Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 4 การทดสอบและประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ - Coggle…
หัวข้อที่ 4
การทดสอบและประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
4. การทดสอบการประเมินผลการเขียน
1.) ความมุ่งหมายของการเขียน
ในการเขียนนั้นผู้เขียนจำเป็นต้องมีความสามารถหลายอย่างประกอบกัน คือ
1) มีความรู้ดีในเรื่องที่เขียน
2) มีจุดประสงค์แจ่มแจ้งว่าจะส่งสารเพื่อเหตุใด และใคร่ให้ผู้รับสารรับได้ว่าสารของตนคืออะไร
3) มีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของภาษา ได้แก่ แบบแผนของภาษาเขียน เช่น การสะกดคพ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การย่อหน้า เป็นต้น
4) มีความสามารถในการสื่อความหมายด้วยการเขียน หมายความว่า สามารถเขียนโดยใช้ถ้อยคำ สำนวน รูปแบบของการเขียน ลีลาภาษา ได้ตรงตามจุดประสงค์ของการเขียน
5) มีความสามารถเขียนได้รวดเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่เขียน
2.) ระดับขั้นของการเขียน
1) ขั้นทักษะที่เป็นกลไก
นักเรียนแสดงความสามารถในการเขียนโดยการลอกข้อความ การสะกดคำจากความจำ และเขียนประโยคเทียบแทน
2) ขั้นความรู้
นักเรียนสามารถเขียนประโยคได้ถูกต้อง ใช้เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้อง
3) ขั้นถ่ายโอน
นักเรียนสามารถถ่ายโอนความรู้ที่เรียนไปแล้วใช้ได้ในสถานกาณ์ใหม่
4) ขั้นสื่อสาร
นักเรียนสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้
5) ขั้นวิพากษ์วิจารณ์
นักเรียนสามารถใช้สำนวนโวหารให้เหมาะสมกับเรื่องจุดประสงค์ ระดับ และประเภทของผู้อ่าน สามารถเขียนได้โดยใช้รูปแบบการเขียนหรือลีลาภาษาแบบต่างๆ
3.) สาระสำคัญที่วัดและประเมินผล
1) องค์ประกอบของภาษา
ได้แก่ กลไกและแบบแผนของการเขียน ได้แก่ คำศัพท์และโครงสร้างไวยากาณ์ของภาษา
2. การสื่อความหมายด้วยการเขียน
ซึ่งใช้ในชีวิตจริงที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการของนักเรียน คือ นักเรียนมีเนื้อหาที่จะเขียน และมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะเขียนให้ใครอ่าน เช่น เขียนเล่าประสบการณ์ของตนเองให้เพื่อนอ่าน เป็นต้น
4.) วิธีการวัดและประเมินผล
การวัดเฉพาะทักษะการเขียน เช่น เขียนบรรยายภาพ หรือวัดทักษะการเขียนร่วมกันกับทักษะอื่นๆ เช่น ฟัง-เขียน,อ่าน-เขียน,พูด-เขียน,เขียน-อ่าน
วัดความสามารถจดย่อยหรือวัดความสามารถโดยรวม
ทดสอบโดยใชเครื่องหมายวรรคตอน
ทดสอบความสามารถทางไวยากรณ์เรื่อใดเรื่องหนึ่ง
ทดสอบการเรียงลำดับคำในประโยค
ทดสอบการสะกดคำ
วัดทักษะการเขียนโดยตรง หรือวัดทางอ้อม
การวัดที่มีความตรงสำหรับทักษะนี้คือ การให้นักเรียนลงมือเขียนจริง
สิ่งที่ควรประเมิน
เนื้อหา
โครงสร้างความสัมพันธ์ของข้อความ
การเรียบเรียงเนื้อหา
ระดับภาษา
เเนวการเขียนหรือลีลาภาษา
ความประหยัด
ความถูกต้องของความหมาย
ความเมหาะสมของเเบบเเผนของภาษา
ความเข้าใจของผู้อ่าน
การยอมรับของผู้อ่าน
5.) การตรวจให้คะแนน
วิธีการตรวจให้คะเเนน 2 วิธี
วิธีที่อาศัยความรู้สึก
การตรวจโดยอาศัยความรู้สึกตัดสินข้อเขียนว่าดีหรือไม่ดีอย่างไรนั้น ไม่เสียเวลามาก ถ้ามีจำนวนผู้ตรวจหลายคน เเต่ละคนก็จะคนก็จะอ่านข้อความเเละตดสินโดยอาศัยความรู้สึกของตน เเล้วนำคะเเนนที่ได้จากผู้ตรวจทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย ก็จะเป็นคะเเนนของข้อเขียนนั้นๆ
การตรวจโดยวิธีวิเคราะห์รายละเอียดความสามารถ
ข้อดี ไม่ค่อยพลาดในเรื่องเเต่ละเรื่องที่ต้องการประเมิน
ข้อเสีย ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า เกณฑ์ที่ให้ไว้นั้น ผู้ตรวจจะใช้ในการให้คะเเนนจริงๆ
การให้คะเเนนเเบบพิจารณาเฉพาะลักษณะสำคัญด้านเดียว
ข้อดี ทำให้สนใจรายละเอียดที่ต้องการให้พิจารณาให้คะเเนนทีละประเด็นในเเต่ละครั้ง ช่วยสนับสนุนความเห็นของครูที่ว่า การพิจารณาทีละเรื่อง ทำได้ง่ายกว่าการต้องดูทุกเรื่องพร้อมๆกัน
ข้อเสีย ผู้สอบอาจไม่ตั้งใจเขียนถึงประเด็นอื่นถึงประเด็นอื่นๆ นอกเหนือเหนือไปจากลักษณะหรือหัวข้อที่ถูกกำหนดว่าเป็นนสิิ่งที่ต้องการประเมิน
การให้คะเเนนเเบบพิจารณาลักษณะสำคัญหลายๆด้านร่วมกัน
ข้อดี ลักษณะความสามารถที่ทำการวัดไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ทดสอบการเขียนเท่านั้น เเต่เป็นลักษณะที่เเต่ละสถาบันที่จัดสอบต้องการประเมินเฉพาะเรื่องได้
ข้อเสีย อาจจะเป็นการยากที่จะหาข้อมูล หลักฐานมายืนยันว่าลักษณะใดเป็นลักษณะความสามารถที่สมควรจะทำการตรวจสอบให้คะเเนน หรือประเมินตามบริบทที่กำหนดให้
6.) การวัดและประเมินผลทักษะการเขียน ตามระดับพฤติกรรมทางภาษา
6.1) ขั้นทักษะที่เป็นกลไก
1) การเขียนเลียนแบบ
2) เขียนจากความจำ
6.2) ขั้นความรู้
1) เขียนคำที่เคยเรียนมาก่อนแล้ว
2) ใช้รูปของคำที่ถูกต้องในประโยค
3) รู้ความแตกต่างระหว่างประโยคที่ถูกและผิดไวยกรณ์
4) เขียนประโยคที่ตรงกับสภาพการณ์ที่เรียนมาก่อนแล้ว
5) เขียนตามคำบอกสิ่งที่เรียนมาแล้ว
6.3) ขั้นถ่ายโอน
1) เลือกคำเติมลงในประโยคที่เรียบเรียงขึ้นใหม่จากคำศัพท์ และไวยกรณ์ที่เรียนมาแล้ว
2) เขียนประโยคตามคำสั่งโดยใช้ไวยกรณ์ที่กำหนดให้ แต่ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่เรียนมาแล้ว
3) แก้ประโยคที่ผิดไวยกรณ์ให้ถูกต้อง
4) เขียนเรียงความตามแนวโดยใช้ศัพท์ และไวยกรณ์ที่กำหนด
6.4) ขั้นสื่อสาร
เขียนสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับชีวิตและประสบการณ์
6.5) ขั้นวิพากษ์วิจารณ์
แสดงความสามารถในการเขียนแสดงความคิด โดยใช้ลีลาการเขียนและภาษาที่เหมาะสม
7.) ข้อควรคำนึงในการออกข้อสอบ เพื่อทดสอบการเขียน
7.1) กำหนดงานเขียนให้เหมาะสม โดยการกำหนดลักษณะเฉพาะของข้อสอบขึ้นมา โดยมีองค์ประกอบ คือ
จุดมุ่งหมายของการทดสอบ
ลักษณะการเขียนที่ต้องการทดสอบ
ประเภทของการเขียน
ผู้เข้ารับการทดสอบ
หัวข้อเรื่อง / เนื้อหา
7.2) ให้เขียนหลายๆ ครั้ง / ทำงานหลายๆ ชิ้น เพื่อให้สะท้อนความสามารถทางการเขียนของผู้ถูกทดสอบอย่างเหมาะสม และถูกต้อง
7.3) ทดสอบเฉพาะความสามารถในการเขียนไม่ใช่ทดสอบความสามารถด้านอื่นๆ ด้วย
7.4) ไม่ควรเขียนคำสั่ง หรือคำอธิบายกิจกรรมการเขียนที่ต้องการให้ทำอย่างเดียว
7.5) ในบางเรื่องการใช้รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ตาราง แทนคำพูดอธิบาย หรือประกอบการอธิบายคำสั่ง จะช่วยให้เข้าใจดีขึ้นว่าต้องการให้เขียนอย่างไร
7.6) พยายามคิดกิจกรรมการเขียนที่ให้คะแนนได้อย่างยุติธรรม
7.7) จำกัดการเขียนให้กับผู้สอบน เพื่อให้สามารถนำผลงานมาเปรียบเทียบกันเพื่อตัดสินคะแนน
7.8) อย่าให้เลือกหัวข้อได้หลายหัวข้อ ในการสอบคราเดียวกัน เพราะการเขียนคนละเรื่องทำให้มีการเปรียบเทียบความสามารถของผู้สอบได้ยาก
7.9) ในการเขียนให้มีความยาว หรือปริมาณพอที่จะประเมินความสามรถในการใช้ภาษาเขียนในลักษณะต่างๆ ได้ครบถ้วน
1. การทดสอบการฟัง
1.1) การทดสอบฟังเสียงเพียงอย่างเดียว
ซึ่งได้แก่ การฟังเสียงสระ พยัญชนะ เสียงเน้นหนักเบาในคำ การฟัง
เสียงสูงต่ำในประโยค
1.2) การทดสอบความเข้าใจในการฟัง
เป็นการทดสอบความเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
Weir ได้เสนอให้ทดสอบในเรื่องต่อไปนี้
ก. ความเข้าใจข้อความหรือสิ่งที่ได้ฟังโดยตรง
ข. ความเข้าใจความหมายแฝง หรือความหมายโดยนัยของสิ่งที่ได้ฟัง
ค. ความเข้าใจสิ่งปลีกย่อยทางภาษาที่ช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจ
ง. การฟังแล้วจดบันทึกหรือเขียน
1.2.1) กรอบเงื่อนไขการตอบสนองต่อข้อสอบความเข้าใจในการฟัง
จำนวนผู้พูด: พูดคนเดียว เช่น การบรรยายทางวิชาการ, พูดสนทนา 2 คน พูดสนทนาหลายคน พูดในการสัมนา
ตัวแปรต่างๆ เกี่ยวกับตัวผู้พูด: สำเนียง การออกเสียง ความเร็ว-ช้า ในการพูด เพศ เจตคติ เป็นต้น
ลักษณะข้อความที่ให้ฟัง: นิยาย/นิทาน/ เรื่องเล่า เพลง บทละคร การบรรยายทางวิชาการ เป็นต้น
ลักษณะการเรียบเรียงเนื้อหา: ทางไวยกรณ์ การเชื่อมโยงข้อความ การเรียบเรียงข้อความการใช้กฎเกณฑ์
การนำเสนอข้อความ: วงศ์ศัพท์ จำพวกศัพท์พื้นฐาน ศัพท์เฉพาะทางวิชาการ ศัพท์กึ่งวิชาการ สถานภาพของผู้พูดที่เกี่ยวข้อกับผู้ฟัง เป็นต้น
วิธีการพูด/การใช้สำนวนโวหาร: จุดมุ่งหมายและความตั้งใจของผู้พูด
การจัดองค์ประกอบ: ระดับความเป็นแผน พิธีการของภาษา
ช่องทางการนำเสนอ: ใช้/ไม่ใช้ อุปกรณ์ช่วย
ปริมาณของสิ่งที่นำมาให้ฟัง: ความยาวของข้อความที่ให้ฟัง
องค์ประกอบด้านวิธีทดสอบ/ช่องทางการตอบ: ความคุ้นเคยของประเภทของงาน/กิจกรรมและลักษณะของสภาวะแวดล้อมอื่นๆ เป็นต้น
1.2.2) วิธีการและเทคนิคในการทดสอบการฟัง
การทดสอบความสามารถในการแยกเสียงที่ได้ยิน
เช่น วลีที่ได้ยินมีการขึ้นลงของเสียงเหมือนหรือต่างกัน, วลีที่ได้ยินมีความหมายอย่างไร, บอกความหมายของวลีที่ได้ยินจากการขึ้งลงของน้ำเสียง และบอกความต่างทางโครงสร้างไวยกรณ์ของภาษา
การทดสอบความเข้าใจข้อความที่ได้ยิน
เช่น ให้นักเรียนแสดงท่าทางเมื่อได้ยินคำศัพท์ เช่น Hands up, Walk to the door.
การทดสอบการรับรู้สิ่งที่ได้ยิน
เช่น ฟังแล้วตอบคำถามที่ได้ยินนั้นเหมาะสมหรือไม่, ฟังข้อความแล้วเลือกข้อความอีกข้อความหนึ่งที่มีความหมายตรงกัน เป็นต้น
การทดสอบความสามารถในการฟังในลักษณะการสื่อสาร
ได้แก่ การทดสอบด้วยให้ฟังการบรรยายทางวิชาการ, การฟังแล้วแสดงความเข้าใจด้วยการถ่ายโอนข้อมูล, การให้เขียนตามคำบอก, การทดสอบด้วยการให้นึกย้อนกลับ, การทดสอบด้วยการให้ทำบันทึก, การทดสอบด้วยการให้สัมภาษณ์ผู้อื่นเพื่อหาข้อมูลในบางเรื่อง และการทดสอบด้วยการให้รายงานข้อมูลด้วยวาจาจากความเข้าใจในการฟัง
1.2.3) การวัดและการประเมินผลทักษะการฟังตามลำดับขั้นพฤติกรรมทางภาษา
1) ขั้นทักษะที่เป็นกลไล คือ การรับรู้ความแตกต่าง เช่น บอกความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บอกได้ว่าคำใด้ป็นภาษาใด เป็นต้น
2) ขั้นความรู้ คือ แสดงความเข้าใจคำศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียน
3) ขั้นถ่ายโยง คือ แสดงความเข้าใจคำหรือส่วนของคำที่มีความหมายทางไวยากรณ์ในประโยคที่เรียงใหม่ หรือดัดแปลง, เข้าใจความหมายของประโยคที่ใช้ศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียนมาแล้วแต่นำมาเรียงใหม่ และเข้าใจข้อความสั้นๆ ที่เขียนขึ้นใหม่โดยใช้ศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียนมาแล้ว
4) ขั้นสื่อสาร คือ แสดงว่าเข้าใจความหมายของข้อความที่ใช้ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยและเข้าใจการสนทนาที่พูดในอัตราความเร็สปกติของเจ้าของภาษาได้
5) ขั้นการวิพากษ์วิจารณ์ คือ เข้าใจความหมายแฝง, แสดงความรู้เกี่ยวกับระดับและชนิดของภาษา และเมินผลเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟัง
1.2.4) การฟังที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถในการรับสารได้ตรงตามที่ผู้ส่งสาร หรือผู้พูดต้องการที่จะสื่อความหมาย ซึ่งมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น เรื่องของการจับใจความสำคัญ เข้าใจรายละเอียด ตีความ การวิเคราะห์ เป็นต้น
1.2.5) เกณ์ในการประเมินความสามารถในการฟัง ตัวอย่างเกณฑ์ในการฟัง คือ ไม้บรรทัดหรือไม้วัด (Yardsticks) ของ English Speaking Union ที่แบ่งเป็น 9 ระดับ ได้แก่
ระดับ 9 ฟังเรื่องทั่วไปและเรื่องเฉพาะได้ด้วยความมั่นใจและมีความเหมือนภาษาแม่ และสามารถเข้าใจข้อความได้โดยไม่ต้องฟังซ้ำหรือแก้ไข เป็นต้น
ระดับ 8 ฟังเรื่องทั่วไปด้วยความมั่นใจและมีความสามารถได้เกือบเท่าภาษาแม่ สามารถเข้าใจข้อความได้ แต่อาจจะขาดรายละเอียดไปบ้าง เป็นต้น
ระดับ 7 ฟังด้วยความั่นใจและมีความมั่นใจและมีความสามารถได้ดีในวงกว้าง เข้าใจข้อความส่วนใหญ่ได้โดยมีรายละเอียดตกหล่น และเข้าใจเรื่องซับซ้อนเพียงเล็กน้อยได้ และอาจจะต้องฟังซ้ำ หรือเรียบเรียงใหม่ เป็นต้น
ระดับ 6 ฟังภาษาในระดับปานกลางได้ด้วยความมั่นใจและมีความสามารถ แต่มีปัญหาบ้างในการฟังภาษาที่ระดับสูงขึ้นไป เข้าใจข้อความเป็นส่วนมาก แต่เก็บรายละเอียดไม่ได้ เป็นต้น
ระดับ 5 ฟังภาษาในระดับปานกลางได้ด้วยความมั่นใจและมีความสามารถ เข้าใจจุดสำคัญ แต่บ่อยครั้งที่เก็บรายละเอียดไม่ได้ ต้องให้พูดซ้ำ เป็นต้น
ระดับ 4 ฟังภาษาระดับง่ายได้ด้วยความั่นใจและมีความสามารถ แต่มีปัญหาบ้างในการฟังภาษาระดับปานกลาง ไม่เข้าใจจุดสำคัญและเก็บรายละเอียดไม่ได้ เป็นต้น
ระดับที่ 3 ฟังภาษาระดับง่ายได้ด้วยความมั่นใจและมีความสามารถอย่างเพียงพอ แต่มีปัญหาในการฟังภาษาระดับปานกลางมาก เข้าใจความสำคัญแต่เก็บรายละเอียดได้เล็กน้อย เป็นต้น
ระดับที่ 2 ฟังภาษาระดับง่ายด้วยความไม่ค่อยมั่นใจและไม่ค่อยมีความสามารถ เข้าใจจุดเรื่องบางเรื่องที่กำลังอภิปรายอยู่ด้วยการใช้สิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่ความรู้ความสามารถทางภาษาช่วย ต้องมีการพูดซ้ำ เรียงคำพูดใหม่ เป็นต้น
ระดับที่ 1 ฟังได้เฉพาะภาษาที่ง่ายที่สุดด้วยความมั่นใจน้อยที่สุด เช่น ฟังสนทนาสั้นๆ เช่น การทักทาย บอกเวลา เข้าใจเฉพาะเบื้องต้น หรือที่เดาล่วงหน้าได้ ฟังข้อความได้ในระดับวลี ต้องให้พูดซ้ำ ไม่มีความรู้เรื่องการเรียบเรียงหรือลีลาภาษาเลย เป็นต้น
3.ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน
3.1) ความสามารถในการอ่านคืออะไร
ผูู้ถูกประเมินความสามารถจำเป็นจะต้องอ่าน เเล้วจึงวิเคราะห์สถานการณ์เหล่านั้นเพื่อสร้างเครื่องมือวัดให้รู้ว่า ผู้ที่เราทำการทดสอบนั้นอ่านได้ดีเพียงใด
3.2) ธรรมชาติของการอ่าน
กระบวนการอ่าน หมายถึง ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านเเละสิ่งที่อ่าน
การศีกษากระบวนการอ่านควรศึกษาจากผลที่เกิดจากการอ่าน เพราะถึงเเม้ว่าผู้อ่านจะใช้กระบวนการอ่านทีต่างกัน ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านควรเหมือนกัน
3.3) สิ่งที่ทำการทดสอบในเรื่องของการอ่าน
ศึกษาผลของตัวเเปรทางด้านภาษาศาสตร์ที่มีต่อการอ่าน ได้เเก่ รูปคำ ความหมายของคำ การผูกประโยค การเรียบเรียงประโยคเป็นข้อความ
ปัญหาในการศึกษาผลที่ได้จากการอ่าน คือ ความไม่คงที่ของผลที่ได้จากการอ่านเเละวิธีการที่ใช้ในการวัดผล
3.4) อ่านได้หมายความว่าอย่างไร
Grabe ได้เสนอองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการทำความเข้าใจกับสิ่งที่อ่าน 6 ประการ
ความสามรถในการรับรู้อย่างอัตโนมัติ
ความรู้เรื่องคำศัพท์เเละไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษา
ความรู้ในเรื่องการใช้ถ้อยคำสำนวนตามเเบบเเผน
ความรู้ในเนื้อเรื่องที่อ่านหรือความรู้รอบตัว
ความรู้ในการใช้กลวิธีหรือความสามารถในการสังเคราะห์เเละประเมิน
ความสามารถทางสติปัญญาเเละการควบคุมจัดการ
Davis เเบ่งทักษะความสามารถในการอ่านออกเป็น 8 ระดับ
รวบรวมความคิดที่อยู่กระจัดกระจายในข้อความที่อ่านมาประติดประต่อกันได้
สรุปความคิดจากข้อความที่อ่านที่บอกด้วยความหมายโดยนัยได้
ตอบคำถามที่สามารถจะหาคำตอบได้จากข้อความที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด หรือในรูปของการใช้คำใหม่แต่ความหมายเหมือนเดิม
บอกจุดประสงค์ ทัศนคติ น้ำเสียง และอารมณ์ของผู้เขียนได้
ประมวลจากบริบทแวดล้อมเพื่อหาความหมายของคำศัพท์จากบริบทได้
บอกเทคนิคการเขียนที่ผู้เขียนนำมาใช้ได้
จำความหมายของคำศัพท์ได้
ติดตามเรื่องราวตามเค้าโครงเรื่องที่วางไว้ได้
3.5) ระดับของความเข้าใจในการอ่าน
ในสมัยก่อน Gray ได้จำเเนกการอ่านออกเป็น 2-3 ระดับ คือ การอ่านทีละบรรทัด การอ่านข้ามบรรทัด เเละการอ่านนอกเหนือไปจากที่เห็นในบรรทัด
ตามการจำเเนกของ Bloom เเละคณะ 6 ระดับ คือ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล
ตามการจำเเนกของ Valette ระดับทักษะที่เป็นกลไก ระดับความรู้ ระดับถ่ายโอน ระดับสื่อสาร ระดับวิพากษ์วิจารณ์
3.6 สาระสำคัญที่ต้องวัดเเละประเมิน
ความสามารถด้านภาษา ประกอบด้วย เสียง ตัวอักษร คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์
ความสามารถในการสื่อความหมาย ได้เเก่ ความเหมาะสมทางสังคม บริบททางภาษา วัฒนธรรม ความถูกต้องของการสื่อความหมายด้วยภาษา
3.7) วิธีทดสอบเเละประเมินผลการอ่าน
ครูสามารถเลือกใช้ได้ตามจุดประสงค์เเละความเหมาะสม
3.8) วิธีตอบเเบบทดสอบการอ่านประเภทต่างๆ
ตอบเเบบทดสอบปรนัยประเภทต่างๆ
ตอบเเบบทดสอบอัตนัยประเภทต่างๆ
ตอบเเบบทดสอบเเบบโคลซ
ตอบด้วยการตีความตัวเลข กราฟ เเผนที่ เเผนภูมิ
2. การทดสอบและประเมินผลทักษะการพูด
สาระสำคัญของทักษะการพูดที่ควรวัดและประเมินผล คือ การฟัง แต่ขอบข่ายจะแคบกว่า จำเป็นต้องมีความสามารถในการฟังหลายประเภท รับรู้ทำความเข้าใจได้หลายรูปแบบ แต่มีความสามารถในการพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ใช้ได้แล้ว
สาระสำคัญของการพูดที่ควรประเมินผล
องค์ประกอบของภาษา ได้แก่ การออกเสียงตัวอักษร การออกเสียงคำ การลงเสียงหนักเบา
การสื่อความหมายด้วยการพูดในชีวิตจริงให้ได้ตรงตามความต้องการ เหมาะสมกาลเทศะ และบุคคล
ทักษะการพูดเป็นทักษะการส่งสาร ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ แต่ทำการวัดและประเมินผลได้น้อยกว่าทักษะการรับสาร ทั้งในด้านการเรียนการสอน การฝึก หรือการวัดประเมินผลจึงไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควร
2.1) ข้อควรคำนึงถึงในการวัดและประเมินผล
1.) วัดทักษะการพูดทักษะเดียวกัน หรือวัดร่วมกับทักษะอื่น หมายถึง สนทนาโต้ตอบโดยฟังผู้อื่นก่อนแล้วพูดตอบ หรืออ่านเรื่องแล้วนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง หรือ อ่านแล้วเขียนข้อความแล้วนำไปสรุปโดยพูดให้ผู้อื่นฟัง โดยจะประเมินการพูดเป็นหลัก
2.) วัดทักษะการพูดโดยตรง หรือวัดโดยอ้อม การวัดโดยตรง คือ การให้นักเรียนพูดในสภาพที่เป็นจริง ซึ่งเป็นการวัดที่มีความตรงที่สุด แม้ว่า การวัดทักษะการพูดทางอ้อมจะไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าใช้แล้วจะคะแนนดี แต่การวัดนี้ก็จะช่วยให้มีการวัดและประเมินผลการพูดเพิ่มมากขึ้น
3.) วัดเป็นจุดย่อย หรือวัดเป็นทักษะรวม โดยการวัดจุดย่อยเหมาะสำหรับการวัดความรู้ทางองค์ประกอบของภาษา ส่วนการวัดทักษะรวม ใช้วัดความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อพูดสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ
2.2) การวัดและประเมินผลทักษะการพูดตามระดับขั้นพฤติกรรมทางภาษา :
1.) ขั้นทักษะที่เป็นกลไก
(1.1) การพูดเลียนแบบเสียง ระดับเสียง เน้นหนักเบา จังหวะ การหยุด และการออกเสียงเชื่อมคำ
(1.2) การท่องจำคำ ประโยค หรือข้อความ
(1.3) การออกเสียงข้อความในหนังสือ การอ่านข่าว
2.) ขั้นความรู้
(2.1) พูดเกี่ยวกับเรื่องที่เคยเรียนมาก่อนแล้ว
(2.2) โดยใช้คำศัพท์และไวยกรณ์ที่เคยเรียน
3.) ขั้นถ่ายโยง
(3.1) การใช้ประโยคเทียบแทนตามที่ครูสั่ง หรือตามที่กำหนดไว้
(3.2) การรวมประโยคโดยใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม และสามารถเปลี่ยนคำอื่นๆ ในประโยคตามสถานการณ์ได้
(3.3) การอ่านออกเสียงข้อความที่ไม่เคยพบมาก่อน
4.) ขั้นสื่อสาร โดยสามารถพูดเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในโอกาสและสถานการ์ต่างๆ
5.) ขั้นวิพากษ์วิจารณ์
(5.1) การพูดโดยมีลีลาการพูด ใช้น้ำเสียง คำ และสำนวนี่เหมาะสมกับเรื่อง และสถานการณ์
(5.2) การพูดแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้เจอมา
2.3) การวัดความสามารถตามองค์ประกอบของภาษา โดยสามารถเขียนเป็นประโยคได้
1.) จงออกเสียงคำต่อไปนี้ โดยออกเสียงพยัญชนะที่ขีดเส้นใต้ให้ถูกต้อง
2.) จงอ่านประโยคต่อไปนี้ให้มีเสียงต่ำ เสียงสูงให้ถูกต้องง
2.4) การวัดความสามารถการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการพูด
เป็นการวัดความสามารถแบบรวมทักษะ โดยการวัดความสามารถในการสื่อสาร หรือสื่อความหมายด้วยการพูด ต้องอาศัยความรู้ทางภาษา และความสามารถอื่นๆ
2.5) ตัวอย่างการทดสอบความสามารถในการพูด
1.) การทดสอบโดยอ้อม
(1.1) การพูดประโยคซ้ำตามครูหรือต้นแบบ - เป็นการทดสอบทักษะย่อย
(1.2) การพูดตามสถานการณ์สั้นๆ ที่ได้ฟังจากแถบบันทึกเสียง
2.) การทดสอบกึ่งตรง
(2.1) การถ่ายโอนข้อมูล : การบรรยายภาพชุด / การเล่าเหตุการณ์
วิธีการนี้เป็นการใช้รูปภาพแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับให้นักเรียนดูแล้วเล่าเรื่องตามภาพ โดยใช้คำกริยาที่เป็นอดีต
3.) การทดสอบโดยตรง
(3.1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพื่อทำกิจกรรมหรืองานให้สำเร็จ
(3.2) การแสดงบทบาทสมมติ
(3.3) การให้ตอบอย่างอิสระ
(3.4) การให้อธิบายตารางแสดงรายละเอียดของเนื้อหาหลักสูตรรายวิชา