Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารยาทชาวพุทธและหน้าที่ชาวพุทธ , แสดงตนเป็นพุทธมามกะแต่ยังเยาว์…
-
- แสดงตนเป็นพุทธมามกะแต่ยังเยาว์ ศาสนิกชนหลายศาสนามีการแสดงออกต่อผู้อื่นหรือต่อสาธารณะชนว่าตนได้เข้าเป็นสมาชิกหรือเข้านับถือศาสนานั้นๆแล้ว แต่ของพุทธศาสนาแต่เดิมมาก็มักจะถือกันว่านับถือพุทธศาสนาตามบิดา มารดา ไม่ได้มีการแสดงตนหรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกแต่อย่างใดเลย ทำให้ตัวเองบางทีก็สงสัยว่าเป็นชาวพุทธขื้นมาด้วยวิธีใด ฉะนั้นลักษณะที่น่าจะยอมรับกันไว้ข้อแรกก็คือ ให้ได้เข้าพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึงที่ระลึกเสียแต่ยังเยาว์ เริ่มตั้งแต่เข้าโรงเรียนซึ่งสถานศึกษาหรือสถาบันพุทธศาสนาหลายแห่งได้กระทำกันอยู่แล้ว
- มีที่บูชาประจำบ้าน เพื่อเป็นที่เคารพกราบไหว้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
- ไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน เป็นการเสริมข้อต้น ๆ ทั้ง 2 คือการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ให้รู้จักความกตัญญูตามหลักธรรม ระลึกถึงคุณของผู้มีพระคุณมีบิดามารดาครูอาจารย์ อย่างน้อยก่อนเข้านอนวันละครั้ง
- ตักบาตรตามกำลังของตน เพื่อเป็นการสืบพระศาสนาด้วยการบำรุงพระภิกษุสงฆ์ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย นำมาเผยแผ่แก่ประชาชนทั่วไปให้ประพฤติปฎิบัติทั้งเป็นการฝึกใจในการบริจาคทานด้วยแม้ทำไม่ได้ทุกวันก็อาจทำในวันเกิดหรือวันสำคัญทางศาสนาก็ได้
- ฟังธรรมเป็นนิจ ในวันพระหรือวันอาทิตย์ได้เข้าวัดฟังธรรมหรือแม้ทางสื่อสารมวลชนที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป
- ทำบุญและประกอบพิธีตามฤดูกาล เช่น วันสำคัญทางศาสนาหรือพิธีบำเพ็ญบุญต่าง ๆ ตามฤดูกาลนั้น ๆ
- แสดงความเคารพเมื่อผ่านปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติตนสมควรแก่การกราบไหว้ในฐานะสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่
- มีเบญศีล เบญจธรรม ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะให้คนละเว้นความชั่วแล้วทำความดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข พร้อมทั้งทำหน้าที่แนะนำข้อสงสัยให้กับผู้อื่นที่ไม่เข้าใจ
- ผู้ชายต้องบวช แม้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะแล้วหรือเข้าเป็นสมาชิกของชาวพุทธแล้วยังมีอีกองค์การหนึ่งที่ผู้ชายควรหาโอกาสเข้าเป็นสมาชิกเพื่อศึกษาปฎิบัติยอมสละกายใจและเวลาเพื่อบวชเป็นภิกษุ รู้จุดมุ่งหมายของการบวชว่าเพื่ออะไร ต้องปฎิบัติอย่างไร มิใช่มีวัตถุประสงค์ เช่น บวชหน้าศพ บวชแก้บน บวชให้บิดามารดา บวชเพื่อแต่งงานหรือเพื่อประเพณีเท่านั้นจึงพอสรุปได้ว่า “หน้าที่ของชาวพุทธที่ดี” นั้นก็คือ การประพฤติปฎิบัติอย่างเข้าใจในพระพุทธศาสนา “ยึดหลักธรรมเป็นคติประจำใจ ยึดความมีระเบียบวินัยเป็นทางดำเนินชีวิต”