Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิมนุษยชน human rights - Coggle Diagram
สิทธิมนุษยชน human rights
หลักการสิทธิมนุษยชน
1)เป็นสิทธิธรรมชาติ ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีประจําตัว ตั้งแต่เกิดมาเป็นมนุษย์
2)สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ ไม่มีพรมแดน คนทุกคนมีสิทธิมนุษยชนต่างๆ เพราะ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติเหล่ากําเนิดใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิมนุษยชนประจําตัวทุกคนไป
3)สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสําคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง คือสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ไม่สามารถแบ่งแยกว่ามีความสําคัญกว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมสิทธิ
4)ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ การเลือกปฏิบัติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานในทุกสังคมในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคน ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย คนพิการ เด็ก หรือผู้สูงอายุ คนป่วยหรือมีสุขภาพดี
5)การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น ประชาชนแต่ละคนและกลุ่มของประชาชนหรือประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
6)ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรมรัฐและองค์กรที่มีหน้าที่ในการก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชน ต้องมีหน้าที่ตอบคําถามให้ได้ว่าสิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เกิดผลจริงในประเทศของตน
ปฏิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ 1 ทุกคนมีศักดิ์ศรีสิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกัน และต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง
ข้อ 2 ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และมีความมั่นคง
ข้อ 4 ห้ามบังคับคนให้เป็นทาส และห้ามค้าทาสทุกรูปแบบ
ข้อ 5 ห้ามการทรมาน หรือการลงโทษทารุณโหดร้ายผิดมนุษย์
ข้อ 6 สิทธิในการได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
ข้อ 7 สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 8 สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล
ข้อ 9 ห้ามการจับกุม คุมขัง หรือเนรเทศโดยพลการ
ข้อ 10 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย
ข้อ 11 สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนศาลตัดสิน และต้องมีกฎหมายกําหนดว่าการกระทํานั้นเป็นความผิด
ข้อ 12 ห้ามรบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การติดต่อสื่อสาร รวมทั้งห้ามทําลายชื่อเสียงและเกียรติยศ
ข้อ 13 เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งการออกนอกประเทศหรือกลับเข้าประเทศโดยเสรี
ข้อ 14 สิทธิในการลี้ภัยไปประเทศอื่นเพื่อให้พ้นจากการถูกประหัตประหาร
ข้อ 15 สิทธิในการได้รับสัญชาติและการเปลี่ยนสัญชาติ
ข้อ 16 สิทธิในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว
ข้อ 17 สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ข้อ 18 เสรีภาพในความคิด มโนธรรม ความเชื่อ หรือการถือศาสนา
ข้อ 19 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก รวมทั้งการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ข้อ 20 สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและรวมกลุ่ม และห้ามบังคับเป็นสมาชิกสมาคม
ข้อ 21 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในรัฐบาลทั้งทางตรงและโดยผ่านผู้แทน อย่างอิสระ และมีสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณะโดยเท่าเทียมกัน
ข้อ 22 สิทธิในการได้รับความมั่นคงทางสังคม และได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการกําหนดระเบียบและทรัพยากรของ ประเทศตนเอง
ข้อ 23 สิทธิในการมีงานทําตามที่ต้องการ และได้รับการประกันการว่างงาน รวมทั้งได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสําหรับงานอย่างเดียวกัน และรายได้ต้องพอแก่การดํารงชีพสําหรับตนเองและครอบครัว ตลอดจนมีสิทธิ ก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
ข้อ 24 สิทธิในการพักผ่อนและมีเวลาพักจากการทํางาน
ข้อ 25 สิทธิในการได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ ได้รับปัจจัยสี่ สวัสดิการสังคม ประกันการว่างงาน เจ็บป่วย เป็นหม้าย ผู้สูงอายุ ตลอดจนต้องคุ้มครองแม่และเด็กเป็นพิเศษ
ข้อ 26 สิทธิในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 27 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชน และได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อ 28 สังคมต้องมีระเบียบทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้บุคคลได้รับสิทธิ และเสรีภาพตามปฏิญญานี้
ข้อ 29 บุคคลย่อมมีหน้าที่ต่อชุมชน การใช้สิทธิเสรีภาพจะต้องเคารพ ในสิทธิ และเสรีภาพของผู้อื่น
ข้อ 30 ห้ามมิให้รัฐ กลุ่มชน หรือบุคคล กระทําการทําลายสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในปฏิญญาน
ขอบเขตของสิทธิมนุษยชน
1)สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทําร้ายหรือฆ่า
2) สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกวิถีชีวิตของ ตนเองทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
3) สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สิทธิในการมีงานทํา ได้เลือกงานอย่างอิสระและได่รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินการได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง
4) สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว
5) สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม