Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด - Coggle Diagram
การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานด้านหัตถเวชกรรมไทย (นวดแบบราชสำนัก)
สมัยกรุงศรีฯ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(พ.ศ. 1997) มีไข้ทรพิษระบาด โปรดเกล้าให้ตั้งหน่วยงานที่มีฐานะเป็นหน่วยงานการสาธารณสุขเป็น 7 กรม มีกรมหมอนวด 1 ในนั้น
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ. 2199-2231) มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ฝรั่งเศส ถ้ามีใครป่วยไข้ จะให้ผู้ชำนาญขึ้นบนร่างกายใช้เท้าเหยียบ หรือให้หมอนวดบีบขยำทั่วตัว แม้แต่คนท้องมักให้เด็กเหยียบเพื่อให้คลอดง่ายไม่เจ็บปวดมาก
สมัยรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1
ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระอารามหลวง (วัดโพธิ์)
รวบรวมตำรายาและท่าฤๅษีดัดตน ครั้งแรก
มีอักษรจารึกติดรูปฤๅษีบอกวิธีการดัดและแก้ไขโรคของแต่ละท่า
ตีพิมหนังสือตำราโรคนิทาน คำฉันท์ ๑๑ ในปี 2456และเผยแพร่จนปัจจุบัน
รัชกาลที่ 2
2355 พระพงษ์นรินทร์ ราชนิกุล จดตำรายาในโอสถ ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้คัดเฉพาะตำรา ยาที่มีชื่อถวาย รัชกาลที่ 2 เรียกหนังสือจัดพิมพ์นี้ว่า “ตำรายาโรงพระโอสถ” โปรดให้พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2459
2359 ให้ตรากฎหมายชื่อว่า “กฏหมายพนักงานโอสถถวาย”
2364 พระยาลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎา บดินทร์ เป็นผู้ควบคุมการปฏิสังขรณ์วัดจอมทองในการนี้ทรงให้จารึกตำรายา ตำรานวด และตำราวางปลิงบนแผ่นศิลา (เป็นรูปแผนคว่ำ 1 แผ่น) แล้วถวายเป็นอารามหลวง
รัชกาลที่ 3
2375 รวบรวมสรรพวิชาไว้ โดยการนำไปจารึกไว้ในแผ่นหินอ่อนติดไว้ตามผนังและเสาอาคารของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) และมีการเรียนรู้ที่นี่จึงเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยแห้งแรกในประเทษไทย
2554 กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย" แด่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฏาราชเจ้า
วันที่ ๒๙ ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ"
รัชกาลที่ 4
หมอบัดเลย์ซึ่งเป็นหมอสูติศาสตร์ พูดถึงการทำคลอด มีปรากฏในจดหมายลาลูแบร์
รัชกาลที่ 5
พระองค์ทรงโปรดการนวดมาก พ.ศ. 2413 โปรดเกล้าฯ ให้ชำระคัมภีร์แพทย์ทั้งหมดให้ถูกต้อง รวมทั้งคัมภีร์แผนนวดและฤาษีดัดตนปรากฏหลักฐานในหอพระสมุดวชิรญาณ เป็น “ตำราแผนนวดฉบับหลวงพระราชทาน”
จัดตั้ง “ศิริราชพยาบาล” เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย
รัชกาลที่ 6
ยกเลิกการสอนวิชาการแพทย์แผนไทย และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองทำให้รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด กรมแพทย์หลวงถูกยุบ
โปรดให้ตราพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 ระบุการนวดอยู่ในนิยามของโรคศิลปะ
รัชกาลที่ 7
ตรากฎหมายเสนาบดีเพื่อแบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น “แผนปัจจุบัน”และ“แผนโบราณ”
พ.ศ.2475 มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มีการสอนและบริการนวดในสมาคมเป็นครั้งแรก
รัชกาลที่ 8
ตรา พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 โดยยกเลิกพ.ร.บ.การแพทย์ 2466
การแพทย์ตะวันตกเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย หมอนวดและแพทย์แผนไทยต้องไปสอบใบประกอบโรคศิลปะเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ
รัชกาลที่ 9
2494 จัดทำหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นในนาม “โรงเรียนแพทย์
แผนโบราณแห่งประเทศไทย”ได้เปิดสอนเป็นแห่งแรกที่วัดพระเชตุพนฯ โดยแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร คือ เวชกรรม เภสัชกรรมและหัตถเวชกรรม
รัชกาลที่ 10
2561 มีเกณฑ์มาตรฐานด้านการเวชปฏิบัตินวดไทย (WHO Benchmarks for Practice in Nuad Thai)
จัดทำข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอการนวดไทยเป็นมรดกโลกจาก UNESCO
2562 เสนอรับรองการนวดไทยเป็นมรดกโลกจาก UNESCO
บูรพาจารย์ของการนวดไทย (หมอชีวกโกมารภัจจ์)
รักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา 7 ปี
ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี
ถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิต
รักษาริดสีดวงของประเจ้าพิมพิสาร
ประวัติการนวดแบบราชสำนัก (อายุรเวท)
2525 ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม และเปิดโรงเรียนเพื่อสอนการแพทย์แผนไทยขึ้น
2545 หน่วยงานทั้งหมดได้โอนย้ายมาสังกัด คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เรียกชื่อว่าการแพทย์แผนไทยประยุกต์
การนวดไทยแบบราชสำนักจากคำบอกเล่าพอจะสืบทอดได้ว่ามีมาแต่หมออิน เดชพันธ์ และท่านได้รับสมญาณนามว่าหมออินเทวดา และถวายร.5
ท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ บุญรัตนหิรัญได้เขียนไว้ ในบทคารวะอิทิศต่อครูอาจารย์ของท่านว่า “ว่า ด้วยเรื่องระเบียบและวิธีการนวดแบบราชสำนัก” ข้าพเจ้าได้เรียนมาจาก ท่านอาจารย์นายแพทย์กรุด (ลูกศิษย์หลวงวาโย) ท่านหมอชิต เดชพันธ์ (บุตรชายคนเล็กของหมออินทร์เทวดา) ซึ่งเป็นหมอในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านอาจารย์หลวงราชรักษา (แพทย์ในราชสำนัก) “เรื่องสัญญาณ 5 และมาตรส่วนองศา”
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ การนวดไทย
แบบราชสำนัก
ต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย
จะไม่เริ่มนวดฝ่าเท้า นอกจากจำเป็นจริงๆ
ใช้เฉพาะมือคือ นิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วอื่น
ไม่ใช้การดัดงอข้อ
ต้องการทำให้เกิดผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆ
พ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ
2530 โครงการฟื้นฟูการนวดไทย
2532 การแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบราชการอีกครั้ง โดยกระทรวงสาธารณสุข
2541 กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการนวดแผนโบราณ
2542 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542
2545 มีการพัฒนามาตรฐานการนวด และหลักสูตรการเรียนการสอน แบ่งการนวดเป็น 3 ระดับ
1) การนวดเพื่อผ่อนคลาย หรือการนวดเพื่อสุขภาพ
2) การนวดเพื่อบำบัดอาการ 10 กลุ่มอาการ เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดเมื่อยบ่า-ไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดข้อเท้า
3) การนวดเพื่อรักษาโรค รวม 64 โรค เช่น ยอกหลัง เข่าเสื่อม ท้องผูก ลมปะกัง (Migraine) ไหล่ ติด นอนไม่หลับ อัมพฤกษ์ อัมพาต
การนวดไทยแบบราชสำนัก หมายถึง การใช้นิ้วและมือกดนวดบริเวณร่างกายมนุษย์ตามศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทยที่เคยปฏิบัติกันมาในราชสำนัก เพื่อบำบัด รักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟู
สมรรถภาพ และสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วย ประกอบด้วย
คุณลักษณะดังนี้
มีมารยาทที่สุภาพ
มีหลักการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค รวมทั้งมีการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้รับการบำบัด
มีความรู้ที่จะทำให้การนวดมีผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื้อที่อยู่ภายใน
ผู้นวดใช้เฉพาะมือและนิ้วมือเท่านั้น
มารยาทของผู้นวด ตามระเบียบแบบแผนในราชสำนัก
ต้องเดินเข่าเข้าผู้ป่วย
2.นั่งพับเพียบ
3.ยกมือไหว้ผู้ป่วย
4.ตรวจชีพจร ทั้งมือและเท้า
ในขณะทำการนวด ผู้นวดไม่ควรที่จะก้มหน้า
คุณสมบัติของหมอหัตถเวชกรรมไทย
1.มีศีลธรรมจรรยาบรรณ องค์ประกอบที่ดีคือ ตั้งสัจจะ ตั้งนิ้ว ตั้งสมาธิ ตั้งตา ตั้งใจ
2.มีมารยาทของผู้นวด ตามระเบียบแบบแผนมี 5 ขั้นตอนดังนี้
1.เดินเข่าหาผู้ป่วย ห่าง 4 ศอก
2.นั่งพับเพียบปลายเท้าชี้ไปทางเท้าผู้ป่วย
3.ยกมือไหว้แนะนำตัว
4.ตรวจวัดชีพจร ทั้งมือและเท้า
5.ในขณะทำการนวด ผู้นวดต้องหน้าตรง ไม่สบตาหรือก้มหน้า หันไปมา
ความรู้ในการทำหัตถเวชกรรมแผนไทย
ข้อห้ามในการนวด
1.มีไข้ 38.5 องศาเซลเซียส ไข้ทรพิษ ไข้กาฬ สุกใส งูสวัด
2.โรคติดต่อร้ายแรง เช่น วัณโรค
3.ไส้ติ่งอักเสบ
4.กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่ติด
5.สภาวะที่ผิดปกติของเลือด เช่น เลือดไม่แข็งตัว รวมถึงการอักเสบทั้งระบบของร่างกาย
ข้อควรระวัง
1.สตรีมีครรภ์
2.ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
3.สภาวะข้อต่อหลวม
4ความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 mmHg ระวังบริเวณ คอ บ่า ไหล่
บทที่ 2 หลักการตรวจ การวินิจฉัยและการรักษาทางหัตถเวชกรรม
ซักประวัติ
แนวทางการซักประวัติ
วิธีการเก็บข้อมูล การสืบค้นหาสาเหตุของโรค ประวัติผู้ป่วย
ข้อมูลพื้นฐาน : ชื่อ, อายุ, วันเดือนปีเกิด, เพศ, อาชีพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว
อาการที่สำคัญ : อาการสำคัญเป็นข้อมูลสำคัญอัญอันแรกที่จะชักนำ ให้เข้าหาสาเหตุของโรค หรือภาวะต่าง ๆที่เป็น
ปัญหาของผู้ป่วยที่ต้องการให้แพทย์เป็นผู้แก้ไข
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน ต้องชักให้ละเอียด
ปวด เป็นอาการที่ผู้ป่วยปรึกษาบ่อยที่สุด ซึ่งแพทย์ควรที่จะชักประวัติเพิ่มเติม ถึงอาการปวดนี้ว่า เป็นมากน้อยเพียงใด, เป็นระยะเวลานานเท่าไร, ปวดที่ไหน, ลักษณะอาการปวดเป็นอย่างไร (ปวดดื้อ ๆ, ปวดเหมือนมีอะไรมาทิ่ม แทง, หรือปวดแสบปวดร้อน), ความรุนแรงของอาการปวด, ระยะเวลา, สิ่งที่ทำให้อาการปวดทุเลา
หลักการตรวจและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายของกระดูกสันหลังจะเหมือนกับการตรวจร่างกาย
ทางออร์โธปิติกส์ทั่วไป คือ ตรวจร่างกายทั่วไปและ
ลำดับขั้นในการตรวจกระดูกสันหลัง คือ
2.1 ดู (inspection)
2.2 คลำ (palpation)
2.3 ขยับ (motion)
2.4 วัด (measurement)
การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ (ROM)
2.5 การตรวจพิเศษ (special test)
2.6 การตรวจร่างกายทางระบบประสาท (neurological examination)
บทที่ 3 การนวดพื้นฐาน
อาการนำผู้ป่วยที่ควรมารักษากับ
แพทย์แผนไทย (นวดไทย)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ข้อเคลื่อนหลุด
หัวเข่าขัด
ปวดประจำเดือน
ข้อไหล่ติด
ข้อซ้น
กิจกรรมการทำหัตถการทางการแพทย์แผนไทย
1.การนวดเฉพาะโรค การนวดเหยียบเหล็กแดง การนวดเข้าตะเกียบ
2.การนวดไทยเพื่อสร้างสุขภาพสตรีก่อนคลอดหลังคลอด
3.การนวดเด็กทารก
4.การดัดตน และฤาษีดัดตน
5.สมาธิภาวนากับการนวด
6.การทำลูกประคบ
7.การอบสมุนไพรด้วยไอน้ำและไอร้อน
โรคทางหัตถเวชกรรมไทย
1.โรคลมปลายปัตคาด เกิดจากการแข็งตัวของเลือด
1.1) ลักษณะอาการโรค มีอาการปวดเสียว แข็งเป็นก้อน
1.2) การตรวจวินิจฉัยโรค ตามอาการและจำแหน่งที่โรคเกิด
1.3) หลักการรักษา โดยการนวดพื้นฐาน นวดสัญญาณ 1-5
1.4) คำแนะนำ
1.ประคบด้วยความร้อนขึ้น 2.ท่าบริหาร 3.งดอาหารแสลง
2.โรคลมจับโปง เป็นเฉพาะข้อเข่า กับข้อเท้า
ได้แก่ 1.ลมจับโปงน้ำ 2.ลมจับโปงแห้ง
2.1) ลักษณะอาการโรค
2.1.1) ลมจับโปงน้ำ บวม แดง ร้อน มีน้ำในข้อ
2.1.2) ลมจับโปงแห้ง มีสภาวะหัวเข่าติด ขาโก่ง
2.2) การวินิจฉัยโรค
2.2.1) ดูลักษณะของข้อเข่า ข้อเท่าที่เป็น
2.2.2) ตรวจองศาของข้อเข่า ข้อเท้าที่เป็น
2.2.3) ใช้วิธีทาปูนตรวจสอบ
2.3) หลักการรักษา โดยนวดแก้ด้วยแม่สัญญาณ 5 และลูกสัญญาณ
3.โรคอัมพาต เกิดจากระบบประสาทและสมอง
3.1) ลักษณะอาการโรค
อัมพาตจะต้องมีการเคลื่อนหลุดของหัวต่อกระดูกจากเบ้าเสมอ
ถ้าหัวต่อกระดูกไม่เคลื่อน ไม่หลุด จะเรียกว่า อัมพฤกษ์
อัมพฤกษ์ 5 ชนิด 1.อัมพาตครึ่งชัก 2.อัมพาตครึ่งท่อนล่าง 3.อัมพาตทั้งตัว 4.อัมพาตเฉพาะแขน 5.อัมพาตเฉพาะขา
3.2) การตรวจวินิจฉัยโรค ตามอาการและตำแหน่งที่เกิดโรค
3.3) วิธีการรักษา โดยใช้การนวดพื้นฐานและสัญญาณเป็นหลัก
ตามตำแหน่ง
3.4) คำแนะนำ
1.งดอาหารแสลง 2.ท่าบริหาร 3.การประคบความร้อน
บทที่ 4 ฤๅษีดัดตน
4.1 ความหมายของฤาษีดัดตน
ฤๅษี หมายถึง นักบวชจำพวกหนึ่งซึ่งมีมาก่อนสมัยพุทธกาล ที่สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตเพื่อแสวงหาความสงบ
ส่วนคำว่า ดัดตน โดย ทั่วไป หมายถึง การบริหารร่างกายสำหรับจุดประสงค์ของการดัดตน
4.2 ลักษณะของฤาษีดัดตน
การทำท่าฤๅษีดัดตนมีลักษณะเฉพาะคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นไปตามท่าทางที่ถูกกำหมดขึ้น แล้วนิ่งอยู่ในท่านั้น ๆ ป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย
4.3 หลักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
Static stretching เป็นการยึดกล้ามเนื้อจนสุดพิสัยของการเคลื่อนไหว
Dynamic stretching เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้แรงช่วยให้
เคลื่อนไหวได้มากขึ้น
Proprioceptive neuromuscular
facilitation เป็นการยึดกล้ามเนื้อโดยให้กล้ามเนื้อที่
ต้องการจะยืดหดตัวและคลาย
4.4 ประโยชน์ทั่วไปของการฝึก
ช่วยให้แขนขาหรือข้อต่างๆเคลื่อนไหวได้
อย่างคล่องแคล่วและเป็นไปตามธรรมชาติ
ช่วยให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตดีและเลือด
ลมเดินสะดวก
ช่วยต่อต้านโรคภัยต่างๆรวมทั้งรักษาสุขภาพ
ให้แข็งแรงไม่เสื่อมก่อนวัย
4.5 ประโยชน์ในทางกายภาพของการฝึกฤๅษีดัดตน
ท่าที่ 1 ท่านวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ใช้นวดถนอมสายตา ช่วยบริหารกล้ามเนือบริเวณใบหน้า ในเเต่ละท่า ให้กําหนดลมหายใจเข้า-ออกไปด้วย
ท่าเสยผม
ท่าทาแป้ง
ท่าเช็ดปาก
ท่าเช็ดคาง
ท่ากดใต้คาง
ท่าถูหน้าหูและหลังหู
ท่าตบท้ายทอย
ท่าที่ 2 ท่าแก้ลมในข้อมือ และแก้ลมในลําลึงค์
ท่าเทพพนม แก้ลมในข้อมือเเละเเก้ลมในลําลึงค์ ex. carpal tunnel syndrome
ท่าที่ 3 ท่าแก้ปวดท้องและข้อเท้า
และแก้ลมปวดศีรษะ
ท่าชูหัตถ์วาดหลัง เเก้ลมปวดศีรษะ ปวดท้องเเละข้อเท้า เมื่อฝึกท่านี้ต่อเนืองกัน จะทําให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้ดีขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปที่ศีรษะ เเละเเขนดีขึ้น
ท่าที่ 4 ท่าแก้ลมเจ็บศีรษะ ตามัว และแก้เกียจ
ท่าแก้เกียจ เเก้ลม เจ็บศีรษะเเละตามัว เปนท่าง่ายๆทีใช้กันบ่อย คือการ
บิดขี้เกียจ โดยประยุกต์ให้เคลื่อนไหวครบทุกทิศ เปนการยืดเเขนเต็มที่ทุกทิศ
ท่าที่ 5 ท่าแก้แขนขัด และแก้ขัดแขน
เเก้ขัดเเขน เเขนขัด เป็นท่าที่ทําง่าย ทําให้ลดปัญหาเเขนขัดที่พบบ่อยๆ
เเละเป็นการบริหารหัวไหล่
ท่าที่ 6 ท่าแก้กล่อน และแก้เข่าขัด
ท่านั่งนวดขา เเก้กล่อนกษัย เเก้ขัดเข่า เป็นการบริหารบริเวณ เข่า หลัง เอว
ท่าที่ 7 แก้กล่อนปตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ
ท่ายิงธนู เเก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ มีผลที่อกเเละขา กล่อนปัตคาต หมายถึง ภาวะอาการขัดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ
ท่าที่ 8 ท่าแก้ลมในแขน
ท่าอวดแหวนเพชร การเเก้ลมในเเขน ข้อมือเเละนิ้ว ช่วยให้เเขนข้อมือเเละนิ้วแข็งแรง รักษา carpal tunnel syndrome
ท่าที่ 9 ท่าดํารงกายอายุยืน
ดํารงกายอายุยืน ทดสอบการทรงตัวบริหารเข่า ต้นขา เเละช่วยระบบขับถ่าย เป็นท่าที่ทดสอบการทรงตัว ยืนขาเดียว บริหารเข่า มีการยื้อร่างกายตามเเนวดิ่ง
ท่าที่ 10 ท่าแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า ขา
ท่านางแบบ เเก้อาการเจ็บป่วยที่ ไหล่ ขา เอว ใช้บริหาร เอว อก ขา ไหล่
ท่าที่ 11 ท่าแก้โรคในอก
ท่านอนหงายผายปอด เเก้โรคในอก ทําให้ปอดเเข็งเเรง
ท่าที่ 12 ท่าแก้ตะคริวมือ ตะคริวเท้า
ท่าเต้นโขน เเก้ตะคริวมือเเละเท้า เปนการบริหารยือร่างกาย ตามเเนวดิ่ง เป็นการบริหารเอว เเละ ขา
ท่าที่ 13 ท่าแก้ตะโพกสลักเพชร
และแก้ไหล่ ตะโพกขัด
ท่ายืนก้มนวดขา เเก้กล่อนกษัย เเก้ขัดเข่า เป็นการบริหารบริเวณเข่า หลัง เอว
ท่าที่ 14 ท่าแก้ลมเลือดนัยน์ตามัว
และแก้ลมอันรัดทั้งตัว
ท่านอนควํ่าทับหัตถ์ เป็นท่าที่ใช้ในการบริหาร ส่วนคอ ขา เเละ หน้าอก ข้อควรระวัง ผู้มีอาการเวียนศีรษะ ปวดต้นคอ ควรหลีกเลี่ยงท่านี้
ท่าที่ 15 แก้เมื่อยปลายมือปลายเท้า
องค์แอ่นแหงนพักตร์ เเก้ปวดเมื่อยปลายมือ เเละปลายเท้า ข้อควรระวังไม่ควรเเหงนหน้ามากเกินไปจะทำให้เป็นตะคริวทีน่องได้
บทที่ 5 ลูกประคบ
ลูกประคบคือการใช้สมุนไหรหลายอย่างมาห่อรวมกัน สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย นำมานึ่งให้ความร้อนและประคบบริเวณที่ปวด น้ำมันจะหอมระเหย เมื่อถูกความร้อน ความร้อนจากลูกประคบช่วยกระตุ้นการไหลเวียนรักษาอาการปวดได้
ตัวยาที่นำมาทำลูกประคบ
ไพร 500g
ผิวมะกรูด 200g
ใบมะขาม 300g
ขมิ้นชัน 100g
ตะไคร้บ้าน 100g
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
การบูร 2 ช้อนโต๊ะ
ใบส้มป่อย 100g
การเก็บรักษาลูกประคบ
1.เก็บไว้ใช้ซ้ำ 3-5 วัน
2.เก็บในตู้เย็น
3.ถ้าลูกประคบแห้ง พรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว
4.ถ้าลูกประคบที่ใช้มีสีเหลืองอ่อน ลงควรเปลี่ยนลูกใหม่เพราะ
คุณภาพน้อยลง
ข้อควรระวัง
ผู้ที่มีความผิดปกติ การรับความรู้สึก
2.บริเวณหลอดเลือดมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
ผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อความเย็น
ประโยชน์ของลูกประคบ
1.เส้นเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง
2.ลดอาการบวม
3.ลดอาการบาดเจ็บ อักเสบ
4.ลดการนำกระแสประสาทรับ ความรู้สึกเจ็บปวด