Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุหญิง อายุ 76 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4, ระยะปานกลาง…
ผู้สูงอายุหญิง อายุ 76 ปี
ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
Dementia
อาการและอาการแสดง
3.อารมณ์แปรปรวน
•บ่นพึมพำคนเดียว
•หงุดหงิดให้ลูกสาว
•ทะเลาะกับลูกสาว
1.สูญเสียความสามารถทางสติปัญญา
•หลงลืม วัน เวลา สถานที่ จำลูกหลานไม่ได้
•ออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก
•เมื่อถามแล้วจะตอบช้า ต้องถามซ้ำ
•จำชื่อลูกหลานที่อยู่ไกลไม่ได้
•จำได้แค่คนที่อยู่ใกล้เห็นหน้าบ่อย
2.กิจกรรมทั่วไปบกพร่อง
กิจกรรมที่บกพร่อง
•คิดช้า ทำอะไรช้า นั่งนิ่ง นั่งเหม่อ
•เมื่อกินอาหารแล้วบอกยังไม่กิน
กิจกรรมที่ทำได้เอง
ทำกิจวัตรประจำวันเองได้ แต่ต้องบอกให้ไปทำและ
ต้องเตรียมบางอย่างให้
สาเหตุของการเกิดโรค
ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากกระบวนการฝ่อของเซลล์สมองซึ่งเป็นไปตามกระบวนการชราภาพ ผลของเซลล์สมองฝ่อทำให้เริ่มสูญเสียหน้าที่ไปอย่างช้าๆ โดยเริ่มมีอาการเมื่ออายุ60ปีขึ้นไปโดยแบ่งได้3ระยะคือ ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะสุดท้าย
หญิงไทยวัย 76ปี มีอาการแสดงของภาวะสมองเสื่อมในระยะปานกลาง เช่น ความรู้คิดเริ่มสูญเสีย อาการสับสนเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ โดยเป็นไปตามกระบวนการชราภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
•
MOCA
(Montreal cognitive assessment) =16คะแนน >> ผลจากแบบประเมินคะแนนของผู้ป่วยน้อยกว่า 25 คะแนน สื่อถึงอาการสมองเสื่อมในระยะแรก<<
•(MMSE-Thai2002)
=11คะแนน >>ประเมินจากผู้ป่วยระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนน้อยกว่า 17 สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม<<
ข้อมูลที่ต้องทำการประเมินเพิ่มเติม
ICD-10
DSM-IV
NINCDS-ADRDA
GDS
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ต้องการเพิ่มเติม: CBC, Electrolyte, LFT, U/A & Creatinine, Vit B12, TFT, Vidal test, CXR, EKG, CT scan
ระยะปานกลาง (Moderate Dementia)
อาการเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น เริ่มหลงลืมเหตุกาณ์ที่สำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลงลืมชื่อคน จำทางกลับบ้านไม่ถูก มีปัญหาด้านการสื่อสารกับคนรอบข้าง ต้องการผู้ดูแล มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น ชอบขอเงินจากทุกคน
ข้อวินิจฉัยและการพยาบาล
1เสี่ยงต่อการสูญหายเพราะ ผู้ป่วยออกนอกบ้านและกลับบ้านเองไม่ถูก
ข้อมูลสนับสนุน
S:ญาติบอกว่าผู้ป่วยชอบออกไปซื้อไม้ขดไฟแล้วกลับบ้านไม่ถูก ความถี่2ครั้ง/เดือน เพื่อนบ้านต้องนำส่งบ้าน
O: แบบประเมิน MMSE = 11คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อลดจำนวนครั้งของการออกจากบ้านไปคนเดียว
การพยาบาล: 1.หาสาเหตุที่ผู้ป่วยสับสนว่าเป็นการเดินออกไปอย่างไร้จุดหมาย หรือ อยากหนีจากที่อยู่ หรืออยากออกไปทำกิจกรรมอื่น หรือาจเป็นผลของการกระสับกระส่าย นั่งไม่ติด ซึมเศร้า ผลที่ตามมาคือหลงทาง กลับบ้านไม่ได้
2.ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมจัดสภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยคุ้นเคยในอดีต เช่น จัดสวน ปลูกผักสวนครัว ทำรั้วรอบขอบชิด อาจติดกล้องวงจรปิดจัดให้ญาติสลับดูแลหากผู้ดูแลหลักไม่อยู่ ทั้งนีต้องคำนึงถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
3.หากิจกรรมที่ชอบหรือพึงพอใจให้ทำเช่น การฟังธรรมะ การทำงานฝีมือ เป็นต้น
4.พาผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อไปทำกิจกรรมเช่น ไปเล่นพูดคุยกับเพื่อนบ้าน
5.แจ้งให้เพื่อนบ้านละแวกเดียวกันทราบว่าผู้ป่วยผู้สูงอายุสมองเสื่อมเพื่อจะได้คอยสอดส่องดูแล หรือนำส่งบ้านหากผู้ป่วยหนีออกจากบ้านคนเดียว ป้องกันการหายโดยการติดชื่อ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ดูแลไว้ในเสื้อ โดยที่ป่วยไม่ทราบ หากสูญหายจะได้ติดต่อนำส่งกลับบ้าน
6.ผู้ดูแลจดบันทึกจำนวนครั้งของการหนีออกจากบ้าน วัน เวลา ที่หายออกเป็นข้อมูลวางแผนการแก้ไขปัญหานี้
3.มีโอกาสเกิดภาวะแทกซ้อนจากความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ญาติบอกว่าสามารถปฏิบัติกิจวัตรได้แต่ต้องบอกให้ทำหรือเตรียมของให้
วัตถุประสงค์
1.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้
2.ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้มากที่สุดนานที่สุด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินผู้ป่วย จากการซักประวัติและตรวจร่างกายของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากผู้ดูแล เพื่อเป็นข้อมูลและนำมาวางแผนการพยาบาล
2.สอนหลักการสำคัญ คือ กิจกรรมใดผู้ป่วยยังสามารถปฏิบัติได้โดยลำพัง ต้องมีคนช่วยเหลือบางส่วน ผู้ดูแลไม่ต้องทำให้ทั้งหมด และอะไรเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถทำกิจกรรมนั้นๆเองได้ และผลที่เกิดขึ้นจากการให้ผู้ป่วยทำโดยลำพัง เช่น กินยา ผิด อาบน้ำไม่สะอาดไม่แปรงฟัน เป็นต้น
3.ให้คำแนะนำ และสอนผู้ดูแลเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง
4.จัดตารางเวลากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำเป็นแบบแผนควรมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ตามลำดับกำหนดเวลา ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ใช้อุปกรณ์ที่คุ้นเคย และสะดวก ไม่สลับซับซ้อน
5.ส่งเสริมการดูแลโดยกระตุ้นความสามารถของผู้ป่วยให้ดูแลตนเอง ประกอบ กิจวัตรประจำวัน คงสมรรถนะ และความสามารถที่มีอยู่ ประคับประคองให้ผู้ป่วยทำสิ่งที่ยังทำได้ให้ได้มากที่สุด และนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การแต่งตัว การ รับประทานอาหาร การอาบน้ำ การขับถ่าย การเดิน การเคลื่อนไหวตลอดจนการ ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
6.ให้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ไม่เร่งรัด หรือทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ต้องรีบทำ แต่หากผู้ป่วยรีบทำก็พยายามพูดให้ช้าลง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หกล้ม สำลักอาหารเป็นต้น
7.จัดลำดับความสำคัญของการทำกิจกรรมให้ผู้ป่วย และทำให้เป็นตารางเวลาเดียวกันในทุกๆ วัน เพื่อลดความสับสนและกระตุ้นเตือนให้ผู้ป่วยคุ้นเคยและจำได้
8.ติดต่อประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักกายภาพบำบัด เพื่อสอนการทำกายภาพ หรือ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่บ้านและนัดทำ กิจกรรมบำบัดที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
9.จัดยาให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยให้ญาติเป็นผู้เตือนให้รับประทานยาและดูความถูกต้องของขนาดยาที่รับประทาน
2มีพฤติกรรมทำซ้ำซ้ำๆ(Compulsive behavior)เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
S : ญาติบอกว่าผู้ป่วยชอบเปิดน้ำทิ้งไว้ลืมปิด ชอบแช่ข้าว ชอบขอเงิน ชอบจุดไฟจะนึ่งข้าว บอกไม่ให้ทำก็จะทำลูกสาวต้องเอาข้าว ฟืน ไม้ขีดไฟไปซ่อน
O : การทดสอบสภาพสมองเบื้อต้น MMSE ได้ 11 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อลดการทำพฤติกรรม
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้ญาติเข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรค เพื่อให้คลายความกังวลและลด
ความเครียด
2.ทำความเข้าใจ หาเหตุผลและความรู้สึกของผู้ป่วยที่ทำพฤติกรรมซ้ำๆนั้น
อดทน ไม่บ่น ไม่ด่า ไม่โต้เถียงไม่ตำหนิผู้ป่วย หากพฤติกรรมนั้นไม่ก่อให้เกิด
ปัญหา
4.เบี่ยงบนความสนใจ เช่น ชวนพูดคุยถึงเรื่องราวและความภาคภูมิใจใจในอดีต ทา
ออกกำลังกาย หรือพาทำทํากิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบและเกิดความสุขเช่น ฟังเพลง
5.ใช้สิ่งของที่ใช้เตือนความจำ เช่น การเขียนโน้ต นาฬิกา ปฏิทินช่วยเตือน
ความจำ ภาพเก่าๆที่ผู้ป่วยคุ้นเคย
6.เปลี่ยนพฤติกรรมซ้ำๆ โดยจัดหากิจกรรมที่สามกรถปฏิบัติได้อย่างต่อย่างต้อง และ
เกิดประโยชน์ เช่น กระตุ้นให้ฟังธรรมมะ ฟังเพลง การทำกิจกรรมทางกายตาม
โปรแกรม RDAD 13 ครั้ง ใน 12 สัปดาห์
4.ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : ครอบครัวผู้ดูแลไม่สามารถจัดการกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
S:ผู้ดูแลมักจะทะเลาะขัดแย้งกับผู้ป่วย
S:ญาติบอกว่าอายที่แม่ชอบไปขอเงิน
วัตถุประสงค์
1.ครอบครัวและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์
2.ครอบครัวและผู้ดูแลสามารถจัดการกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
การพยาบาล
ประเมินครอบครัว/ผู้ดูแล จากการสอบถาม พูดคุย ในด้านต่างๆได้แก่
1.1 ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย เวลาที่มีในการดูแลผู้ป่วยอาชีพ รายได้ครอบครัวของผู้ดูแล เป็นต้น
1.2 ข้อมูลทางด้านร่างกาย เช่น โรคประจำตัว ภาวะสุขภาพ เป็นต้น
1.3 ข้อมูลทางด้านจิตใจ เช่น บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความรู้สึกกดดันเป็นภาวะ เป็นต้น
1.4 ข้อมูลทางด้านสังคม เช่น ภาระ ความรับผิดชอบที่ต้องดูแลทุกด้าน ความรู้ทักษะในการดูแล
2.การอบรมให้ความรู้ผู้ดูแล เกี่ยวกับภาวะปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์อันเนื่องมาจากภาวะสมองเสื่อม การดำเนินโรค พยากรณ์โรค ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยและการแก้ไขเบื้องต้น ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการฝึกผ่อนคลายความเครียด ฝึกทักษะการทำ กิจกรรมกระตุ้นการรู้คิดด้านต่างๆ การทำกายภาพบำบัด การดูแลกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
3.แนะนำแหล่งความรู้ แหล่งประโยชน์อื่นๆเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในการดูแลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
4.ติดต่อกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการเข้าไปร่วมดูแล และติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น พยาบาลเยี่ยมบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น
ประเมินความรู้ย้อนกลับ หลังได้รับการอบรม เพื่อเพิ่มรายละเอียดการดูแล ใน ส่วนที่ผู้ดูแลยังบกพร่อง
อาการแสดงของผู้สูงอยู่ในระยะ
ผู้สูงอายุหญิง อายุ 76 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 สถานภาพสมรสหม้าย ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีอาการหลงลืม วัน เวลา สถานที่ จำลูกหลานไม่ได้ ออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก ชอบแช่ข้าว เปิดน้ำทิ้งไว้ลืมปิด เป็นมาประมาณ 3ปี
1 ปีก่อน มีอาการหลงลืมมากขึ้น คิดช้า ทำอะไรช้า นั่งนิ่ง นั่งเหม่อ กลัวการอยู่บ้านคนเดียว ถามแล้วจะตอบช้า ต้องถามซ้ำ จำชื่อลูกหลานที่อยู่ไกลๆไม่ได้ จำได้คนที่อยู่ใกล้เห็นหน้าบ่อยๆ ชอบแช่ข้าว ชอบจุดไฟจะนึ่งข้าว บอกไม่ให้ทำก็จะทำ ลูกสาวต้องเอาข้าว ฟืน ไม้ขีดไปซ่อน ชอบขอเงินจากทุกคน ลูกก็อายเพื่อนบ้านที่แม่ชอบขอเงิน ผู้สูงอายุชอบออกจากบ้านไปร้านค้าซื้อไม้ขีดไฟ แล้วกล้บบ้านไม่ถูก ต้องให้คนมาส่ง 2ครั้ง/เดือน ชอบทะเลาะกับลูกสาว บ่นพึมพำคนเดียว หงุดหงิดให้ลูกสาว กินอาหารแล้วก็บอกยังไม่กิน จำอาหารที่กินไม่ได้ ทำกิจวัตรประจําวันเองได้ทุกอย่าง แต่ต้องบอกให้ไปทำและเตรียมบางอย่างให้ เช่น เสื้อผ้าโดยมีลูกสาวคอยช่วยเหลือ ผู้ดูแลรู้สึกทุกข์ใจ รู้สึกอับอาย เครียด รู้สึกน้อยใจในชะตาชีวิตตนเองที่แม่เป็นแบบนี้