสมือ
การนวดไทยแบบราชสํานัก ผู้นวดบําบัดจะใช้เฉพาะนิ้วมือและมือเท่านั้น จะไม่ใช้อวัยวะอื่น การกด นวดเพ่ือลงน้ําหนักไปที่จุดหรือแนวเส้นของผู้รับการบําบัด ผู้นวดบําบัดจําต้องสามารถบังคับทิศทางของแรงได้ บางโรค เส้นและจุดท่ีจะต้องกดนวดมีความแข็ง
การยกกระดาน
การยกกระดานเพื่อฝึกกําลังนิ้วมือเป็นวิชาท่ีอาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ผู้ถ่ายทอดวิชานวดไทย แบบราชสํานักให้แก่โรงเรียนอายุรเวทธํารงค์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ได้สอนให้ผู้เรียนฝึกยกกระดานก่อนจะ เรียนการนวดไทบแบบราชสํานักในทุกคาบ
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทําหัตถบําบัด
ข้อห้าม
มีไข้38.5องศาเซลเซียส
ไข้พิษ ไข้กาฬ เช่น อีสุกอีใส งูสวัด
โรคผิวหนังที่มีการติดต่อ
โรคติดต่อเช่นวัณโรค
ไส้ติ่งอักเสบ
กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่ติด
สภาวะที่ผิดปกติของเลือด เช่น เลือดไม่แข็งตัว
สภาวะที่มีอาการอักเสบท้ังระบบของร่างกาย
ข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์
ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
สภาวะขณะความดันโลหิตสูงเกิน140/90มิลลิเมตรปรอท
สภาวะข้อต่อหลวม
บทที่ 2หลักการตรวจ การวินิจฉัยและการรักษาทางหัตถเวชกรรม
การซักประวัติ
เพื่อให้ได้การวินิจฉัยเบื้องต้นหรือการวินิจฉัยแยกโรค
ข้อมูลพื้นฐาน : ชื่อ, อายุ, วันเดือนปีเกิด, เพศ, อาชีพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว
อาการท่ีสําคัญ : อาการสําคัญเป็นข้อมูลสําคัญอันแรกที่จะชักนํา ให้เข้าหาสาเหตุของโรค
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : เป็นมานานเท่าไหร่,เป็นที่ไหน,ลักษณะเป็นอย่างไร,ทำอะไรแล้วดีขึ้น,ทำอะไรแล้วทุเลาลง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : บางคร้ังประวัติอดีตมีความสัมพันธ์เก่ียวเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่น ประวัติการได้ รับภยันตรายมาก่อน, ประวัติการผ่าตัด
ประวัติส่วนตัว : เกี่ยวกับกิจวัตประจําวันเมื่อมีอาการสามารถใช้ชีวิตประจําได้ปกติหรือไม่ ได้แก่ พักผ่อนนอนหลับ วันละกี่ชั่วโมง, ทานอาหารกี่มื้อ, ปัสสาวะวันละก่ีครั้งลักษณะเป็นอย่างไร, อุจจาระวันละกี่ครั้งลักษณะเป็น อย่างไร,ทํางานวันละก่ีช่ัวโมง,
ประวัติครอบครัว, ประวัติทางสังคม : อาชีพการงาน, ฐานะของผู้ป่วย บางครั้งเป็นข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในแง่ของการรักษา เช่น อาชีพนัก ดนตรี ย่อมต้องการหน้าท่ีของน้ิวมือเป็นสําคัญ, อาชีพกรรมกรย่อมต้องการการกลับเข้าทางานให้เร็วที่สุด เพื่อ ผลของรายได้ต่อวันท่ีได้รับ สําหรับประวัติครอบครัว ในบางโรคอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันได
หลักการตรวจและการวินิจฉัย
ดู
ท่าทาง (Posture) สังเกตว่าส่วนของร่างกายด้านซ้ายและขวาสมมาตรกันหรือไม
ท่าทาง (posture) และการเดิน (gait) ถ้าผู้ป่วยเดิน ควรตรวจการดูในท่ายืนและท่าน่ัง ท้ังทางด้าน หน้าและด้านหลัง ลักษณะการทรงตัวได้ปกติหรือไม่
แนวกระดูก (alignment) และการผิดรูป (deformity) ดูว่าผู้ป่วยมี lordotic curve ท่ี ปกติ หรือไม
ผิวหนัง สังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง รอยพับ รอยแผลผ่าตัด แผลเป็น การอักเสบ
คลำ
คลํากระดูกสันหลังหาจุดกดเจ็บต้ังแต่ C2 ถึง C7
ขยับ
การตรวจ flexion ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ flexion
การตรวจ extention ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ extention
การตรวจ right lateral bending ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ right lateral bending
การตรวจ left lateral bending ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ left lateral bending
การตรวจ right rotation ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ right rotation
การตรวจ left rotation ของ cervical spine และ ลักษณะปกติของการ left rotation
วัด
Schober ’s test
chest expansion test ทําโดยวัดเส้นรอบวงของทรวงอกที่ระดับ ช่องกระดูกซี่โครงที่ 4
การตรวจพิเศษ
ตรวจคอ
Axial compression test
Distraction test
Spurling's test
Shoulder abduction test
Shoulder depression test
Adson’s deep breathing test
การตรวจร่างกายทางระบบประสาท
ตรวจหลังสําหรับ Lumbar Spine
straight leg raising test
Lasegue’s test
bowstring test
sitting root test
femoral stretch test
Patrick's test หรือ FABER test หรือ sign of 4
บทที่ 3 การนวดไทยพื้นฐาน
หลักการนวดบำบัดที่พบบ่อย
อาการที่ควรหรือไม่ควรนวด
อาการปวดศีรษะ
อาการที่สามารถนวดได้
ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache)
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวดศีรษะร่วมกับมีอาการต่อไปนี้ ปวดศีรษะรุนแรง เห็นภาพซ้อน ตามัวลงเรื่อยๆ รูม่านตา 2 ข้างโตไม่เท่ากัน เดินเซ แขนขาอ่อนแรง อาเจียนพุ้ง มีประวัติเป็นโรค ความดันโลหิตสูง
ปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ มีอาการกดเจ็บตรงหัวคิ้ว และโหนกแก้ม
ปวดศีรษะตรงท้ายทอยและปวดเสียวร้าวมาที่แขน เพราะรากประสาท คอถูกกดทับ
อาการปวดคอ
อาการท่ีสามารถนวดได้
ปวดคอจากความเครียด
ปวดคอจากการทํางานในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้มหรือเงยคอเป็นเวลานาน ๆ
ปวดคอจากการนอนหมอนสูงเกินไป
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวดคอ และปวดเสียวร้าวมาที่ไหล่และแขน เพราะรากประสาทคอถูกกดทับ
ปวดคอ และแขนขาไม่มีแรง ชา (เป็นอัมพาต) เพราะไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
อาการปวดไหล่
อาการที่สามารถนวดได้
ปวดไหล่จากการหิ้วของหนัก แบกของหนัก
ปวดไหล่จากการใช้แขนทํางานเป็เวลานาน ๆ
ปวดไหล่จากการทํางานในท่าท่ีไม่เหมาะสม เช่น เอื้อมมือหยิบของบนท่ีสูงๆ หรือ ทาสีเพดานบ้าน
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวดข้อไหล่ บวม แดง และร้อน
ข้อไหล่ผิดรูป หรือเคลื่อนไหวไม่ได้หลังได้รับบาดเจ็บ เพราะมีกระดูกหัก ข้อไหล่ เคลื่อน หรือหลุด
ปวดร้าวเสียวชามาที่ไหล่ลงไปตามแขน เพราะรากประสาทคอถูกกดทับ
อาการปวดแขน
อาการที่สามารถนวดได้
ปวดแขนจากการใช้แขนทํางานเป็นเวลานาน ๆ
ปวดแขนจากการยกของหนัก
ปวดแขนจากการทํางานในท่าที่ไม่เหมาะสม
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวด บวม แดง ร้อน ตามข้อของแขน
กระดูกแขนผิดรูป ปวดมากจนเครื่องไหวข้อลําบากหลังได้รับบาดเจ็บ เพราะมี กระดูกหัก
ปวดร้าวเสียวชามาที่ไหล่ลงไปตามแขน เพราะรากประสาทคอถูกกดทับ
ปวดชาตามมือตอนกลางคืน หรือเวลางอข้อมือเร็วๆ เพราะเป็นโรคพังผืดรัดเส้นประสาทมือ
อาการปวดหลัง
อาการที่สามารถนวดได้
ปวดหลังจากการยืน นั่งนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งพับเพียบนาน ๆ นั่งตัว งอยืนนาน ๆ นอนที่นอนนุ่มเกินไป หรือแข็งเกินไป
ปวดหลังจากการทํางานในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้มตัวลงยกของจากพื้นโดยไม่งอ เข่าหรือเอื้อมมือยกของจากท่ีสูง
ปวดหลังจากการทํางานในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น ก้มดํานาเป็น เวลานาน ๆ
ปวดหลังจากการยกของหนักเกินไป
ปวดหลังจากความอ้วน มีน้ําหนักตัวมากเกินไป
ปวดหลังจากความเครียด
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวดหลัง และมีอาการปวดร้าวเสียวตามตะโพก ด้านหลังของขา และ หน้าแข้ง เพราะรากประสาทเอวถูกกดทับ
ปวดหลัง และมีอาการแขนขาชา ชามาก ขยับไม่ได้ทั้ง 2 ข้าง เพราะ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
ปวดหลังและมีไข้หนาวส่ัน ปัสสาวะขุ่น เคาะหลังเจ็บ เพราะเป็น โรคติดเชื้อท่ีไต
อาการปวดเข่า
อาการท่ีสามารถนวดได้
ปวดเข่าจากการนั่ง หรือยืนในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งยองนานๆ ยืนดํานานานๆ
ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อมตามวัย หรือน้ําหนักตัวมากเกินไป
อาการที่ไม่ควรนวด
ข้อเข่าปวด บวม แดง ร้อน
ข้อเข่าผิดรูป หรือเคลื่อนไหวไม่ได้หลังได้รับบาดเจ็บ เพราะอาจมีกระดูกหัก หรือข้อเข่าเคลื่อน
ปวดร้าวเสียวชามาจากสะโพกลงมาที่ข้อเข่า เพราะรากประสาทเอว ถูกกดทับ
เดินแล้วข้อเข่าสะดุด ติดในท่างอเข่า เพราะหมอนรองกระดูกข้อเข่า ฉีกขาด
อาการปวดขา
อาการท่ีสามารถนวดได้
ปวดเข่าจากการนั่ง หรือยืนในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งยองนานๆ ยืนดํานานานๆ
ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อมตามวัย หรือน้ําหนักตัวมากเกินไป
อาการที่ไม่ควรนวด
ปวดขาร่วมกับปวดบวม แดง ร้อน ตามข้อเข่า ข้อเท้า หรือข้อสะโพก
กระดูกขาผิดรูป หรือเคลื่อนไหวไม่ได้หลังได้รับบาดเจ็บ เพราะอาจมีกระดูกหัก
ปวดร้าวเสียวชามาจากสะโพกลงมาทางด้านหลังของขา เพราะรากประสาทเอว ถูกกดทับ
การนวดไทยแบบราชสำนัก
หมายถึง การใช้นิ้วมือปละมือกดนวดที่บริเวณร่างกายมนุษย์ ตามศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทยที่เคย ปฏิบัติกันมาในราชสำนักเเพื่อำบัดรักษาป้องกันกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย
การนวดพื้นฐาน
หมายถึง การนวดตามแนวเส้นและตำแหน่งต่างๆของร่างกายเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อระบบไหลเวียนเลือด เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะนวดกดจุดสัญญาณ
การนวดจุดสัญญาณ
หมายถึง การนวดที่จุดสัญญาณ เพื่อกระตุ้นระบบประสาท ให้จ่าย/บังคับเลือดและความร้อนไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกาย
ขนาดแรงที่ใช้
ขนาดเบา
เท่ากับ 50 ปอนด์ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกิดการรับรู้ปรับตัว ผ่อนคลาย
ขนาดกลาง
เท่ากับ 70 ปอนด์ กระตุ้นกล้ามเนื้อ เกิดความ ผ่อนคลายมากขึ้นกระตุ้นระบบประสาท เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นและเกิดประสิทธิผลในการนวด
ขนาดหนัก
เท่ากับ 90 ปอนด์ ช่วยบังคับให้เลือดและลมไหลไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการ
ขา
การนวดพื้นฐานขาเปิดประตูลม
ข้อควรระวัง
หากผู้บำบัดวางตำแหน่งมือ ทำมุมมากกว่า 45 องศา หรือกดเหนือจุดเปิดประตูลมของขา อาจทำให้ผู้รับการบำบัดเกิดอาการขัดยอกที่บริเวณต้นขาด้านหน้า ในขณะเดินได้
ประโยชน์
เพิ่มประสิทธิภาพของการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อของขา
ช่วยลดการตึงตัว
เตรียมความพร้อมก่อนการลงกดจุดสัญญาณ เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับ หลัง สะโพก ขา เข่า และท้อง
การนวดพื้นฐานขาด้านนอก
ข้อควรระวัง
ผู้นวดบำบัดจะต้องไม่กดนวดในจุดที่ 2 เพราะอาจทำให้กระดูกข้อต่อสะโพกหลวมมาหขึ้นและอาจเคลื่อนหลุดได้
การนวดพื้นฐานขาด้านใน
ข้อควรระวัง
ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการนวดข้อพับเข่า
แขน
การนวดแขนด้านใน
ข้อควรระวัง
การกดแนวแขนท่อนล่าง ต้องไม่กดทิศทางของแรงไปทางต้นแขน อาจทำให้ผู้รับบริการเป็นลมได้
ไม่ควรนวดบนหรือล้ำเส้นสร้อยข้อมือ เพราะจะทำให้นิ้วมือชา
การนวดแขนด้านนอก
ข้อควรระวัง
ไม่ควรนวดตำแหน่งแนวเส้นแขนท่อนบนอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับเส้นประสาทของแขน อาจมีอาการข้อมือและนิ้วมื้ออ่อนแรงและข้อมือตกได้
ประโยชน์
ช่วยลดความตึงตัว
เพิ่มประสิทธิภาพการยืดหยุ่นของกล้ามนื้อเส้นเอ็น และข้อต่อของแขน
เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการนวดจุดสัญญาณเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับแขน ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือ
บ่า
ข้อควรระวัง
ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากนิ้วมือล้ำแนวเส้นไปด้านหน้ามากเกอนไป อาจทำให้ผู้ได้รับการบำบัดเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หูอื้อ
ประโยชน์
เพิ่มประสิทธิภาพการยืดหยุ่นของกล้ามนื้อเส้นเอ็น ของบ่า ไหล่ คอ และสะบัก
ช่วยลดความตึงตัว
เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการนวดจุดสัญญาณเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับบ่า คอ และศีรษะ
โรคทางหัตถเวชกรรมไทย
โรคลมปลายปัตคาด
เป็นโรคลมชนิดหน่ึงเกิดจากการแข็งตัวของเลือด สามารถเป็นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น
กล้ามเน้ือ เส้นเอ็น เยื่อหุ้มกระดูก ริมหัวต่อกระดูก ยกเว้นตัวกระดูก
โรคลมจับโปง
เป็นโรคในตระกูลลมชนิดหน่ึงที่เกิดจากอาหาร อากาศ นํ้า และเป็นเฉพาะข้อเข่า กับข้อเท้า
เท่าน้ัน มี 2 ชนิด ได้แก่
ลมจับโปงน้ํา
ลมจับโปงแห้ง
โรคอัมพาต
เป็นโรคที่เกิดจากลมเบื้องสูงกับลมเบื้องตํ่า พัดไม่สมดุล (ลมอโธคมาวาตากับอุทธังคมาวาตา ระคนกัน) หรือมาจากระบบประสาทและสมอง เช่น หลอดเลือดตีบ อุดตัน อุบัติเหตุ สมองถูก กระทบกระเทือน อาการชักจากไข้สูง และความเครียด
บทที่ 4 การบริหารแบบไทย ฤาษีดัดตน
คือ .ฤาษีดัดตนคือวิธีการบริหารร่างกายเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมการอยู่ในอิริยาบทใดอิริยาบทหนึ่งเป็นเวลานานๆ
ประวัติ
รัชกาลที่ 1
การปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม (วัดโพธิ์,วัดโพธาราม)
ทรงมีพระราชดำริให้ผู้รู้รวบรวมตำรายา และป็นปั้นท่าาฤาษีดัดตน (ปั้นด้วยดิน)
รัชกาลที่ 3
กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์เป็นผู้กำกับบช่างหล่อรูปฤาษี ดัดตนท่าต่างๆ รวมทั้งสิ้น 80 ท่า บรรยายสรรพคุณของ การดัดตนในท่าต่างๆไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ จำนวน 35 ท่า ได้ร่วมกันนิพนธ์โคลงดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 80 บท
วาดภาพเหมือนบันทึกไว้ในสมุดไทยเป็นหลักฐานสําคัญอีก ชั้นหนึ่ง และมีโคลงกำกับไว้ ผู้วาดภาพ คือ ขุนรจนา และ ขุนอาลักษณ์ วิสุทธิอักษร เป็นผู้ตรวจทานเขียนโคลงลงใน สมุดไทย
รัชกาลที่ 5
ทหารรักษาวังที่ได้ ขโมยรูปปั้นนฤาษีดัดตนไปถึง 16 ตน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2438 การสูญหายเช่นนี้ทำให้เราไม่ได้เห็นเค้าร่างของรูปปั้นดั้งเดิม และในการปั้นขึ้นใหม่นั้น
การกำหนดลมหายใจ
กุมภัคคา เป็นการฝึกที่กำหนดให้ความรู้สึกกอยู่ที่หัวใจ เป็นการเพิ่มการกลั้นลมหายใจโดยการนับ 1-8 ช่วยทำให้การเต้นของหัวใจดีขึ้น
อุชชาญี เป็นการฝึกที่กำหนดให้ความรู้สึกกอยู่ที่ท้ายทอย โดยการหายใจออกทางปากผ่านไรฟันจนมีเสียง ช่วย ควบคุมภาวะตกใจง่าย และเพิ่มความดัน
กบาลภัติ เป็นการฝึกโดยการกำหนดจิตที่ด้านในจมูก ใน การหายใจออก ให้พ่นออกมาอย่างแรงจะทำให้รูจมูกสะอาด สดชื่น
ภัสตริกะ เป็นการฝึกที่สามารถทำได้โดยกำหนดการหายใจ เข้าออกอย่างแรงและเรว็ 10 ครั้งแล้วอัดลมหายใจเข้า 7-10 วินาที เชื่อว่าเพิ่มเตโชของร่างกาย และบำบัดอาการบวม ของจมูก
สุขปรุวัค เป็นการฝึกที่สามารถทำได้โดยกำหนดการหายใจ ด้วยการปิดจมูกทีละข้างสลับกัน
หลักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
Static stretching
กล้ามเนื้อช้า ๆ จนสุดพิสัยของการ เคลื่อนไหวหรือเมื่อรู้สึกตึง และค้างไว้ในท่านั้นนานประมาณ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 2 – 4 ครั้ง
Dynamic stretching
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้แรงช่วยให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้นในลักษณะโยกหรือขยับไปมา
Proprioceptive neuromuscular facilitation
เป็นการยืดกล้ามเนื้อโดยให้กล้ามเนื้อที่ต้องการจะ ยืดหดตัวและคลายตัวสลับกัน
ท่าฤาษีดัดตน
ท่าที่ 2 ท่าแก้ลมในข้อมือ และแก้ลมในลำลึงค์
ท่าเทพนม
ท่าที่ 1 ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
ท่าเสยผม
ท่าทาแป้ง
ท่าเช็ดปาก
ท่าเช็ดคาง
ท่ากดใต้คาง
ท่าถูหน้าหูและเช็ดหลังหู
ท่าตบท้ายทอย
ท่าที่ 3 ท่าแก้ปวดท้องและข้อเท้า และแก้ลมปวดศีรษะ
ท่าชูหัตถ์วาดหลัง
ท่าที่ 4 ท่าแก้ลมเจ็บศีรษะ ตามัว และแก้เกียจ
ท่าแก้เกียจ
ท่า 5 ท่าแก้แขนขัด และแก้ขัดแขน
ท่าดึงศอกไล้หลัง
ท่าที่ 6 ท่าแก้กล่อน และแก้เข่าขัด
ท่านั่งนวดขา
ท่าที่ 7 แก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ
ท่ายิงธนู
ท่าที่ 8 ท่าแก้ลมในแขน
ท่าอวดแหวนเพชร
ท่าที่ 9 ท่าดำรงกายอายุ
ดำรงกายอายุยืน
ท่าที่ 10 ท่าแก้ไหล่ ขา แลพแก้เข่า ขา
ท่านางแบบ
ท่าที่ 11 ท่าแก้โรคในอก
ท่านอนหงายผายปอด
ท่าที่ 12 ท่าแก้ตะคริวมือ ตะคริวเท้า
ท่าเต้นโขน
ท่าที่ 13 ท่าแก้ตะโพกสลักเพชรแลพแก้ไหล่ ตะโพกขัด
ท่ายืนก้มนวดขา
ท่าที่ 14 ท่าแก้ลมเลือดนัยน์ตามัว และแก้ลมอันรัดทั้งตัว
ท่านอนคว่ำทับหัตถ์
ท่าที่ 15 แก้เมื่อยปลายมือปลายเท้า
องค์แอ่นแหงนพักตร์
บทที่ 5 การประคบ
ประเภทของการประคบ
ประคบเย็น
ลดอาการปวดและห้ามเลือดได้ เป็นวิธีการปฐทพยาบาลเบื้องต้นที่สะดวกและรวดเร็ว
วิธีการประคบ
1.ผระคบบริเวณที่มีการได้รับบาดเจ็บภายใน 24-48 ชั่วโมง
2.ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ไม่ควรวางเกิน ทิ้งระยะประคบ 45-60 นาที
ประโยชน์
1.เส้นเลือดหดตัวเร็ว
2.ลดอาการบวม
3.ลดอาการบาดเจ็บ/การอักเสบ
4.ช่วยลดการนำกระแสประสาทที่รับรู้ความรู้สึก
ข้อควรระวัง
1.ผู้ที่มีความผิดปกติด้านการรับรู้ความรู้สึก/การสื่อสาร
2.บริเวณที่หลอดเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
3.ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาตอสนองกับความเย็น เช่น มีเม็ดเลือดแตก
ประคบร้อน/ประคบสมุนไพร
การใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนึ่งและประคบบริเวณที่ปวด ความร้อนจะตระตุ้นให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ประโยชน์
1.บรรเทาอาการปวด
2.ลดอาการบวม,อักเสบของกล้ามเนื้อ,เอ็น,ข้อต่อ หลัง 24-48 ชั่วโมง
3.ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4.ช่วยให้เนื้อเยื่อผังผืดยืดตัวออก
5.ลดอาการติดขัดของข้อต่อ
6.ลดอาการปวด
7.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังอ่อนๆ
2.ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย เบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ
3.ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล/เกิดการอักเสบ(ปวด บวม แดง ร้อน)
4.หลังประคบสมุนไพรแล้วไม่ควรอาบน้ำทันที
การรักษาลูกประคบ
1.ในการทำแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ 3-5 วัน
2.ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทําให้เก็บได้นานขึ้น (ควรเช็คลูกประคบด้วย
ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้)
3.ถ้าลูกประคบแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว
4.ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว (คุณภาพน้อยลง)จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่
นางสาวกัญญาณัฐ กุญแจทอง เลขที่ 004 ชั้นปีที่ 4 ห้อง B รหัสนักศึกษา 64123301009