Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence: AI ), นาย ธนภัทร บุญรัตน์ ม.6/5…
ปัญญาประดิษฐ์
( Artificial Intelligence: AI )
ประวัติความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์
จอห์น แม็กคาร์ที เป็นผู้ตั้งชื่อให้กับศาสตร์สาขานี้ว่า
Artificial Intelligence หรือ AI ในปีค.ศ.1995
มีการให้คำจำกัดความของปัญญาประดิษฐ์ไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การสร้างวิธีการแทนสิ่งที่อยู่ในใจ
2.การดึงข้อมูลที่เกี่ยวของออกมาใช้
3.การจัดการแทนค่าออกมาเป็น คำตอบ
ปัญญาประดิษฐ์ถือกำเนิดขึ้นราว ค.ศ. 1956 ในที่ประชุมวิชาการ วิทยาลัยดาร์ตมัท ประเทศสหรัฐฯ มีผู้ร่วมประชุมครั้งนั้น ได้แก่ จอห์น แม็กคาร์ที ุมาร์วิน มินสกี ุอาเทอร์ ซามูเอล และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์มีการวิจัยเรื่อง ทฤษฎีออโตมาตา โครงข่ายใยประสาท และศึกษาเรื่องความฉลาด
• แนวคิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคกรีกไปจนถึงยุคเรืองปัญญา
โดยอริสโตเติลนักปราชญ์ในยุคนั้นได้พัฒนาพื้นฐานการคำนวณเชิงสัญลักษณ์
ที่นักคณิตศาสตร์หลายท่านนำมาสานต่อ เช่น เลออนฮาร์ด ออยเลอร์
นักคณิตศาสตร์ ชาวสวิส รวมทั้งนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง
ลูว์อิส คาร์รอลล์ และ จอร์จ บลู
นิยามของปัญญาประดิษฐ์
• ในปี ค.ศ. 1956 จอห์น แม็กคาร์ที ได้นิยามปัญญาประดิษฐ์ไว้ว่า เป็นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ในการสร้างความฉลาดให้กับเครื่องจักร มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีความสามารถในการคำนวณ คิดหาเหตุผล ได้เหมือนกับสมองของมนุษย์ปัญญาประดิษฐ์
จะมีระบบที่ซับซ้อนเป็นการเลียนแบบการทำงานของสมอง
ซึ่งสามารถให้นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ในมุมมอง 2 มิติ ได้แก่
• นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์กับนิยามที่เน้นระบบที่มีเหตุผล
• นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลักกับนิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก
จากนิยามข้างต้น ไม่ได้มีความแตกต่างกันโดยสมบูรณ์ แต่จะเชื่อมโยงกันอยู่ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้
2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (System that act like human) เป็นการเลียนแบบการกระทำของมนุษย์
เป็นการศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ เช่น การสื่อสารด้วยภาษามนุษย์ มีประสาทสัมผัสคล้ายมนุษย์ เคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์
สามารถเรียนรู้แล้วปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดที่เปลี่ยนไปได้
3.ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล เป็นการศึกษาความสามารถด้านสติปัญญา (System that think rationally) การคิดอย่างมีเหตุผล
หรือคิดได้อย่างถูกต้อง โดยใช้โมเดลการคำนวณ เช่น ใช้ตรรกะศาสตร์ในการคิดหาคำตอบ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)
4.ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (System that act rationally) เป็นความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น โปรแกรมที่มีความสามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมขับรถอัตโนมัติ
1.ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (System that think like human) เป็นการเลียนแบบมิติการคิดของมนุษย์
เป็นความพยายามที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์ สามารถเรียนรู้แก้ปัญหาได้
การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในหลายๆด้าน ซึ่งมีจุดเด่นคือ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำสูง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายด้าน ดังนี้
ด้านการค้าในเชิงธุรกิจพาณิชย์
มีส่วนช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผลได้เร็วกว่ามนุษย์เพื่อคำนวณ
หาค่าอุปสงค์และอุปทานหรือการหาโอกาสทำกำไรให้ได้มากที่สุด
ด้านการบันเทิง
การสร้างหุ่นยนต์ที่ตอบโต้กับมนุษย์ได้ เป็นสัตว์เลี้ยง
ด้านระบบรักษาความปลอดภัย
การสแกนตรวจจับสิ่งผิดปกติ
เพื่อหาวัตถุต้องสงสัยโดยใช้ระยะเวลาตรวจสอบที่รวดเร็ว
ด้านการประมวลผลภาษา
การใช้แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้ผู้ฟังหรือ
ผู้รับสารเข้าใจและทราบถึงความหมายได้อย่างสะดวก
ด้านคมนาคม
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ควบคุมการทำงานของรถยนต์หรือยานพาหนะสามารถควบคุมความชื้นภายใน
รถยนต์หรืออุณหภูมิให้มีความเหมาะสมกับผู้ขับขี่ และยังสามารถค้นหาตำแหน่งหรือเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทางไปยังปลายทาง
ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับดาวเทียมเพื่อค้นหาตำแหน่ง
ด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
มีการใช้แขนกลช่วยในการผ่าตัด
สามารถทำงานได้ละเอียดกว่ามนุษย์
มีความปลอดภัยสูงอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ด้านอุตสาหกรรม
การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนบางประเภท
เพื่อลดความเสี่ยงอีกทั้งยังลดภาระต้นทุนการผลิต
ด้านอื่นๆ
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ฝังไว้ในหุ่นยนต์ทำให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาด โดยสามารถเรียนรู้และตรวจจับขยะได้ด้วยตนเอง
ด้านงานวิจัย
การสำรวจในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอย่างปากปล่องภูเขาไฟหรือในมหาสมุทร
ที่มีความลึกอย่างมากก็สามารถใช้หุ่นยนต์สำรวจแทนได้ เพราะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ได้ดีกว่ามนุษย์ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดแม่นยำ
ด้านระบบเครือข่าย
การค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการผ่าน
ระบบเครือข่ายโดยใช้คำสำคัญในการค้นหา
ด้านการทหาร
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในด้านการทหาร
เช่น เครื่องบินไร้คนขับ รถถังไร้คนขับโดยมีจุดประสงค์ด้านความมั่นคง
ประเภทของปัญญาประดิษฐ์
มีการแบ่งจำแนกปัญญาประดิษฐ์ออกเป็นหลายๆตามคุณลักษณะแบ่งตามระดับความสามารถ และสติปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรือ Weak AI
มีระดับสติปัญญาในการทำงานที่มีขอบเขตเช่นไอบีเอ็มสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถชนะแชมป์หมากรุกในปี1997
ปัจจุบันสามารถสร้างรถยนต์ไร้คนขับได้แต่ยังไม่สามารถทำใกล้เคียงกับมนุษย์ได้
2.Artificial General Intelligence (AGI) หรือ Strong AI มีระดับสติปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ซึ่งมีความสามารถในการทำงานได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ ปัจจุบันยังไม่สามารถสร้าง AGI ได้แต่นักจิตวิทยาและนักเขียนชาวอเมริกันได้อธิบายว่า ปัญญาประดิษฐ์ในระดับน้มีความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้วางแผนแก้ปัญหา มีความคิดที่ซับซ้อน เรียนรู้ได้เร็ว
3.Artificial Super Intelligence (ASI) หรือ ASI มีระดับสติปัญญาที่เหนือมนุษย์ นิค บอสตรอม จากออกซฟอร์ด ซึ่งเป็นนักปรัชญาและผู้นำความคิดด้าน AI ให้คำจำกัดความ ASI ว่า ฉลาดและมีปัญญามากกว่าสมองมนุษย์มีความเหนือกว่าในทุกๆด้าน
นาย ธนภัทร บุญรัตน์ ม.6/5 เลขที่ 24