Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 13 ขั้นตอน มีดังนี้ - Coggle Diagram
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 13 ขั้นตอน มีดังนี้
1ระบุความต้องการ
เมื่อทราบความต้องการแล้ว จะสามารถระบุความต้องการและระบุปัญหาได้ เช่น ต้องการจะกวาดขยะทุกซอกทุกมุม แต่ไม้กวาดที่ใช้ไม่สามารถกวาดขยะได้ทุกซอกทุกมุม
2ระบุคุณลักษณะที่ต้องการ
เป็นความต้องการการแก้ปัญหาเบื้องต้นว่า ลัษณะที่ต้องการนำไปใช้นั้น เป็นลักณะแบบใด ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกหลายครั้งหลังจากขั้นตอนออกแบบสร้างขั้นตอน เช่น เมื่อต้องการจะกวาดขยะทุกซอกทุกมุม ทำความสะอาดพื้นได้ทุกซอกทุกมุม บนพื้นผิวทุกชนิด แม้กระทั่งพื้นเปียกนํ้า
3รวบรวมข้อมูล
เป็นการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้งาน รูปแบบ รายละเอียด เช่น การใช้แรงเพื่อส่งผลให้ขยะที่อยู่ในซอกมุมต่างเคลื่อนที่ออกจากมุมนั้นๆ ได้แก่ เขี่ย เป่า ดูด การหาคำตอบนี้ วิศวกรจะหาจากคนอื่นที่ได้จดสิทธิบัตรไว้หรือเอาของที่คล้ายกันมาแกะออก
4ศึกษาความเป็นไปได้
เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้แก้ปัญาหา เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น กรณีทำความสะอาดพื้นทุกซอกทุกมุม จะตัดเรื่องการเป่าเพราะหากเป่าจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมา จึงสรุปได้ว่า การทำความสะอาดโดยการดูดมีความเป็นไปได้มากกว่าวิธีอื่น
5 สังเคราะห์หาหลักการสร้างสรรค์
เป็นการหาหลักการ หรือแนวทางการแก้ปัญหา กรณีเป็นเครื่องดูดฝุ่น เราจะสร้างแรงดูดลมได้อย่างไร ตัวกรองฝุ่นจะต้องมีความละเอียดเท่าไร ทำให้มีนํ้าหนักเบาได้อย่างไร ในระหว่างการทำงานจะต้องมีเสียงที่เบาโดยการทำงานอย่างไร อุปกรณ์จะสามารถนำไปใช้ในซอกเล็กๆได้อย่างไร รูปแบบภายนอกต้องเป็นอย่างไร จึงจะสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้
6 ออกแบบสร้างขั้นตอน
วิศวกรนำเอาหลักการมาออกแบบรูปร่างโดยมีเงื่อนไขจากการสังเคราะห์เสร็จแล้ว และทำการสร้างขึ้นส่วนตัวแบบขึ้นมาเพื่อนำไปทดลองใช้ ในขั้นตอนที่ทำได้หลายรอบแม้จะสร้างจนเสร็จแล้ว แต่ก็ยังเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาต่อไปได้อีก
7 จำลองภาพสถานการณ์
เป็นการนำต้นฉบับแบบมาจำลองการใช้งานจริง เช่น แรงดึงดูดของเครื่องเพียงพอต่อการดูดขยะเมื่อดูดขยะเข้ามาในเครื่องจะทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นผงสะสมนั้น วิศวกรอาจจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
8 ออกแบบละเอียด
วิศวกรจะทำการออกแบบอย่างละเอียดทุกระบบเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานของนวัฒกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทุกส่วนจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน ตั้งแต่หัวดูด ท่อดูด พัดลมดูด ถุงกรองฝุ่น ซึ่งทุกส่วงนจะมีหน้าที่แตกต่างกัน
9สร้างและทดสอบเครื่องต้นแบบ
เป็นขั้นตอนที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและการสร้างจริงให้ครบถ้วนแล้วนำมาใช้งานจริง เช่น การสร้างเป็นรูปร่างเครื่องดูดฝุ่นที่สมบูรณ์ แล้วทำการทดสอบการทำงานจริง และการใช้งานให้ครบถ้วน เพื่อนำไปประเมินผลในขั้นตอนต่อไป
10 ประเมินผล
หลังจากได้ทดสอบทุกอย่างและจดบันทึกแล้ว จึงนำผลที่ได้จากการทดสอบเครื่องต้นแบบมาทำการประเมินเทียบกับสมรรถนะและคุณลักษณะที่ต้องการนำไปใช้แก้ปัญหา
11 ประชุมสรุปผล
เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะเป็นการตัดสินใจว่าเป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ได้หรือไม่ เพรนาะถ้าไม่ผ่านจะต้องกลับไปทำการแก้ไขใหม่ตั้งแต่ขั้นออกแบบสร้างขั้นต้น
12 ออกแบบการผลิต
ขั้นตอนนี้วิศวกรผู้ออกแบบจะต้องสื่อสารกับฝ่ายผลิต โดยการนำเอาการออกแบบแบบละเอียดมาเปลี่ยนเป็นการออกแบบเพื่อกาสรผลิต ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ จะต้องถูกกำหนดชนิดในการใช้วัสดุรวมถึงขั้นตอนการประกอบ และต้องสื่อสารคุณลักษณะทางเทคนิค
13จำหน่ายผลิตภัณฑ์
1 more item...