Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร, นางสาว กาญจนา จะรุราช 194 นางสาวชาลิสา…
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ปรัชญา
ปรัชญาวิวัฒนาการนิยม (progressivism)
ปรัชญาการศึกษานี้มีรากฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) มีความเชื่อว่าการศึกษาเป็นชีวิตมากกว่าเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หากคุณภาพของกระบวนการดี คุณภาพของ
ผลผลิตก็ดีด้วย การศึกษา
จะต้องมุ่งพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพและสติปัญญา ควบคู่กับความสนใจ และความถนัด
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
แนวคิดของปฏิรูปนิยม คือ การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือช่วยปรับปรุง พัฒนา เปลี่ยนแปลงและปฏิรูปสังคม ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาของสังคม โดย มนุษย์จะต้องเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่ไปกับตนเอง พิจารณาอนาคตให้มากเท่ากับอดีต แนวคิดนี้เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางเหมือนพิพัฒนนิยม คำนึงถึง ความต้องการของแต่ละบุคคล เพื่อจะได้นำกระบวนการ ประชาธิปไตยไปใช้ในโรงเรียนละสังคมให้บังเกิดผล
ปรัชญาสวภาพนิยมหรือภาวะนิยม (Existentialism)
ปรัชญานี้เชื่อว่าเป้าหมายของสังคมต้องมุ่งพัฒนาให้คนมีอิสรภาพและความรับผิดชอบ
มนุษย์เราควรมีสิทธิ์และโอกาสที่จะเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง มากกว่าจะให้ใครมามอบให้ คนแต่ละคนสามารถกำหนดชีวิตของ
ตนเองได้ เพราะมีอิสระในการเลือกทุกสิ่งทุกอย่าง เนื่องด้วยความรู้เริ่มต้น และจิตสำนึกของแต่ละบุคคล เป็นแหล่ง
ความรู้เกี่ยวกับชีวิต การที่จะเข้าใจชีวิตได้ต้องเข้าใจตัวเองก่อน
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้ เน้นความรู้เกี่ยวกับหลักการที่ยั่งยืนของความจริง ความดี และความงามเป็นแกนของการศึกษา มากกว่าจะ เน้นเรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentailism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้ เน้นความรู้เกี่ยวกับหลักการที่ยั่งยืนของความจริง ความดี และความงามเป็นแกนของการศึกษา มากกว่าจะ เน้นเรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง
จิตวิทยา
จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorist )
การศึกษาพฤติกรรมถือว่าเป็นการศึกษาที่มีระบบและมีลักษณะเป็น
วิทยาศาสตร์ กลุ่มพฤติกรรมนิยมมี 2 ทฤษฎหลัก คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning)
กับทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant conditioning)
มีรายละเอียดดังนี้
จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มความรู้ ความคิดนิยม ( Cognitivist )
นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจสนใจปัจจัยภายในตัวบุคคล เรียกว่า โครงสร้างทางปัญญา (cognitive
structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล และสนใจว่ามนุษย์เกิดการรู้ การคิดขึ้นมา
ได้อย่างไร เชื่อว่าการกระทำต่าง ๆ ของบุคคล
เกิดจากตัวบุคคล ไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
ก่อนจะมีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน และสนใจสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว เพื่อจะได้จัดประสบการณ์
ที่มีความหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanist )
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ คำนึงถึงความเป็นคนของคน มองว่ามนุษย์เกิดมา พร้อมกับความดี จะคัดค้านการทดลอง เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ และไม่ยอมรับว่า การเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไข โดย เชื่อว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม และอิสรภาพในการเลือกทำสิ่งต่าง ๆ สามารถนำตนเองและพึ่งตนเองได้
สังคม
ค่านิยมในสังคม
หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆ โดยค่านิยมใด ควรจะได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือดำรงไว้
ธรรมชาติของคนไทยในสังคม
ธรรมชาติของคนในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมนั้นๆ การพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกของคนในสังคม โดยศึกษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ ลักษณะใดควร จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาในอันที่จะสร้างบุคลิกลักษณะ ของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ
ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม
ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการพัฒนาหลักสูตร เนื่องด้วยจุดประสงค์สำคัญของหลักสูตร คือ การทะนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามไว การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงศาสนาและวัฒนธรรม ความรู้และหลักธรรมทางศาสนาต่างๆ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีการทางศาสนาที่ตนเองนับถือ
การเมือง การปกครอง
ระบบการเมือง การปกครอง
การพัฒนาหลักสูตรควรเลือกเนื้อหาสาระ และประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการเมือง การปกครองและการจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการเมือง การปกครองที่ต้องการปลูกฝังและนโยบายของรัฐ เพื่อให้คนในสังคมมาอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบ เรียบร้อยและสันติสุข
นโยบายของรัฐ
การที่ระบบต่างๆจะสามารถเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน จำเป็นจะต้องมีการประสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ รัฐบาลจึงต้องมีการกำหนดนโยบายให้มีความต่อเนื่อง และสอดคล้องกัน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
รากฐานของประชาธิปไตย
หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคน ควรที่จะวางรากฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจอันถูกต้องและมุ่งเน้นพฤติกรรมประชาธิปไตย ดังนั้น การจัดหลักสูตรควรเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ หน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย การเมือง การปกครอง ความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง เพื่อให้ผู้เรียนมี เข้าใจบทบาทของตนในด้านการเมือง การปกครองอย่างแท้จริง
เศรษฐกิจ
1.การเตรียมกำลังคน
การให้การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกำลังคนในด้านต่างๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ และสอดคล้องกับ ความต้องการในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางการศึกษา และเพื่อลดปัญหาการว่างงานอันเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้การเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ อีกทั้ง ต้องเตรียมกำลังคนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถที่ต้องการ
2.การพัฒนาอาชีพ
ประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการ เกษตรและประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ ในชนบท ส่วนอาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการบริการมีอยู่ ในชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีการโยกย้ายถิ่นที่ อยู่เข้ามาทำงานอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาอื่นตาม มา เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เกิดชุมชนแออัด ปัญหาครอบครัว ปัญหาเด็กเร่ร่อน เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนา หลักสูตรควรเน้นการส่งเสริมอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
3.การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาจากเกษตรกรรมไปสู่
ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตร
ควรศึกษาข้อมูลแนวโน้มและทิศทางการขยายตัวทาง อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมประเภทใดที่จะได้รับการพัฒนา เพื่อให้สามารถพัฒนาเยาวชนให้พร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม และสามารถผลิตบัณฑิตที่เข้าสู่ ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
4.การใช้ทรัพยากร
เศรษฐกิจเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนอง ความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญเรื่องของทรัพยากร โดยหลักสูตร เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของทรัพยากร โดยจัดทำเนื้อหาวิชา กิจกรรมและประสบการณ์ใน หลักสูตรที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจครบวงจร
5.การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคล
ในระบบเศรษฐกิจของคนไทย
คุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทยขัดแย้งกับ ความเป็นจริง เช่น คนไทยมีรายได้ต่ำ แต่
ต้องการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจในระบบเปิด ทำให้ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สิ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจในระบบเปิด ทำให้สิ้นค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเข้ามา เกิดภาวะเพิ่มรายจ่ายและเกิดวัฒนธรรมการนิยมวัตถุ ที่ราคาสูง สิ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะของคนไทยในระบบเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไขและพัฒนา ดังนั้น การพัฒนา หลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย จะต้องบรรจุเนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่มี
การปลูกฝังจิตสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน
วิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยี
1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก โดยเรียกรวมๆ ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาสมผสานประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
การนำความรู้ทางฟิสิกส์มาผลิตเครื่องจักรกล
2.การนำความรู้ทางเคมีมาผลิตยา
การนำความรู้ทางชีววิทยามาใช้ในการผลิตอาหาร
ธรรมชาติผู้เรียน
ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละช่วง
1. การเจริญเติบโต( growth )
มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
สุชา จันเอม (2541 : หน้า 34 ) หมายถึง การเพิ่มขนาดของส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ขนาด รูปร่าง สัดส่วน กระดูก กล้ามเนื้อและอื่นๆ
2. วุฒิภาวะ ( maturity )
มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
กันยา สุวรรณแสง (2536, หน้า 4) กล่าวว่า วุฒิภาวะ หมายถึง ภาวะที่บุคคลเจริญเติบโตโดยส่วนรวม เจริญเติบโตเต็มที่ทั้งทางกายภาพและจิตภาพ ทำให้บุคคลสามารถที่จะแสดงออกได้ตามธรรมชาติตามช่วงอายุที่พึงควรจะแสดงออกได้ตามครรลองของบุคคลที่เป็นไปเฉพาะตน
3. ความพร้อม ( readiness )
มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
โรเบิร์ต (Robert , R Reilly, 1983: 33 ) หมายถึง ผลรวมของพัฒนาการของบุคคล ประสบการณ์แรงจูงใจ ความสามารถ และความสนใจที่เกี่ยวข้องกับงานของการเรียนรู้ ความพร้อมของมนุษย์มี ดังนี้
วุฒิภาวะของเด็ก
ประสบการณ์ของเด็ก
แรงจูงใจและความสนใจ
ความวิตกกังวลใจของเด็ก
วิธีสอนที่มีคุณภาพ
นางสาว กาญจนา จะรุราช 194
นางสาวชาลิสา ภูเงิน 198