Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยคลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาล Birth before Arrival: BBA,…
การช่วยคลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาล
Birth before Arrival: BBA
แนวทางปฏิบัติการช่วยคลอดปกติ
สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดทำคู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล สำหรับผู้ปฏิบัติการทุกระดับนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติตามขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดฯ ซึ่งในคู่มือนี้ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติการช่วยคลอด
ความสำคัญ
การช่วยคลอดฉุกเฉินเป็นแนวทางในการช่วยให้การคลอดซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ป้องกันการบาดเจ็บหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
การวินิจฉัย
ให้ตรวจดูว่ามารดาอยู่ในระยะของการคลอดที่จำเป็นต้องทำการคลอดฉุกเฉินหรือไม่ ได้แก่ มารดามีอาการปวดเบ่ง เริ่มเห็นส่วนนำของทารกที่เป็นศีรษะบริเวณอวัยวะเพศภายนอก
การช่วยคลอด
ข้อบ่งชี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เจ็บครรภ์คลอดเห็นส่วนนำที่เป็นศีรษะเลื่อนต่ำลงจนถึงอวัยวะเพศภายนอก
วิธีปฏิบัติการช่วยคลอดปกติ
ระยะแรกสุดส่วนนำโผล่ (initial presentation) ให้มารดาช่วยเบ่ง พร้อมทั้งใช้มือซ้ายดันส่วนนำให้ติดกับกระดูกเชิงกรานมารดา มือขวาประคองอวัยวะเพศภายนอก ป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บ
ศีรษะโผล่ (emergency of the head) เมื่อศีรษะทารกโผล่จนหมดควรแนะนำ มารดาหยุดเบ่งสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อไม่ ให้คลอดทารกเร็วเกินไป
ดูดสารคัดหลั่งในจมูกและปากออกอาจต้องหมุนศีรษะทารกเล็กน้อย เพื่อจะได้ใช้ลูกสูบยางแดงดูดเสมหะได้ถนัดขึ้นไม่ควรดูด เสมหะในจมูกก่อน เพื่อป้องกันทารกร้องแล้วสำลักสารคัดหลั่ง
ตรวจสายสะดือรอบคอในระยะศีรษะหมุน 90 องศา หากพบว่ามีส่วนของสายสะดือพันคอให้ เกี่ยวออกโดยอ้อมรอบศีรษะทารกจับส่วนของศีรษะกดลงเล็กน้อย เพื่อคลอดไหล่
ขณะหัวไหล่โผล่ดึงทารกลงล่างเล็กน้อยเพื่อให้คลอดไหล่บนได้
จากนั้นค่อยๆดึงขึ้นบนให้หัวไหล่ทั้งสองข้างหลุดออกมา ใช้มือข้างหนึ่งจับศีรษะในขณะที่มืออีกข้างคอยไล่ไปตามส่วนหลังของ ทารกเพื่อตามจับส่วนขา 2 ข้างของทารกที่จะออกมา
เตรียมผูกหรือหนีบสายสะดือ
หนีบและตัดสายสะดือใช้ตัวหนีบหนีบปลายสายสะดือห่างจากตัวทารกมากพอสมควร เผื่อกรณีสายสะดือขาด และหนีบอีกหนึ่งจุดอยู่ห่างจากตัวแรกเล็กน้อย จากนั้นตัดสายสะดือตรงกลางระหว่างตัว หนีบทั้งสอง สิ่งที่ต้องระวังคือจับศีรษะทารกอยู่ต่ำกว่าเท้า
ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์
หากเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.) และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) จะดำเนินการช่วยคลอดโดยปล่อยให้เป็นไปตามการคลอดธรรมชาติ ผูกหรือ clamp สายสะดือแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยไม่ต้องรอให้รกคลอด
ข้อควรระวัง
-ห้ามดึงทารกขณะคลอด เพราะอาจทำให้ทารกบาดเจ็บ หรือทำให้ช่องคลอดของมารดาฉีกขาด
-ควรบันทึกวันเดือนปีและเวลาเกิดของทารก
-ห้ามตัดสายสะดือให้หนีบ หรือผูกไว้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค
การคุ้มหรือจับศีรษะทารกต่ำเล็กน้อย เพื่อให้เสมหะไหลออกมาทางปากและจมูก
สาเหตุ
การคลอดปกติ สาเหตุ อุปสรรคจากการจราจร
[2. Precipitate Labor ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์คลอดน้อยกว่า 4 ชั่วโมง
หลักและวิธีการช่วยคลอดนอกโรงพยาบาล
การขอความช่วยเหลือทีมสูติแพทย์ ระหว่างการเดินทาง (กรณียังไม่คลอด) ระหว่างนั้นเตรียมสถานที่ให้สะอาด
ซักประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติโรคประจำตัว
ตรวจสอบท่าของทารกว่าเป็นท่าซ้ายหรือท่าขวา ส่วนนำของทารก เป็นศีรษะ หรือก้นส่วนนำออกมาตรงที่ perineum แล้วหรือยัง
ตัดฝีเย็บ ความกว้างพิจารณาว่าทารกตัวใหญ่/เล็ก
ช่วยคลอดตามหลักการช่วยคลอด Flex and Safe
ทารกคลอด clear air way
การผูกตัดสายสะดือ ถ้าไม่มีเครื่องมือยังไม่ต้องตัด
นางสาวสุรัตน์สวดี ธงกิ่ง
รหัสนักศึกษา 63170078