Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาของภาวะช็อก (Pathophysiology of shock) - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาของภาวะช็อก
(Pathophysiology of shock)
ภาวะช็อก หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติทางสรีรวิทยามีผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง มีผลให้ cell ได้รับ O2 ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะเนื้อเยื่อขาด O2 เกิดการทำลาย cell และนำไปสู่การตายได้ในที่สุด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภาวะช็อก
คือ ความดันเลือดในหลอดเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ
อัตราการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดลดลงหรือช้าลง และปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจน้อยลงไม่เพียงพอ
ระยะของช็อก
1. ระยะปรับชดเชย (Compensatory stage)
เป็นช่วงเริ่มต้นหรือก้าลังจะเข้าสู่ภาวะช็อกแต่ยังไม่ได้เกิดภาวะช็อกอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากมีการลดลงของปริมาตรสารเหลวที่อยู่ในระบบไหลเวียนโลหิตเพียงเล็กน้อย
อาการที่พบในระยะปรับชดเชย (Compensatory stage) คือ
1) ความดันโลหิตปกติ แต่ความดันชีพจร (Pulse pressure) แคบ
2) อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว (HR > 100 ครั้ง/นาที)
3) การหายใจเร็วและลึก
4) ปัสสาวะลดลง
5) ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะสูงขึ้น
6) ผิวหนังเย็นชื้น
7) รูม่านตา (Pupil) ขยาย
8) น้ำตาลในเลือดสูง
9) เกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (Hypoxia + Respiratory alkalosis)
10) ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง (Conscious change)
2. ระยะก้าวหน้า (Progressive stage)
เป็นระยะที่มีการลดลงของปริมาตรสารเหลวในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างน้อยร้อยละ 20-25 และมี cardiac output ต่ำลงเกินกว่าที่กลไกและการปรับตัวของร่างกายจะแก้ไขชดเชยได้
ระยะก้าวหน้า (Progressive stage) มีอาการและอาการแสดงดังนี้
1) ความดันโลหิตลดลง และPulse pressure แคบ
2) Heart Rate เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) Urine ลดลงจากไตขาดเลือด
4) ความถ่วงจ้าเพาะของปัสสาวะ และ creatinine clearance ลดลง
5) เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
6) อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
7) ปอดมี interstitial pulmonary edema
8) มีอาการบวม (Edema ) โดยเฉพาะบริเวณปลายมือ ปลายเท้า
9) มีภาวะ metabolic และ respiratory acidosis
และภาวะเนื อเยื่อขาดออกซิเจน (Hypoxemia)
3. ระยะไม่สามารถฟื้นคืน (Irreversible stage)
เป็นระยะสุดท้ายของภาวะช็อก เมื่อปล่อยทิ้งไว้
ไม่แก้ไข เซลล์และอวัยวะจะตายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเกิดอวัยวะล้มเหลวขึ้น
ระยะไม่สามารถฟื้นคืน (Irreversible stage) จะมีอาการและอาการแสดง คือ
1) Cell ขาดออกซิเจน เกิด cell ตาย ซึ่งจะปล่อยโปตัสเซียม lysosomal enzyme และ สารอื่นเข้ากระแสเลือด
2) ตับอ่อนขาดเลือด ปล่อย myocardial depressant factor กดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
3) การคั่งของเลือด เกิด micro emboli
4) ภาวะ DIC : disseminated intravascular coagulation
5) Multi-organ failure
6) Death
การแบ่งชนิดของภาวะช็อก
1. Hypovolemic shock : ช็อกจากการเสียเลือดหรือสารน้ำ
เมื่อปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนลดลง จากการเสียเลือดหรือน้ำ จะทำให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจลดลง (venous return) ปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกแต่ละครั้ง (Stroke volume) ก็ลดลงด้วย
ส่งผลให้ cardiac output ลดลง เช่นเดียวกัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอ
พบได้ในภาวะเลือดออกด้วยสาเหตุต่างๆ
เช่น อุบัติเหตุ เลือดออกในทางเดินอาหาร อุจจาระร่วงและภาวะขาดน้้ำ เป็นต้น
2.Cardiogenic shock : ช็อกที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ
ภาวะช็อกนี้ เป็นผลมาจากการบีบตัวของหัวใจที่แย่ลง (pump failure)
ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
myocarditis เป็นต้น กล้ามเนื้อ pump เลือดออกจากหัวใจไม่ได้ เกิดภาวะช็อก
การคลายตัวของหัวใจผิดปกติ
ผู้ป่วยโรคหัวใจโตจากความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้จะมีผนังหัวใจห้องล่างซ้ายโต ไม่สามารถคลายตัวได้ตามปกติ ทำให้เลือดออกจากหัวใจลดลง cardiacoutput ลดลง เกิดภาวะช็อก
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เต้นช้าเกินไปหรือเร็วเกินไป,
atrial fibrillation,ventricular tachycardia เป็นต้น
กลุ่มนี้จะมี stroke volume ลดลงท้าให้เกิดภาวะช็อก
การอุดกั้นทางเดินของเลือดออกจากหัวใจ
pulmonary embolism, cardiac
tamponade, tension pneumothorax เป็นต้น ทางออกหัวใจถูกปิดกัน ทำให้ stroke volume
และ cardiac output ลดลง เกิดช็อกในที่สุด
3.Septic shock : ช็อคจากการติดเชื้อ
เกิดจากผู้ป่วยมีการติดเชื้อมาก่อน บริเวณที่ติดเชื้อและท้าให้
ช็อกบ่อย คือ การติดเชื้อที่ปอด ช่องท้อง และระบบทางเดินปัสสาวะ
ระยะของ septic shock แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
ระยะเริ่มแรก
ในระยะนี้ความดันโลหิตจะลดลง จากแรงต้านภายในหลอดเลือดและปริมาณเลือดไหลกลับสู่หัวใจลดลง การเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้นเพื่อรักษา cardiac output และปรับชดเชยความดันโลหิตจะลดลง
ระยะหลัง
cardiac output ลดลง หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตต่ำ
ผิวหนังเย็น หายใจเร็วตื้น ปัสสาวะออกน้อยลง มีภาวะ lactic acidosis ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ ซึมลง ไม่รู้สึกตัว
4.Anaphylactic shock : ช็อกจากการแพ้
อาการแพ้(anaphylaxis) ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (hypersensitivity reaction)
ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (peripheral vasodilatation) และมีคั่งเลือดแล้วเกิดการบวมน้ำตามมา
อาการแสดงทางคลินิกมีดังนี้ ผิวหนังมีผื่นแดงเป็นลมพิษ คัน เกิด angioedema บริเวณตา ริมฝีปาก หลอดลมหดเกร็ง หายใจลำบาก
5.Neurogenic shock : ภาวะช็อกทางระบบประสาท
เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติชนิดซิมพาเทติคในการควบคุมการหด-ขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย (systemic vasodilatation) ส่งผลทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
สาเหตุแบ่งออกตามพยาธิสภาพ 2 กลุ่ม คือ
พยาธิสภาพที่สมอง (cerebral damage)
จะทำให้กระทบกระเทือนศูนย์ควบคุมที่ medulla
พยาธิสภาพที่ไขสันหลัง (spinal cord injury)
ทำให้ศูนย์ควบคุมหลอดเลือดไม่สามารถควบคุม preganglionic vasoconstrictor nerve ได้
ลักษณะทั่วไปทางคลินิกของภาวะช็อก
ระดับความรู้สึกตัว
ระยะแรกจะมีการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic
เพิ่มการหลั่งของ epinephrine ร่วมกับลดลงของความดันเลือด
ท้าให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย สับสน จนซึมลงและไม่รู้สึกตัว
ลักษณะของผิวหนัง
มีการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง
และกระตุ้นต่อมเหงื่อ ผิวหนัง ผู้ป่วยจะเย็นและซีด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
Pulse อัตราการเต้นชีพจรจะเร็วและเบา เพื่อรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เพียงพอ
BP ความดันจะต่้ากว่า 90 มม.ปรอท
Pulse pressure แคบ (ถ้าแคบกว่า 20 มม.ปรอท แสดงว่า shock รุนแรง)
ระบบไต
มีการลดลงของปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกของภาวะ shock ได้
ระบบหายใจ
เกิดการขาดออกซิเจน ท้าให้มีการเผาผลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน เกิดการคั่งของ lactic
acid ร่างกายจะอยู่ในภาวะ metabolic acidosis ท้าให้หายใจเร็ว