Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลำดับขั้นตอนการทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี - Coggle Diagram
ลำดับขั้นตอนการทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี
1.การสำรวจสถานการณ์หรือปัญหาที่สนใจ
(Problem Identification)
การระบุปัญหาเกี่ยวข้องกับทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การสังเกตุ(Observation) ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ของสิ่งรอบตัวที่พบเห็นโดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตุลงไปด้วย ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ สมบัติ ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตจากวัตถุหรือเหตการณ์นั้นโดยผู้ที่มีทักษะการสังเกตนั้นจะมีความสามารถที่แสดงได้ว่าเกิดทักษะนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยการบ่งชี้และการบรรยายสมบัติของวัตถุได้ โดยใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างบรรยายสมบัติในเชิงปริทาณของวัตถุได้ โดยการประมาณและบรรยายเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่สังเกต
ทักษะการสังเกต
การสังเกตเป็นกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะพยากรณ์ ทักษะการลงความคิดเห็น เป็นต้น การสังเกตทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ทำให้เกิดปัญหา อันจะนำไปสู่ขั้นตอนในการสืบเสาะเพื่อหาความรู้และได้มาซึ่งความรู้มากขึ้น
2.รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related information Sear)
หลังจากที่ทำการกำหนดปัญหาขั้นตอนต่อไปคือ การรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยการรวบรวมข้อมูล สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสืบค้นจากบทความวิชาการ บทความวิจัย ทฤษฎีต่างๆ
การสัมภาษณ์
การสังเกต
การสังเกตจากกลุ่มตัวอย่าง
การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
ประเภทของการรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
การรวบรวมข้อมูลขั้นปฐมภูมิ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง
2.การรวบรวมข้อมูลขั้นทุติยภูมิ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้ เช่น ข้อมูลจากหนังสือรายงาน บทความ เอกสารต่างๆ
3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Desing)
เมื่อทำการสืบค้น รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่ได้มารวบรวมและประยุกต์กับการทำงานเพื่ออกแบบวิธีการ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่รวบรวมได้มาทำการประเมิณและตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา
4.วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
หลังจากที่ได้ออกแบบวิธีการและกำหนดเค้าโครงของวิธีการแก้ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลาที่ีวางไว้ อาจเขียนในรูปแบบของตารางช่วงเวลาและกิจกรรมที่ดำเนินการแก้ปัญหา หรือเขียนในรูปแบบของแผนภูมิแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาก็ได้
ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ มี4ขั้นตอน ดังนี้
1.กำหนดความต้องการ
2.ออกแบบต้นแบบ
3.นำต้นแบบไปใช้
ปรับแต่งต้นแบบ
5.ทดสอบ ประเมิณ และปรับปรุง(Testing Evaluation and Desing Improvement)
ขั้นตอนนี้เป็นการทดสอบและประเมิณการใช้งานของชิ้นงาน ซึ่งปัญหาและผลที่เกิดขึ้นจากการทดสอบและประเมิณผล จะถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหามากขึ้น ซึ่งการทดสอบและประเมิณผลสามารถเกิดขึ้นได้หลายหลายครั้งในกระบวนการแก้ปัญหา
การทดสอบ
การประเมิณผล
การปรับปรุงแก้ไข
6.นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหา (Presentation)
การนำเสนอผลการแก้ปัญหาไปยังผู้รับฟังเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องเลือกวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การนำเสนอผลงานสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดนิทรรศการ การรายงานปากเปล่า การจัดแสดงโดยไม่มีการบรรยาย เป็นต้น ในการนำเสนอผลงานควรครอบคลุมประเด็นสำคัญ