Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซีด - Coggle Diagram
การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซีด
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของสภาวะซีดภายหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาเพื่อปรับแผนการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม และเพื่อติดตามประเมินภาวะซีดที่อาจะเกิดซํ้า
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนบนเตียง(bed rest)
จัดสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศรอบข้างที่เอื้อต่อการพักผ่อน
ดูแลความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
แนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนท่าควรทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเพื่อลดการใช้ออกซิเจนโดยไม่จำเป็น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดอาการของภาวะซีดตามแผนการรักษา
การให้ออกซิเจนด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และติดตามประเมินความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
การให้เลือด Pack red cell ตามแผนการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงเพียงพอ
ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง ในกรณีให้ PRC หลายยูนิตต่อเนื่องกันอาจทำให้เกิดภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง พยาบาลต้องประเมินชีพจร หัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติ ถ่ายเหลว ถ้าโปตัสเซียมสูงมาก(severe hyperkalemia) คือ serum K*> 7 mEg/L จะพบความดันโลหิตต่ำ หัวใจล้มเหลว ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างมากจนกระทั่ง เกิดอัมพาตแบบเปลี้ย อัมพาตของกล้ามเนื้อหายใจ EKG เปลี่ยนแปลงโดยมี Talk peak T wave
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเนื่องจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารชิเตรตส่งผลให้แคลเซียมอิสระในเลือดลดลง ติดตามประเมินอาการและอาการแสดง จะพบชีพจรอ่อนเบา ความดันโลหิตต่ำ มีอาการชาและคล้ายถูกเข็มทิ่มต่ำที่มือนิ้วเท้าและริมฝีปาก ในกรณีต่ำมากจะมีกระตุก และอาจชักได้
ปฏิกิริยาแพ้ขณะให้เลือด ติดตามประเมินผื่นคัน มีไข้ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่แพทย์มักให้ยา Piration 1 amp ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำก่อนให้เลือดในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เลือด
ภาวะน้ำเกินโดยดูแลให้เลือดไม่เร็วเกินไป โดยทั่วไปให้ PRC 1 ยูนิตประมาณ 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะในกรณีที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำเกิน เช่น ผู้ป่วยไตเรื้อรัง ติตามประเมินอาการหายใจเร็ว เหนื่อย นอบราบไม่ได้ ความดัน หายใจมีเสียง crebitation อาจต้องให้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วยตามแผนการักษาเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน
ติดตามประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย
ประเมินอัตราการหายใจชีพจร
ติดตามและประเมินอาการแสดงของภาวะซีด
อาการและอาการแสดงที่แสดงถึงสภาวะซีด
ดูแลให้รับยา รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้คำแนะนำและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อลลดความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกช้อนต่างๆที่ อาจเกิดขึ้น
พฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง โดยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมการได้รับยาให้มีประสิทธิภาพ เช่น แนะนำให้รับประทานยาธาตุเหล็ก พร้อมเครื่องดื่มที่มีวิตะมินชีสงเพื่อส่งเสริมการดูดซึมธาตเหล็ก และแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยังการดดซึมธาตเหล็ก
การหลีกเลียงสาเหตุ หรือปัจจัยเสริมให้เกิดภาวะซีด ไม่รับประทานยาชุด ยาแก้ปวดเมื่อย ยาแก้อักเสบ ยาลูกกลอบ เนื่องจากยาดังกล่าวมีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะซีด ใน ผู้ป่วย G-6-PD deficiency หลีกเลี่ยงยาจำพวก Aspin, Antimalarial, Sulfonamides, Vitamin K, Fava beans (เรียกว่า Favism)
การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตเหล็กและโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่ ตับ ไต เนื้อสัตว์
ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
การให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค โดยอธิบายสาเหตุของการเกิดภาวะขีด การรักษาและการปฏิบัติตัว
ให้คำแนะนำในการทำ
กิจกรรมและการออกกำลังกายให้เหมาะสม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความบกพร่องเกี่ยวกับการรับรู้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย
ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากสื่อนำออกซิเจนลดลง
ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค