Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กคลอดก่อนกำหนด Preterm Labor - Coggle Diagram
เด็กคลอดก่อนกำหนด Preterm Labor
ความหมาย
การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) เป็นภาวะการคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ซึ่งทารกเหล่านี้ถึงแม้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ครบสมบูรณ์ แต่การทำงานของอวัยวะแทบทุกส่วนยังไม่ดีเท่าทารกครบกำหนด ซึ่งช่วงหลังคลอดมักต้องการการดูแลเป็นพิเศษและต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลนานกว่าปกติ และน้ำหนักตัวไม่ถึง 2.5kg
ปัจจัยเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด
มารดา
มดลูกขยายตัวมากเกินไป เช่น ครรภ์แฝด ภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
มดลูกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ปากมดลูกสั้น
ติดเชื้อในร่างกาย เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ท้องจะโตไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะได้ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้มีโอกาสเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
การอักเสบในช่องคลอด
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
ฟันผุและการอักเสบของเหงือก
มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ครรภ์ต่อมามีการคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น
โรคประจำตัวของมารดาขณะตั้งครรภ์ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
อายุของมารดา มารดาอายุน้อยเกินไป คือน้อยกว่า 18 ปี หรือมารดาที่อายุมากเกินไป คือมากกว่า 35 ปี ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด
บุตรในครรภ์
บุตรในครรภ์ หากบุตรในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมหรือมีภาวะติดเชื้อ จะทำให้มารดามีอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้
สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด
มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด
รู้สึกลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ ช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน ทารกอาจมีการขยับตัวถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมง
เจ็บท้องต่อเนื่องกัน 4 ครั้งใน 20 นาที หรืออาจเกิดเป็นระยะ ๆ เนื่องจากการหดตัวของมดลูก
บวมและความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของครรภ์เป็นพิษ
ปวดหลังช่วงล่างหรือบริเวณเอว เป็นต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ แม้จะเปลี่ยนท่าทาง
คำจำกัดความ
ทารกแรกเกิด - ทารกน้ําหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 500 กรัม - ทารกที่มีอายุต้ังแต่แรกเกิดถึง 28 วัน
การจำแนกตามอายุ
ทารกเกิดก่อนกําหนด (Preterm infant) คือ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดครบกําหนด (Term or mature infant) คือทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์
ทารกแรกเกิดหลังกําหนด (Posterm infant) ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
ปัญหาที่พบเมื่อเด็กคลอดก่อนกำหนด
การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมอุณหภูมิ
การสูญเสียความร้อน
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
Hypothermia
ระบบประสาท
ความเสียหายต่อสมอง
ความเสี่ยงต่อความล่าช้าทางพัฒนาการ
Intraventricular Hemorrhage (IVH)
ระบบทางเดินอาหาร
การดูดซึมสารอาหารบกพร่อง
การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์
Necrotizing Enterocolitis (NEC)
ระบบภูมิคุ้มกัน
ความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
ภาวะ Sepsis
ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
Patent Ductus Arteriosus (PDA)
ปัญหาทั่วไปอื่น ๆ
ปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ยาก
ภาวะโลหิตจาง (Anemia of Prematurity)
ระบบการหายใจ
Respiratory Distress Syndrome (RDS)
ความหมาย
กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด จะปรากฏอาการภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และมีความรุนแรง ขึ้นตามลำดับ เกิดจากปอดที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์
สาเหตุ
การขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) หรือเกิดจากการสร้างสารลดแรงตึงผิวในปอดได้ช้าหรือไม่สมบูรณ์ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนชักนำให้เกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น เช่น มารดาตกเลือด ก่อนคลอด มารดาเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (Perinatal Asphyxia
พยาธิสภาพ
ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดขาดสารลดแรงตึงผิวในถุงลม ซึ่งทำหน้าที่ให้ถุงลมคงรูปและไม่แฟบขณะหายใจออก สารลดแรงตึงผิวสร้างจากเซลล์ Pheumocyte type 1! ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และสร้างมากขึ้นจนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์สารลดแรงตึงผิวเป็นสารที่เกิดจากการผสมกันระหว่างโปรตีนและฟอสโฟไลปิด การขาดสารลดแรงตึงผิวทำให้ความยึดหยุ่นของปอดลดลง ทารกต้องใช้แรงในการหายใจในแต่ละครั้งมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าที่ได้รับจากการหายใจ ต่อมาทารกจะเหนื่อยล้าพร้อมกับการระบายอากาศในถุงลมลดลงออกซิเจนจึงไม่สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิต ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถผ่านออกมาได้ทำให้ทารกมีภาวะเลือดขาดออกซิเจนร่วมกับมีการคั้งของคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดภาวะกรดตามมา จากการที่หลอดเลือดที่ปอดหดตัว ดังนั้นการกำซาบของอากาศที่ปอดลดลง จึงมีการหายใจแรงมาก ขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ถุงลมแตก เลือดไปเลี้ยงถุงลมน้อยลง ถุงลมขาดเลือดและเยื่อบุหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย เมื่อหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย โปรตีนและไฟบรินในพลาสมาจะรั่วออกและเข้าไปฉาบอยู่ด้านในผนังถุงลม เรียกว่า Hyaline Membrane ซึ่งทำให้การระบายอากาศเข้าถุงลมและการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงอีก
อาการและอาการแสดง
หายใจลำบาก เริ่มด้วยอาการหายใจเร็ว หอบ ปีกจมูกบาน อาจเร็วถึง 100 ครั้ง/นาที อกหรือช่องระหว่างซี่โครงบุ้มขณะหายใจเข้า อาการจะค่อยๆ รุนแรงขึ้นใน 2-3 วันแรก ถ้าเป็นมากอาจหยุดหายใจประมาณ 10 วินาที เป็นพักๆ สลับกับหายใจเร็ว
เสียงหายใจผิดปกติมีการกลั้นหายใจขณะหายใจออก หรือมีเสียงคราง (Expiration Granting)พบในรายที่เป็นมาก เสียงเกิดจากการที่ช่องสายเสียงปิดไม่สนิทขณะหายใจออก เกิดการกักลมไว้บางส่วนให้อยู่ในถุงลมปอด การฟังปอดมีเสียงลมเข้าปอดน้อยกว่าปกติ มักได้ยินเสียงหายใจหยาบ (Harst Breath Sound) หรือเสียงกรอบแกรบ (Fine Crepitation)
อาการตัวเขียว พบได้บ่อยในรายที่เลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย
ความดันโลหิตต่ำ ทารกอาจดูซีดหรือคล้ำโดยที่ระดับฮีมาโทคริตไม่ต่ำ เนื่องจากระบบ
ไหลเวียนโลหิตส่วนปลายไม่ตี
http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Personal/Succeed/RN/1151_Rattana.pdf
ขาดสาร Surfactant
หายใจลำบาก
ภาวะตัวเหลืองของทารก Neonatal Jaundice
ความหมาย
เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงผ่านกระบวนการที่ตับและขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะ
สาเหตุ
1) ภาวะตัวเหลืองปกติ (Physiologic Jaundice) เกิดจากทารกที่อยู่ในครรภ์มารดามีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่าและเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเม็ดเลือดแดงของทารกแตกสลายและเปลี่ยนแปลงไปเป็นบิลิรูบินมากกว่าปกติจนเกินความสามารถในการกำจัดของร่างกาย เนื่องจากตับของทารกยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ เกิดการสะสมของสารบิลิรูบินขึ้นในร่างกาย หากทารกไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยสามารถหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์
ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ (Pathologic Jaundice) มีหลายสาเหตุ เช่น
ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในคู่ที่แม่มีหมู่เลือดโอกับลูกมีหมู่เลือดเอหรือบี หรือคู่ที่แม่มีหมู่เลือด Rh ลบ และลูกมี Rh บวก
ทารกที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง หรือภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ
ทารกมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน
ตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดกับทารกที่ได้รับนมไม่เพียงพอ สาเหตุที่พบบ่อยคือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยทางลูก เช่น ลูกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้ไม่ดี
สาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะตับอักเสบ โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะมีอาการตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
การรักษาภาวะตัวเหลือง
การเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion)
การส่องไฟ (phototherapy)
พยาธิสภาพ
บิลลิรูบินเกิดจากการแตกตัวของฮีโมโกลบินซึ่งได้มาจากเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยหรือแตกจากการ ถูกทำลาย เป็น Unconjugated bilinbin (UB) ซึ้งละลายน้ำไม่ได้ต้องจับกับอัลบูมินในซีรั่มและถูกนำไปที่ดับเกิดการ conjugate ได้เป็น conjugated bilinbin (CB) ซึ่งละลายน้ำได้แล้วถูกขับถ่ายทางน้ำดีและปัสสาวะ แต่เมื่อผ่านลงมาในลำไส้ บิติฐบินที่ละลายในน้ำอาจถูกย่อยสลายในลำไส้กลายเป็นบิติรุบินที่ไม่ละลายในน้ำใหม่และถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด (entero hepatic circulation)
http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Personal/Succeed/310858/11.pdf