Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล นาย จิรวัฒน์ โรหัง - Coggle Diagram
บทที่ 8กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล
นาย จิรวัฒน์ โรหัง
คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศและคอมพิวเตอร์ PAPA
ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility)
ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ
การอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ท าลายข้อมูล
ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ท าให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติ
คุณธรรม (Virtue) หมายถึง คุณงามความดี สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็น
มโนธรรม
จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
2.1 ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.2 ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
2.3 ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
2.4 ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
2.5 ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
บทกำหนดโทษ
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ
ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันซึ่งมีรูปแบบการกระทำ ความผิดที่ซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี
นิยามที่สำคัญ
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ
มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโทษจาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยไม่ชอบโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี โทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
โทษจำคุกไม่เกิน 2ปี โทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท
มาตรา 8 การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี โทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท
มาตรา 9 การ ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา 10 ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
นิยามที่สำคัญ
“ดิจิทัล” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่ง ทั้งปวง เพื่อใช้สร้าง หรือก่อให้เกิดระบบต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์
“ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” หมายความว่าระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีการติดต่อสื่อสาร การผลิต การอุปโภคบริโภค การใช้สอย การจำหน่ายจ่ายแจกการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การคมนาคมขนส่ง การโลจิสติกส์ การศึกษา การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การสาธารณสุข การเงินการลงทุน การภาษีอากร การบริหารจัดการข้อมูล
มาตรา 6
(1) การดำเนินการและการพัฒนาให้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลก่อให้เกิดประโยชน์ ประหยัดทรัพยากรของชาติและเกิดความสะดวกต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
(2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการให้บริการหรือแอพพลิเคชั่นสำหรับประยุกต์ใช้งานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
(4) การส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การทำงานระหว่างระบบสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีความมั่นคงปลอดภัย
(5) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
(6) การส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้เกิดความพร้อมและความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและเอกชน
(7) การพัฒนาคลังข้อมูลและฐานข้อมูลดิจิทัล การบริหารจัดการความรู้ รวมทั้ง
การส่งเสริมเพื่อให้มีระบบที่เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้
จุดประสงค์
เพื่อให้การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law)
หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที (ITLaw)
1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอข้อมูลที่ทำในกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
2) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Electronic Signatures Law)เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(National Information Infrastructure Law)สารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ
4) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Law)เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
เป็นฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ
พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นบทบัญญัติ
ประมวลกฎหมายเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการใช้ อ้างอิงและแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายต้องตราเป็น พ.ร.บ.
พระราชกำหนด
คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็น กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พระราชกฤษฎีกา
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของ คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายลสยลักษณ์อักษร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจ ตาม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน
ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของกระทรวง
เป็นกฎหมายที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายต่าง ๆ กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทางทคนิค และกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้บัญญัติของกฎหมาย
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติเทศบาล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่กำหนดขึ้นจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศนั้น ๆ
เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ คือ ต้องมีการกำหนดความผิด
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมายคือกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยมีสภาพบังคับให้บุคคลกระทำหรือไม่ให้กระทำเพื่อกำหนดความประพฤติของบุคคลในรัฐ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและถูกลงโทษ
ความสำคัญของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ
กฎหมายเป็นตัวกำหนดความสำคัญของตัวบุคคล
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม