Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยชาย อายุ 50 ปี Dx. F20.20 Catatonic schizophrenia - Coggle Diagram
ผู้ป่วยชาย อายุ 50 ปี
Dx. F20.20 Catatonic schizophrenia
1. อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
หูแว่ว ระแวงกลัว ไม่นอน 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
22 ปีก่อน ผู้ป่วยมีอาการหูแว่ว ระแวงกลัว ไม่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังจากการใช้ยาบ้าและเสพกัญชามา 10 ปี ญาติจึงนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
12 ปีก่อนผู้ป่วยกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากมีพฤติกรรมกลับไปใช้สารเสพติด ได้แก่ ยาบ้า และกัญชา และไม่ยอมรับประทานยาจนเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ระแวงกลัว มีการขู่ทำร้ายมารดา แต่ไม่เคยลงมือทำ ญาติกลัวเป็นอันตรายต่อครอบครัวจึงนำตัวส่งโรงพยาบาล การเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลในครั้งนี้ผู้ป่วยตัดสินใจเลิกใช้สารเสพติดเนื่องจากสงสารครอบครัว
1 เดือนก่อนมา กลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการอาการหูแว่ว ระแวงกลัวไม่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากไม่รับประทานยามา 1 สัปดาห์
1 สัปดาห์ก่อนมา มีอาการหูแว่วมากขึ้นลักษณะเป็นเสียงคนพูดคุยกัน ไม่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ญาติจึงนำตัวส่งโรงพยาบาล
รับไว้ในความดูแล ผู้ป่วยมีสีหนาไม่เป็นมิตร ถามไม่ตอบ ยังมีหูแว่วอยู่ตลอดเวลา ระแวงกลัว
ประวัติส่วนตัว
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 50 ปี จบชั้นมัธยามศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะนิสัยเป็นคนเงียบขรึม เติบโตมากับบิดา มารดา และพี่สาว ซึ่งสัมพันธภาพภายในครอบครัวมีความรักไคร่กันดี โดยผู้ป่วยเติบโตมาด้วยอาชีพทำไร่ทำนา รายได้ในครอบครัวไม่ค่อยเพียงพอทำให้ตนมักต้องหาทำงานเสริมอยู่เสมอ
การวิเคราห์กลไกการเกิดปัญหาทางจิต 4 P
Predisposing
ปัจจัยนำ
การใช้สารเสพติด ได้แก่ ยาบ้า เฮโรอีน กัญชา และเลิกใช้เมื่ออายุ 38 ปี
การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี และอยู่ในสังคมเพื่อนที่ไม่ดี โดยผู้ป่วยเริ่มใช้สารเสพติดจากการชักชวนของเพื่อน
อยากรู้อยากลองในช่วงวัยรุ่น
Precipitating
ปัจจัยกระตุ้น
การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากรับประทานยาแล้วเกิดความง่วงนอน และลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง
การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีเพื่อนคอยชักชวนเสพสารเสพติด
ความเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
Perpetuating
ปัจจัยคงอยู่
การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
การรัประทานยาไม่สม่ำเสมอ
ความเครียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
Protective
ปัจจัยปกป้อง
มีอสม.คอยออกเยี่ยมบ้านให้ความรู้เรื่องโรค และคอยติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ
ผู้นำชุมชน คอยให้ความช่วยเหลือในด้านการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้
ครอบครัว คอยให้ความช่วยเหลือ โดยมีหลายสาวคอยดูแลหาข้าวให้รับประทาน และมีพี่สาวคอยดูแลเรื่องการเป็นอยู่
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 50 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เรียนจบชั้นมมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ปฏิเสธการมีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติกการเจ็บป่วยในครอบครัว
ปฏิเสธการมีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช
ประวัติการใช้สารเสพติด
จากการซักประวัติผู้ป่วย ผู้ป่วยเริ่มใช้ยาเสพติดเมื่ออายุ 18 ปี ซึ่งเริ่มจากการสูบกัญชา โดยเริ่มใช้สารเสพติดตามเพื่อน จากนั้นเริ่มใช้ยาบ้าเมื่ออายุ 22 ปี ต่อด้วยเฮโรอีน ใช้ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่เนื่องจากเฮโรอีนมีราคาสูงผู้ป่วยจึงเลือกใช้ยาบ้าเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงนั้นผู้ป่วยเล่าว่าการใช้สารเสพติดทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดี จึงใช้สารเสพติดเรื่อยมาเมื่อยาหมดฤทธิ์ผู้ป่วยก็เสพเข้าไปใหม่เป็นอย่างนี้เรื่อยมา จนเมื่ออายุ 28 ปี ผู้ป่วยเริ่มมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน จึงมาเข้ารับการรักษา แต่เมื่อกลับไปอยู่บ้านผู้ป่วยยังมีพฤตกรรมการใช้สารเสพติดคงเดิมจนถึงอายุ 38 ปี ผู้ป่วยตัดสินใจเลิกใช้สารเสพติด
การประเมินสภาพจิต MSE
ประเมินวันที่ 6 ส.ค. 67
ลักษณะทั่วไป (General appearance)
• ลักษณะภายนอก ผู้ป่วยเพศชาย รูปร่างผอม หน้าตาสมวัย แต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาลสะอาดดีมีสีหน้าแจ่มใส
• ท่าที มีท่าทีเป็นมิตร ให้ความร่วมมือดี
• พฤติกรรม ผูป่วยมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า ท่าทางการเดินปกติ ไม่มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ✅
2. ลักษณะการพูด (Speech)
อัตราคำพูด ผู้ป่วยพูดด้วยอัตราความเร็วปกติไม่มีอุปสรรค์ของการพูด✅
อารมณ์ (Mood and Affect)
• Mood ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติของการแสดงออกด้านอารมณ์✅
• Affect ผู้ป่วยไม่มีอารมณ์และการแสดงออกเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องที่เล่า✅
ความคิด (Thought)
ผู้ป่วยไม่มีเนื้อหาความคิดที่หมกมุ่น ระหว่างการสนทนาตอบคำถามด้วยความยาว มีพูดแล้วหยุดไปบ้างแต่ยังคงอยู่ในเรื่องเดิม✅
5. การรับรู้ (Perception)
ผู้ป่วยมีอาการหูแว่วครั้งล่าสุดเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ปฏิเสธการเห็นภาพหลอน ซึ่งเสียงที่ผู้ป่วยได้ยินเป็นลักษณะเสียงของคนจำนวนมากกำลังคุยกัน❌
การรับรู้เวลา สถานที่ บุคคล (Orientation)
เมื่อถามผู้ป่วยถึงวัน เวลา สถานณ์ที่ ผู้ป่วยไม่ทราบว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ แต่สามมารถตอบเดือน และ พ.ศ. ได้
เมื่อถามถึงบุคคลว่าตอนนี้อยู่กับใคร สามารถตอบได้ว่าอยู่กับนักศึกษา แต่ไม่สามารถจำชื่อได้❌
7. ความจำ(Memory)
• Recall memory เมื่อให้ผู้ป่วยจำคำ 3 คำ ได้แก่ ดอกไม้ รถไฟ เก้าอี้ เมื่อ 5 นาทีผ่านไป ผู้ป่วยจำได้แค่คำว่าดอกไม้❌
• Recent memory ความจำใน 24 ชั่วโมง เมื่อถามผู้ป่วยว่า เมื่อเช่าทานข้าวกับอะไร ผู้ป่วยตอบว่าข้าวต้มไก่ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง✅
• Remote memory ความจำในอดีต เมื่อถามถึงวันเกิดของผุ้ป่วย ผู้ป่วยสามารถตอบได้ถูกต้อง✅
8. ความสนใจแลสมาธิ ( Attention and Concentration)
ประเมินโดยให้ผู้ป่วยลบเลข 100-7 ผู้ป่วยสามารถตอบได้แค่หลักเดียว จึงเปลี่ยนมาเป็น 20 - 3 ซึ่งผู้ป่วยสามารถตอบได้ถึง 5-3 เมื่อให้ผู้ป่วยทวนตัวเลข และเมื่อให้ผู้ป่วยพูดทวนเลขผู้ป่วยทวนเลยผิดไป 1 ตำแหน่ง❌
9.ระดับเชาว์ปัญญา ลักษณะความคิด และความรอบรู้
( General knowledge and abstract thinking)
ให้ผู้ป่วยบอกความต่างของสิ่งของ ผู้ป่วยสามารถตอบได้แบบเป็นรูปธรรม✅
10. การตัดสินใจ (Judgment)
ผู้ป่วยมีการตัดสินใจอย่างเหมาะสม✅
11. การหยั่งรู้ตนเอง (insight)
อยู่ในระดับ Patial insight ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนป่วยเป็นโรคอะไร แต่ยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ❌
12. แรงจูงใจ (Motivation)
ผู้ป่วยมีแรงจูงใจคือครอบครัว✅
การประเมินสุขภาพทางกาย
• ผู้ป่วยไม่มีปัญหาความผิดปกติทางกาย ทั้งด้าน การรับประทานอาหาร การนอนหลับในการขับถ่าย การทำงานของประสาทสัมผัส
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติและการแปลผล
วันที่ 2 สิงหาคม 2567
WBC 8 10^3cell/mm.
ค่าปกติ 5-10 10^3 cell/mm.
แปลผลอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Hemoglobin 11 g/df
ค่าปกติ 12-18 g/df
แปลผล ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antipsychotics drugs
Hematocrit 35.2 %
ค่าปกติ 36-48%
แปลผล ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Antipsychotics drugs
การรักษาที่ได้รับ
Haloperidol 5 mg. IM
เมื่อมีอาการก้าวร้าว
กลุ่มยา
Antipsychotic drugs ออกฤทธ์ช่วยยับยั้งตัวรับ dopamine ชนิด D1 และ D2 ทำให้อาการสงบ ลดอาการก้าวร้าวได้
ผลข้างเคียง
: ท้องผูก ท้องเสีย เวียนศีรษะง่วงซึม ปากแห้ง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
Clozapine 100 mg.
รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
เป็นยากลุ่ม Antisychotic
ช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง
ผลข้างเคียง
: ปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นแข็ง น้ำลายเยอะ
การพยาบาล
: ให้คำแนะนำผูป่วยรับประทานยาต่อเนื่องตามแผนการรักษา ห้ามปรับเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง และมาเจาะเลือดตรวจ CBC ตามนัดทุก 6 เดือน เนื่องจากยามีผลทำให้ WBC ต่ำ
Trazodone 100 mg.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
กลุ่มยา
: Antidepressants ช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้เกิดความสมดุล ช่วยลดอาการซึมเศร้าและช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ผลข้างเคียง
: ง่วงซึม เวียนศีรษะ ปากแห้ง อ่อนล้า ตาพร่า ความดันโลหิตต่ำ
Diazepam 10 mg
. ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ
กลุ่มยา :
Benzodiazepine เป็นยาคลายกังวล ช่วยในการนอนหลับ
ผลข้างเคียง
: ง่วงซึม เหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง มึนงง กล้ามเนื้อกระตุก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
Omeprazole
20 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า เย็น
กลุ่มยา
: Proton pump inhibitors ออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด ทำให้ลดการเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ผลข้างเคียง
: ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ
การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy : ECT)
แพทย์ Set ECT 6 ครั้ง ด้วยกำลังไฟ 25 %
พยาธิสภาพของโรค
Dx. Catatonic schizophrenia
Catatonic schizophrenia
โรคจิตเภทชนิดนิ่งเกร็ง มีอการเด่นคือ การเคลื่อนไหวร่ากายผิดปกติ บางรายอาจอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หรือบางรายอาจมีอาการอาละวาดทำร้ายข้าวของร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการรับรู้ ( Disorder of perception ) ได้แก่อาการ หูแว่ว เห็นภาพหลอน ประสาทหลอนทางการรับรส ประสาทหลอนทางการสัมผัส ประสาทหลอน ประสาทหลอนทางการได้กลิ่น ซึ่งอาการจะประกอบไปด้วยอาการทางด้านบวกและด้านลบ
อาการทางด้านบวก ได้แก่ อาการหลงผิด ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอดความผิดปกติของคำพูด และพฤติกรรม
อาการทางด้านลบ ได้แก่ อารมณ์เฉยเมย พูดน้อยหรือไม่พูด ขาดความสนใจในกิจกรรมทุกชนิด
ด้านผู้ป่วย
จากการสนทนาถามถึงอาการในอดีต ผู้ป่วยเล่าว่า“ตอนช่วงที่เริ่มเป็นตอนนั้นติดเตียง นอนนิ่งอยู่บนที่นอนไม่รับประทานอาหาร ไม่ทำกิจวัตรประจำวัน ไม่พูดไม่จากับใคร“
ผู้ป่วยมาด้วยอาการ หูแว่ว ระแวงกลัว ไม่นอน 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล
แรกรับ ผู้ป่วยมีสีหน้าเรียบเฉย ไม่เป็นมิตร ถามไม่ตอบ มักนั่งอยู่ในท่าเดิม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยไฟ้าฟ้า ( Electroconvulsive therapy : ECT)
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า“ หลังจากการรักษาด้วยไฟฟ้ามักมีอาการเวียนศีรษะ ไม่ค่อยมีแรง“
O : แพทย์ Set ECT 6 ครั้ง กำลังไฟ 25% โดยครั้งที่ 6 ทำไปเมื่อวันที่ 7/08/67 ผู้ป่วยชักนาน 52 วินาที V/S ก่อนชัก PR 70 /min BP = 83/61 mmHg O2 sat = 100% V/S หลังทำทันที PR = 78/min BP = 107/75 mmHg. O2 sat 100% หลังการทำ ECT 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ BP= 73/54 mmHg.
วิเคราะหข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การรักษาด้วยไฟฟ้าหรือ ECT เป็นการรักษาทางจิตเวชอย่างหนึ่งซึ่งมีผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียนจากอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อจากการสั่นไหวของกล้ามเนื้อ ภาวะหลงลืมชั่วคราว เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
(วันที่ 7/08/67)
เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการทำ ECT เช่น เคลียอุปกรณ์ในช่องปากของผู้ป่วยให้เรียบร้อย หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดความดันโลหิตก่อนการทำ ECT เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการทำ ECT
ดูแลให้ผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารก่อนการทำ ECT เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักระหว่างการทำ ECT
ประเมินสัญญาณชีพและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้ป่วยก่อนการทำ ECT เพื่อประเมินและแก้ปัญหาโรคทางกายก่อนการรักษาโรคทางจิตเวช
อธิบายเหตุผลในการทำ ECT และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามเกี่ยวกับข้อสงสัย รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนการทำ ECT
ขณะการทำECT จัดท่าให้ผู้ป่วยในท่านอนหงาย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านทั่วเข้าร่างกายของผู้ป่วยและสะดวกต่อการให้การรักษา
ใส่แผ่นยางเข้าไประหว่างฟันบนและฟันล่างของผู้ป่วยเพื่อป้องกันผู้ป่วยกัดลิ้นตัวเอง และเพื่อป้องกันการกระทบกันของฟันบนและฟันล่างเป็นผลให้ฟันโยกครอน
ให้ผู้ช่วย 2 คน จับหัวไหล่ของผู้ป่วยเอาไว้ อีก 2 คนประคองบริเวณหัวเข่าของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการกระทบกระแทกของตัวผู้ป่วย
ประเมินอาการของผู้ป่วยขณะการทำ ECTและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อพบอาการผิดปกติ และเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลงจากการใช้ยาสลบ
หลังจากการทำ ECT จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหน้า เพื่อป้องกันการสำลักน้ำลาย และเพื่อป้องกันลิ้นอุดกั้นทางเดินหายใจ
ยกไม้กั้นเตียงขึ้นหลังการให้การพยาบาลทุกครั้งเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ประเมินสัญญาณชีพหลังการทำ ECT ทันทีเพื่อประเมินอาการผิดปกติ
ประเมิน Oretation เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัว เพื่อประเมินความผิดปกติหลังจากการทำ ECT
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการทำ ECT
การประเมินผล
(วันที่ 8/08/67)
ภายหลังจากการทำ ECT ครั้งที่ 6 ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ BP = 73/54 mmHg.
ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะและปวดแขน Pain score 3 คะแนน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาจิตเวช เนื่องจากได้รับยาหลายชนิด
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่าตนมีอาการง่วงนอนมากหลังรับประทานยาทำงานไม่ค่อยได้จึงไม่ค่อยอยากรับประทานยา
O : จากการสังเกตุผู้ป่วยมีสีหน้าอ่อนเพลีย
O : ผู้ป่วยได้รับยา Haloperidol 5 mg. IM , Clozapine 100 mg. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน , Trazodone 100 mg.รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน , Diazepam 10 mg. ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาจิตเวชหลายชนิดรวมกัน ส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ เช่น ง่วงซึม กล้ามเนื้อตึงตัวมาก มีไข้สูง เหงื่อออก สับสน หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
(วันที่ 6/08/67)
ประเมินอาการข้างเคียงหลังจากผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อประเมินอาการผิดปกติหลังจากผู้ป่วยรับประทานยา
อธิบายถึงอาการข้างเคียงของยาให้ผู้ป่วยได้รับทราบรวมถึงอาการผิดปกติที่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เช่น สับสน มึนงง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้ประเมินสัญาณชีพและดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง จากนั้นรายงานแพทย์เพื่อให้แพทย์ปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อลดอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึ่งประสงค์จากยาจิตเวช
เฝ้าระวังภาวะ Extrapyramidal side effects (EPS) โดยสังเกตอาการ กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย มีอาการของ Parkinsonism Tardive dyskinesia ให้รายงานแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาปรับขนาดยาให้เหมาะสม
สังเกตอาการข้างเคียงรุนแรงของยา ได้แก่ ภาวะ neuroleptic malignant syndrome (NMS) โดยให้สังเกตอาการ ไข้สูง กล้ามเนื้อเกร็ง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ซึม สับสน ก้าวร้าว หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยาทันที
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน แต่ไม่ควรเกิน 3 ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำหลังจากใช้ยาจิตเวช
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC ทุก 6 เดือน เนื่องจากยา Clozapine มีผลทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากอาการไม่พึงประสงค์ของยาจิตเวช ได้แก่ อาการสับสน มึนงง คลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดง ของภาวะ EPS ได้แก่ อาการ Parkinsonism Tardive dyskinesia อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ NMS ได้แก่ อาการไข้สูง กล้ามเนื้อเกร็ง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ประเมินผล
(วันที่ 7/08/67)
ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากอาการไม่พึงประสงค์ของยาจิตเวช ได้แก่ อาการสับสน มึนงง คลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดง ของภาวะ EPS ได้แก่ อาการ Parkinsonism Tardive dyskinesia อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ NMS ได้แก่ อาการไข้สูง กล้ามเนื้อเกร็ง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 มีโน้มกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรับประทานยา
ข้อมูลสนับสนุน
S : จากการสนทนาครั้งที่ 1 ผู้ป่วยบอกว่า“ไม่ค่อยอยากรับประทานยาเนื่องจากตนต้องทำงานหารายได้เสริม เมื่อรับประทานยาทำให้ตนง่วงอยู่ตลอดเวลาและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่”
S : จากการสนทนาครั้งที่ 2 ผู้ป่วยบอกว่า “บางทีผมก็ลืมกินยาครับ ลืมบ้าง อะไรบ้าง”
O : ผู้ป่วยมีประวัติกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำเป็นครั้งที่ 10
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
โดยจากการสนทนาผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการรับประทานยาจะไปช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองหากรับประทานยาอย่างต่อเนื่องทำให้สารเคมีในสมองมีความสมดุลลดการกำเริบของโรคขึ้นได้ แต่หากรับประทานยาอย่างไม่สม่ำเสมอและไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้อาการทางจิตกำเริบขึ้นจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำ
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
( วันที่ 7/08/67)
สร้างสัมพันธภาพแบบ One to one เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ประเมินความรู้ ความคิด ทัศนคติและพฤติกรรมการรับประทานยา เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องยา
ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องยา โดย บอกชื่อยา กลไกการออกออกฤทธิ์ของยาอย่างเข้าใจง่าย รวมถึงอาการข้างเคียงของยาที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องยา
สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องห้ามเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง และเน้นให้เห็นถึงความสำคัญและข้อดีของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีแรงเสริมด้านบวกในการรับประทานยา
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน ตามหลัก D-METHOD เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านและเพื่อป้องกันการกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำ ได้แก่
D : Diacnosis ให้ความรู้เรื่องโรค สาเหตุของโรค Catatonic schizophrenia ให้ความรู้เรื่อสารเสพติดที่มีผลต่อการกำเริบของโรคและมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาจิตเวช รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิเสธเมื่อมีเพื่อนมาชักชวนให้เสพสารเสพติด
M : Medicine แนะนำการรับประทานยากับผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยได้รับยากลับบ้านเป็น Clozapine 100 mg. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ยา Trazodone 100 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ยา Diazepam 10 mg. ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ และแนะนำให้ผู้ป่วยมารับยาตามนัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน รวมถึงการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเองและมาตรวจเลือดตามนัดทุก 6 เดือนเนื่องจากผู้ป่วยได้รับยา clozapine
E : Environment แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ออกห่างจากสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด และออกห่างจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการกลับไปใช้สารเสพติด
T : Treatment แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการเตือนของการกำเริบของโรค ได้แก่ อาการหงุดหงิดง่าย สับสน เริ่มมีอาการหูแว่ว ให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัดเพื่อป้องกันการกำเริบรุนแรงของโรค
H : Health ส่งเสริมให้ผู้ป่วยหากิจกรรมทำยามว่างหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด โดยแนะนำให้ผู้ป่วยหางานอดิเรกทำ หรือการออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ และการฝึกสมาธิ ได้แก่ การวาดรูป การเขียนระบายความรู้สึก
O : Out patient แนะนำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
D : Diet แนะนำให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ งดการเสพสารเสพติด และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง เนื่องจามีผลลดการออกฤทธิ์ของยาจิตเวช
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยปฏิบัติตนตามแผนการรักษาของแพทย์ รับประทานยาตรงตสมเวลาอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการดูแลตนเองในขณะที่อยู่บ้านได้
การประเมินผล
(วันที่ 7/08/67)
ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลผู้ป่วยปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ และให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างดี
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการดูแลตนเอง และการปฏิบัติตัวขณะกลับไปอยู่ที่บ้านได้
ผู้ป่วยให้คำสัญญาว่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำของนักศึกษาเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องการกลับบ้านเนื่องจากอยากอยู่กับครอบครัว
ข้อมูลสนับสนุน
S : จากการสนทนาครั้งที่ 2 ผู้ป่วยบอกว่า “ผมอยากกลับบ้านไปหาครอบครัวครับ ไม่อยากอยู่ที่นี่ ต้องรอหมอมาตรวจไม่รู้จะได้กลับไหม”
O : จากการสังเกตระหว่างการสนทนาผู้ป่วยมีสีหน้าเมื่อพูดถึงเรื่องบ้าน
วิเคราห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ความวิตกกังวลเป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกเครียด กระวลกระวายใจ ซึ่งผลของความวิตกกังวลส่งผลให้ระบบประสาทเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ส่งผลต่อจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
(วันที่ 8/08/67)
สร้างสัมพันธภาพแบบ One to one เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและยอมรับนักศึกษาพยาบาลว่าเป็นที่ปรึกษาให้เขาได้
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความในใจในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และเป็นส่วนตัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจคลายกังวล
แจ้งแผนการรักษาของแพทย์ให้ผู้ป่วยทราบเป็นระยะเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
แนะนำวิธีคลายเครียดหรือคลายความกังวลให้กับผู้ป่วย เช่น การเขียนระบายความรู้สึก การวาดรูป การนั่งสมาธิ การฟังเพลงหรือหางานอดิเรกทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยจากความคิดวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส คลายกังวล
การประเมินผล
(วันที่ 8/08/67)
ผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสคลายกังวล และบอกว่า“ผมรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะเลยครับมีคนคอยรับฟัง”
ทฤษฎีทางจิตเวชที่สอดคล้องกับผู้ป่วยรายนี้
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical model)
กำเนิดขึ้นปลายศตศตวรรษที่ 18
(ประมาณ ค.ศ. 1900) โดยอดอล์ฟ ไมเออร์ (Adolf Meyer: 1866-1950) ซึ่งได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตเวชว่ามีสาเหตุมาจากร่างกายและจิตใจ และอธิบายว่าบุคคลเป็นหน่วยรวมขององค์ประกอบด้านชีวภาพ และจิตใจ การเจ็บป่วยทางจิตเป็นผลมาจากการมีพยาธิสภาพทางด้านชีวภาพและความล้มเหลวของการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม (ภัสรา ศิรินทร์ภาณ, 2556) สาเหตุการเจ็บป่วย เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองโดยเฉพาะ limbic system และ synapse ในระบประสาทส่วนกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความ เจ็บป่วยประกอบด้วย สารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่มีมากหรือน้อยเกินไป การเปลี่ยนแปลงของจังหวะการทำงานของชีวภาพของร่างกาย เช่น วงรอบการหลับ-ตื่น (Sleep-wakecycle) และปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic factors)