Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล (นายพัชพล เชิดสะภู)2/3 - Coggle Diagram
กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล
(นายพัชพล เชิดสะภู)2/3
ความหมายของกฎหมาย
กฎเกณฑ์ที่วางระเบียบเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีสภาพบังคับให้บุคคลกระทําหรือไม่ให้กระทําเพื่อกําหนดความประพฤติของบุคคลในรัฐ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและถูกลงโทษ
ความสําคัญของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ
กฎหมายเป็นตัวกําหนดความสําคัญของตัวบุคคล
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่กําหนดขึ้นจากคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
เป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศนั้น
เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
ลําดับศักดิ์ของกฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
พระราชกําหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่งของกระทรวง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที (ITLaw) เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
กฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
4) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
5) กฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
6) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอข้อมูลที่ทําในกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (National
Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสําคัญอื่นๆ
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจํานวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
กฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกําหนดมาตรการทางอาญา ในการลงโทษผู้กระทําผิดต่อระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกําหนดกลไกสําคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งผลต่อฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นิยามที่สําคัญ
“ดิจิทัล” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนําสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้าง หรือก่อให้เกิดระบบต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์
สารระสําคัญ
การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา 6 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ
ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมีรูปแบบการกระทําความผิดที่ซับซ้อนตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
นิยามที่สําคัญ
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนดคําสั่ง ชุดคําสั่ง
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่
อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้
สารระสําคัญ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฐานความผิดและบทลงโทษสําหรับการกระทําโดยมิชอบ
มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง
มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา 8 การดักข้อมูลโดยมิชอบ
มาตรา 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา 10 ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา 11 สแปมเมล์ (spam mail)
มาตรา 12* การกระทําความผิดต่อประชาชนโดยทั่วไป/ความมั่นคง
มาตรา 13 การจําหน่าย/เผยแพร่ชุดคําสั่งเพื่อใช้กระทําความผิด
มาตรา 14* นําเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา 15* ความรับผิดของผู้ให้บริการ
มาตรา 16* การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง
มาตรา 17 ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
การประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้โดยที่การทําธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
คํานิยามศัพท์ที่สําคัญ (มาตรา 4)
ธุรกรรม หมายความว่า การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทําขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแค่บางส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่น
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัตินี้กําหนดห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7)
(1) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ
(2) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้นําเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่
เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ
(3) ห้ามไม่ให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน
1 more item...
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่
สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัตินี้กําหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีอํานาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
บทกําหนดโทษ
ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกําหนด
คุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณธรรม (Virtue) หมายถึง คุณงามความดี สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
จริยธรรมที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 4 ประเด็น
ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ประเด็นความถูกต้องแม่นยํา (Accuracy)
ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility)
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่าง
จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทําร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
ต้องไม่รบกวนการทํางานของผู้อื่น
ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
ข้อที่ควรคํานึงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ทําลายข้อมูล