Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 2 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลทางภาษา - Coggle Diagram
หัวข้อที่ 2
วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลทางภาษา
1. วิธีการวัดผล
หมายถึง วิธีที่ใช้วัดผล สำรวจ ตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำม่ประมวลความตัดสินความรู้ความสามารถของผู้ที่ถูกวัด
Bachman ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวการทดสอบเพื่อการประเมินผลความสามารถทางภาษาควรเป้นไปในแนวใดแนวหนึ่งใน 3 แนวนี้
1) วัดความสามารถทางภาษาโดยตรง
2) ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาจากภาษาที่ใช้อยู่ในชีวิตจริงๆ
3) แบบทดสอบทางภาษาควรจะมีลักษณะภาษาแบบที่ใช้จริง
2. เครื่องมือวัดผล
แบบทดสอบ
แบบทดสอบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อสอบประเภทนี้ ใช้ได้ผลดีภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ดังต่อไปนี้
1) ต้องเป็นข้อสอบที่ทดสอบโครงสร้างของเจ้าของภาษาหรือความคิด
2) ต้องเป็นข้อสอบที่ทดสอบมากกว่าความจำ
3) ต้องเป็นข้อสอบที่ตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูกไม่เด่นชัดเกินไป
4) สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ในเรื่องที่ถูกทดสอบนั้น ตัวลวงต้องมีเหตุผลพอสมควร
5) ข้อคำถามต้องชัดเจน
แบบทดสอบเลือกตอบจากคำตอบหลายตัวเลือก
จุดเด่นและจุดด้อยของแบบทดสอบ
1) มีคำตอบตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว
2) สิ่งที่ครูคิดว่าจะ ลวง นักเรียนได้โดยอาศัยความรู้สึกของครูเองอาจไม่ถูกต้อง
3) ถ้าบริบทไม่ชัดเจนนักเรียนอาจตอบผิดได้
4) บางข้อทดสอบความรู้เดิมมากกว่าความรู้ทางภาษา
5) ข้อสอบบางข้อไม่ได้ทดสอบสิ่งที่ตั้งใจจะทดสอบ
แบบทดสอบแบบจับคู่
เป็นข้อสอบที่มีรายการคำตอบที่เป็นไปได้ ที่นักเรียนต้องนำไปเข้าคู่กับคำ ข้อความ ประโยค ย่อหน้า รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือสื่ออื่นๆ
แบบทดสอบแบบถ่ายโอนข้อมูล
ใช้วัดความเข้าใจในการฟังและการอ่านเป็นหลัก ปกติแล้วผู้สอบอ่าน หรือฟังข้อความ แล้วถ่ายทอดในสิ่งที่ฟังหรืออ่านลงในตาราง แผนที่ เป็นต้น
แบบทดสอบแบบเรียงลำดับ
ผู้สอบจะต้องนำคำ วลี ประโยค ย่อหน้า หรือรูปภาพ มาเรียงให้ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นข้อสอบที่ทดสอบความเข้าใจไวยากรณ์การอ่านหรือัง
แบบทดสอบแบบให้แก้ไขข้อผิด
ข้อสอบให้ตรวจแก้ไขข้อที่ผิดให้ถูกที่ช่องว่างที่เว้นไว้ให้ หรือแก้ไขลงไปในตัวข้อสอบเลย
แบบทดสอบแบบเติมช่องว่าง
ความยากของข้อสอบนี้คือต้องพยายามคิดว่าจะเติมคำหรือวลีใดลงไปจึงจะถูกต้องโดยหวังว่าจะเติมได้เพียงช่องละ 1 คำตอบเท่านั้น
แบบทดสอบแบบโคลซ
เป็นการทดสอบชนิดที่รวมองค์ประกอบและทักษะหรือเป็นการทดสอบโดยรวม จะเป็นลักษณะการเว้นหรือละคำกระทำอย่างมีระบบ เช่น เว้นทุกๆ คำที่ 5, 7, 9 หรือ 11 เป็นต้น
ข้อแนะนำในการสร้างแบบทดสอบโคลซ
1) การเลือกข้อความ คือ เลือกข้อความที่จะนำมาออกข้อสอบด้วยการสุ่มจากหนังสือที่ผู้เข้าสอบใช้ และมีความยากง่ายเหมาะสมกับผู้สอบ เป็นต้น
2) การเว้นคำ ในกรณีที่ไม่ต้องการวัดความรู้เฉพาะเรื่อง เช่น การวัดความรู้ทางไวยากรณ์ การเว้นคำอย่างมีระบบจะเหมาะสมที่สุด
3) เวลาในการทำข้อสอบ ปกติข้อสอบที่เว้น 50 คำ จะใช้เวลประมาณ 50 นาที
4) การให้คะแนน อาจะให้เฉพาะคำตอบที่ถูกเมื่อมีผู้สอบจำนวนมาก และใช้ความสามารถทางภาษา
แบบทดสอบ C - Test
เป็นแบบทดสอบความสามารถทางภาษาที่ข้อความหนึ่งย่อหน้า หรือข้อความสั้นๆ มาให้นักเรียนอ่าน โดยประโยคที่ 2 มักไม่ตัดคำออก หลังจากนั้นจะค่อยถูกตัดออกไป
การเขียนตามคำบอก
1) การเขียนตามคำบอกแบบมาตรฐาน เป็นการเขียตามเสียงอ่านจากเทปบันทึกเสียง หรือจากผู้คุมสอบ
2) การเขียนตามคำบอกแบบโคลซ เป็นการเขียนโดยให้ผู้สอบฟังเรื่องเต็มๆ จากเทปบันทึกเสียงหรือผู้อ่านครั้งหนึ่งก่อน แล้วต้องเติมในช่องว่างในข้อความที่นำมาอ่านให้สมบูรณ์เหมือนกับที่ฟัง
3) การเขียนตามคำบอกที่มีเสียงรบกวน คือ การบันทึกเสียงลงไปเทปบันทึกเสียงด้วยความเร็วปกติ แล้วบันทึกเสียงรบกวนลงไปด้วย ทำให้ผู้ทดสอบไม่ได้ยินทุกคำ
4) การเขียนตามคำบอกแบบเล่าเรื่อง เป็นการทดสอบความสามารถในการเขียนจากความจำหลังจากผู้ถูกทดสอบฟังเรื่องจากผู้พูดที่บันทึกไว้ในเทปบันทึกเสียงที่พูดด้วยความเร็วปกติ
การตอบคำถามสั้นๆ
หมายถึงการตอบคำถามที่ตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้สอบคิกคำตอบเอง
การเขียนเรียงความและการแต่งเรื่อง
แบบทดสอบแบบให้เขียนย่อความ
ปัญหาสำคัญมีอยู่ 2 อย่าง คือ
1) การที่ผู้ถูกทดสอบเขียนย่อความนั้นได้ไม่ดีนั้นเป็นเพราะผู้ถูกทดสอบไม่เข้าใจในเรื่องที่อ่าน หรือมีทักษะการเขียนไม่ดีพอ
2) ยากแก่การตรวจให้คะแนน
ก่อนใช้เครื่องมือ ต้องมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
1) จุดมุ่งหมายของการประเมิน คือ การวัดผลสัมฤทธิผลในการเรียน ประเด็นที่สนใจจะวัด คือ ความสามารถในการสื่อสาร หรือกฎเกณฑ์ทางภาษา หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน
2) โครงสร้างของภาษาที่จะทดสอบ ได้รับการคัดสรรและจัดลำดับหรือเปล่า เช่น เรียงลำดับความยาก - ง่าย เลือกมาตามที่ปรากฏหรือมีใช้บ่อยครั้ง เป็นต้น
3) บทเรียนสร้างขึ้นจากสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ หรือไม่
4) ในประมวลการสอนมีเรื่องที่นักเรียนต้องใช้ความรู้ในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ หรือไม่
5) ไม่ว่าประมวลการสอนหรือลักษณะภาษาที่เลือกมาจะเป็นอย่างไร ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้รับการประเมินอย่างไร
การสัมภาษณ์
แบบสอบถามและการตรวจสอบรายการ
การสังเกต