Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อิทธิพลของคำยืมภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น, นางสาวณัฐรดี ย่องเซ่ง ม๖/๗…
อิทธิพลของคำยืมภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
คำยืมภาษาต่างประเทศ
คำยืมจากภาษาเขมร
เข้ามาช่วงไหน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๙
เข้ามาได้อย่างไร
มีความสัมพันธ์มานานทั้งการค้า การสงคราม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม
การรับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านทางเขมร
การอยู่ร่วมกันในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่สมัยโบราณ
ตัวอย่างคำ
มักเป็นคำที่มักสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เสด็จ บำเพ็ญ สราญ กำจร บันดาล
มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ ดำ ตำ จำ ชำ สำ บำ รำ เช่น กำแพง ดำเนิน ตำนาน จำนำ
คำยืมจากภาษาจีน
เข้ามาช่วงไหน
ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น
เข้ามาได้อย่างไร
การที่ชาวจีนอพยพมาตั้งรากถิ่น
ฐานทำมาหากินในเมืองไทย มีการประกอบอาชีพต่าง ๆ
ชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
ตัวอย่างคำ
นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ
คำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้
คำที่เกี่ยวกับการค้า และการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง หุ้น ห้าง
คำยืมจากภาษาอังกฤษ
เข้ามาช่วงไหน
ตั้งแต่สมัยอยุธยา
เข้ามาได้อย่างไร
(รัชกาลที่ ๓) สหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแผ่
คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในไทย
(รัชกาลที่ ๔) มีการติดต่อกับฝรั่งชาติอังกฤษและอเมริกันมากขึ้น
ตัวอย่างคำ
ส่วนใหญ่เป็นคำหลายพยางค์ เช่น ช็อกโกแลต แคปซูล โฟกัส
ส่วนใหญ่เป็นคำทับศัพท์ เช่น กลูโคส (glucose)
มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ฟิล์ม การ์ด ปาล์ม
คำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต
เข้ามาได้อย่างไร
ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ
สาเหตุแห่งความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรม
ภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ
ตัวอย่างคำ
ภาษาบาลี
นิยมใช้ ฬ เช่น จุฬา กีฬา
ไม่ใช้คำควบกล้ำและอักษรนำ
เช่น นิพพาน ปัญญา บุคคล
ภาษาสันสกฤต
มีคำควบกล้ำและอักษรนำ
เช่น จันทรา อุทยาน พิสดาร
ใช้ “ศ” และ “ษ” เช่น ปักษา
ปักษี ศาสนา
เข้ามาช่วงไหน
สมัยสุโขทัย
คำยืมจากภาษาทมิฬ-มลายู
เข้ามาได้อย่างไร
มีเขตแดนติดต่อกัน
ติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม
ตัวอย่างคำ
ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์หรือมากกว่า เช่น กะพง กริช โกดัง
เข้ามาช่วงไหน
สมัยอยุธยา
คำยืมภาษาถิ่น
คำยืมภาษาถิ่นภาคอีสาน
ใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว
สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม
เช่น บักหุ่ง-มะละกอ, สูน-โกรธ
คำยืมภาษาถิ่นภาคเหนือ
ภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)
ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม
เช่น บักก้วยเต้ด-มะละกอ, เกี้ยด-โกรธ
คำยืมภาษาถิ่นภาคกลาง
ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี
มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
คำยืมภาษาถิ่นภาคใต้
ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี
แต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก ซึ่งอาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
เช่น ลอกอ-มะละกอ, หวิบ-โกรธ
นางสาวณัฐรดี ย่องเซ่ง ม๖/๗ เลขที่ ๒๓