Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน, เด็กหญิง รุ่งอรุณ บุญยก ม.2/1 เลขที่ 29…
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน
วิธีการวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถ และความ ชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน
ทักษะขั้นพื้นฐาน มี 8 ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการวัด
3.ทักษะการคำนวณ
4.ทักษะการจำแนก
ประเภท
5.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปส
กับสเปสและสเปสกับเวลา
6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อและความหมายข้อมูล
7.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
2 more items...
เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากวิธีการต่าง ๆ มาจัดกระทำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายหรือ มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น รวมทั้งนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ การเขียนบรรยาย สมการ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุระหว่างต าแหน่งที่อยู่ของวัตถุ หนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง และระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของ วัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
การจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ หรือการเรียงลำดับ วัตถุ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆออกเป็นหมวดหมู่ โดยใช้ความเหมือนกันหรือ ความแตกต่างกัน มาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกวัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งต่าง ๆ ออกจากกัน
ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทำกับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลองโดยตรง หรือจากแหล่งอื่น ตัวเลขที่คำนวณนั้นต้องแสดงค่าปริมาณในหน่วยเดียวกัน ตัวเลขใหม่ที่ได้จากการคำนวณจะช่วยให้สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการและชัดเจนยิ่งขึ้น
ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับความจริง พร้อมทั้งมีหน่วยกำกับเสมอ
เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใด อย่างหนึ่งหรือ ใช้หลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เพื่อค้นหาและบอกรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกต โดยที่ไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทักษะขั้นบูรณาการ มี 5 ทักษะ
1.ทักษะการตั้งสมมติฐาน
2.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
3.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
4.ทักษะการทดลอง
5.ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data) หมายถึง การแปลความหมายหรือการบรรยายลักษณะ และสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ และในบางครั้งอาจ ต้องใช้ทักษะอื่นๆ ด้วยเช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณเป็นต้น เป็นการลงข้อสรุปหา ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
ทักษะการทดลอง (experimenting) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น โดยใช้ทักษะต่างๆ เช่น การสังเกต การวัด การพยากรณ์ การตั้ง สมมุติฐาน ฯลฯ กระบวนการในการทดลองประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน
ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม ในสมมติฐานหนึ่ง การควบคุมตัวแปรนั้นเป็นการควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน
ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally )หมายถึง การกำหนดความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆที่มีอยู่ในสมมุติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้ เช่น “ การเจริญเติบโต ” หมายความว่าอย่างไร ต้องกำหนดนิยามให้ชัดเจน เช่น การเจริญเติบโดหมายถึง มีความสูงเพิ่มขึ้น เป็นต้น
การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคาถามหรือคิดคาตอบ ล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดย สมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถ อธิบายคาตอบได้
เด็กหญิง รุ่งอรุณ บุญยก ม.2/1 เลขที่ 29