Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้ฉี่หนู Leptospirosis - Coggle Diagram
โรคไข้ฉี่หนู Leptospirosis
การป้องกัน
หมั่นตรวจตราแหล่งน้ำและดินทรายที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคแก่ประชาชน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการเดินลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค หรือควรสวมใส่รองเท้าบู๊ตป้องกันทุกครั้งหากมีความจำเป็น
ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
กำจัดหนู หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ
การรักษา
การรักษาจำเพาะ
เชื้อ leptospires เป็นแบคทีเรียที่ไวต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด ได้แก่ penicillin, ampicillin, amoxicillin, doxycycline, tetracycline, erythromycin ยาในกลุ่ม cephalosporin ได้แก่ cefotaxime และ ceftriaxone รวมทั้งยา azithromycin
ยาในกลุ่ม quinolone ได้แก่ ciprofloxacin, moxifloxacin
การรักษาตามอาการ
มีอาการไข้ฉับพลันไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ให้ยาลดไข้ ที่ไม่ใช่ยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (non-steroid anti-inflammatory drug, NSAIDs)
รายที่มีความรุนแรง
รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต และการวัดปริมาณปัสสาวะบ่อยๆ ในระยะแรก
มีภาวะเลือดออกผิดปรกติ
อาการไอเป็นเลือดร่วมด้วยต้องได้รับการรักษาด้วย ใส่เครื่องช่วยหายใจและเตรียมการรักษาภาวะ acute respiratory distress syndrome
สาเหตุ
ทางอ้อม
เชื้อจากฉี่หนูปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเข้าสู่คนทางบาดแผล มือสัมผัสเชื้อที่ปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเอาเชื้อเข้าทางเยื่อบุในปาก ตา จมูก กินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป
ทางตรง
โดยการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด การติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans) เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ได้หลายชนิด โดยมีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด เชื้อสามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือนหลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะจากสัตว์ที่มีเชื้อ โดยที่สัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา
ความหมาย
เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด
การวินิจฉัยโรค
การเพาะเชื้อ (Culture) จากเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะเริ่มมีอาการของโรคหรือในระยะ Leptospiremia
การทดสอบปฏิกิริยาน้ำเหลือง ภายหลังเกิดอาการ 2 สัปดาห์ โดยวิธี Agglutination test จะพบว่าค่า LeptoTiter ที่ได้จะสูงกว่าค่าปกติ 4 เท่า
พยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพการเกิดโรค
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีการแบ่งตัวแล้วไปตามกระแสเลือดอย่างรวดเร็วบริเวณทางเข้าของเชื้อจะไม่แสดงอาการอักเสบให้เห็น หลังจากนั้นประมาณ 1-2สัปดาห์ ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างแอนตี้บอดี้จำเพาะต่อโรคชนิด Ig M ตามด้วย Ig G ต่อ lipo polysaccharide ของเชื้อ
อาการ
ระบบกล้ามเนื้อ
ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
พบระดับเอ็นไซม์ที่บ่งถึงการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น creatine phosphokinase (CPK) สูงผิดปกติได้บ่อยถึงร้อยละ 50 โดยมักขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่สอง หรือในระยะฟื้นตัว
ระบบทางเดินอาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การกดเจ็บที่ท้อง (abdominal tenderness)
ผู้ป่วยมักมีอาการเหลือง ในช่วงวันที่ 4-7 ของการดำเนินโรค
ระบบทางเดินปัสสาวะและไต
การตรวจปัสสาวะและการทำงานของไตมีประโยชน์ ในการแยกโรคเล็ปโตสไปโรสิสเป็นอย่างมาก
ความผิดปรกติที่พบได้บ่อยได้แก่ มีไข่ขาวในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดแดง
ส่วนระดับยูเรียในเลือด (BUN) พบเพิ่มสูงกว่าปกติได้บ่อยในรายที่มีอาการตัวและตาเหลือง
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะไตวายเฉียบพลันพบได้บ่อยสุด
การแท้งในหญิงตั้งครรภ์
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร