Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม13ขั้นตอน - Coggle Diagram
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม13ขั้นตอน
1ระบุความต้องการ
เมื่อทราบความต้องการแล้วจะสามารถระบุความต้องการและระบุปัญหาได้เช่น ต้องการจะกวาดขยะทุกซอกทุกมุมแต่ไม้กวาดที่ใช้ไม่สามารถกวาดขยะได้ทุกซอกทุกมุม
2ระบุลักษณะที่ต้องการ
เป็นความต้องการแก้ปัญหาเบื้องต้นว่า ลักษณะที่ต้องการนำไปใช้นั้น เป็นลัษณะแบบใด ซึ่งขั้นตินนี้สามารถ เปลี่ยนแปลงได้อีกหลายครั้งหลังจากขั้นตอนออกแบบสร้างขั้นตอน เช่น เมื่อต้องการจะกวาดขยะทุกซอกทุกมุม ทำความสะอาดพื้นได้ทุกซอกทุกมุม บนพื้นผิกทุกชนิดแม้กระทั่งพื้นเปียกน้ำ
3รวบรวมข้อมูล
เป็นการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับกาารใช้งาน รูปแบบ รายละเอียดที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเพื่อหาวิธีทำความสะอาดตามซอกมุมว่าจะทำอย่างไร เช่น การใช้แรงเพื่อส่งผลให้ขยะที่อยู่ในซอกมุมต่างเคลื่อนที่ออกจากมุมนั้นๆ จาก กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันได้แก่ เขี่ย เป่า ดูด การหาคำตอบนี้ วิศกรจะหาจากคนอื่นที่ได้จดสิธิบัตรไว้หรือเอาของที่คล้ายกันมาแกะออก เพื่อศึกษาหลักการทำงานของเทคโนโลยีโดยเรียกวิธินี้ว่า reverse engineering
4 ศึกษาความเป็นไปได้
เป็นการนำข้อมูล ที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหา เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการ มากที่สุด เช่น กรณีการทำความสะอาดพื้นทุกซอกทุกมุม จะตัดเรื่องการเขี่ยออกไปเพราะทำแล้วพื้นไม่สะอาดตัดเรื่องการเป่าเพราะหากเป่าจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมา จึงสรุปได้ว่า การทำความสะอาดโดยการดูด มีความเป็นไปได้มากกว่าวิธิอื่น
5สังเคราะห์หาหลักการสร้างสรรค์
เป็นการหาหลักหาร Concept หรือแนวทางแก้ปัญหา กรณีเป็นเครื่องดูดฝุ่นเราจะสร้างแรงดูดลมได้อย่างไรตัวกรองฝุ่นจะต้องมีความละเอียดเท่าไหร่ สามารถที่จะทำให้มีน้ำหนักเบาได้อย่างไร ในระหว่างการทำงานจะต้องมีเสียงที่เบาโดยการทำงานอย่างไร อุปกรณ์จะสามารถนำไปใช้ในซอกเล็กๆ ได้อย่างไร รูปแบบภายนอกจะต้องเป็นอย่างไร จึงจะสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้
6 ออกแบบสร้างขั้นตอน
วิศวกรนำเอาหลักการออกมาออกแบบรูปร่างโดยมีเงื่อนไขจากการสังเคราะห์เสร็จแล้ว และทำการสร้างชิ้นส่วนต้นแบบขึ้นมาเพื่อนำไปทดลองใช้ ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำได้หลายรอบแม้จะสร้างจนเสร็จแล้ว แต่ก็ยังเป็นกระบวนการ สำคัญในการพัฒนา ต่อไปได้อีกเช่น ชิ้นส่วนต่างๆ อาจจะยังเป็นชิ้นกันอยู่ แต่จะต้องมีส่วนที่ใช้ในการดูดฝุ่นที่เป็นหัวใจสำคัญของนวัฒกรรม
7 จำลองสถานการณ์
เป็นการนำต้นแบบมาจำลองการใช้งานจริง เช่น แรงดูดของเครื่องเพียงพอ ต่อการดูดขยะได้หรือไม่ ถุงเก็บขยะเข้ามาในเครื่องจะทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น แล้วเมื่อฝุ่นผงสะสมนั้น จะมีผลต่อแรงดูดของเครื่องอย่างไร เมื่อคำนวณราคาในการผลิตต้นแบบพบว่าต้นแบบนวัฒกรรมบางอย่างมีต้นทุนสูงวิศกรอาจจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เช่น ซอฟแวร์การผลิตทางวิศกรรมศาสตร์ที่สามารถจำลองสภาพสถานการณ์เบื้องต้นได้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
8ออกแบบละเอียด
วิศกรจะทำการออกแบบอย่างละเอียดทุกระบบเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานของนวัฒกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทุกส่วนจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน ตั้งแต่หัวดูด ท่อดูด พัดลมดูด ถุงกรองฝุ่น ซึ่งทุกส่วนจะมีหน้าที่แตกต่างกันแต่จะต้องสร้างมาแล้วสามารถเอามาต่อกันได้
9 สร้างและทดสอบเครื่องต้นแบบ
เป็นขั้นตอนที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและทำการสร้างจริงให้ครบถ้วนแล้วนำมาใช้งานจริง เช่น การสร้างเป็นรูปร่าง เครื่องดูดฝุ่นที่สมบูรณ์แล้วทำการทดสอบการทำงานจริง และทำการเก็บข้อมูลระหว่างการใช้งานให้ครบถ้วนเพื่อนำไปประเมินผลในขั้นตอนต่อไป
10 ประเมินผล
หลังจากได้ทดสอบทุกอย่างและจดบันทึกแล้วจึงนำผลที่ได้จากการทดสอบเครื่องต้นแบบมาทำการประเมินเทียบกับสมรรถนะและคุณลักษณะที่ต้องการนำไปใช้แก้ปัญหา
11ประชุมสรุปผล
เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะเป็นการตัดสินใจว่าเป็นวัตกรรมที่นำไปใช้ได้หรือไม่ เพราะถ้าไม่ผ่านจะต้องกลับไปทำการแก้ไขใหม่ตั้งแต่ขั้นออกแบบสร้างขั้นต้น ดังนั้น การตัดสินใจจากข้อมูลการประเมินผลในขั้นตอนที่10 ซึ่งทุกฝ่ายจะพิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบ เพราะหากผ่านขั้นตอนนี้ ก็เป็นการผลิตอุตสหกรรมที่มีการลงทุนสูง
12ออกแบบการผลิต
ขั้นตอนนี้วิศกรผู้ออกแบบจะต้องสื่อกับฝ่ายผลิต เพื่อให้ฝ่ายผลิตได้ตรงตามที่ออกแบบได้อย่างถูกต้องโดยนำเอาการออกแบบแบบและเอียดมาเปลี่ยนเป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆจะต้องถูกกำหนดชนิดในการใช้วัสดุรวมถึงขั้นตอนการประกอบและต้องสื่อสารลักษณะทางเทคนิคเพื่อต้องการให้ฝ่ายโฆณาและฝ่ายขายนำไปใช้ในการเผยแพร่คุณสมบัติเพื่อดึงดูดผู้ซื้อได้ถูกต้อง
13 จำหน่ายผลิตภัณฑ์
เป็นหน้าที่ของผ่ายขายที่จะต้องนำสินค้าไปให้ถึงผู้ซื้อ และจะต้องมีข้อมูลของนวัตกรรมครบถ้วนเพื่อตอบลูกค้าหรือจุดประสงค์ของนวัตกรรมชิ้นนั้นๆ
ด.ช.ณัฐภัทร เสาร์วันดี เลขที่6