Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาการติดเชื้อ - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาการติดเชื้อ
หลักการพื้นฐานของการติดเชื้อ
Symbiosis คือ การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน 2 ชนิด โดยมีความสัมพัธ์ซึ่งกันและกัน
Mutualismคือ การอยู่รวมกันและเอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย เช่น E.coli ที่ช่วยสังเคราะห์วิตามิน
Parasitism คือ การอยู่ร่วมกันโดยที่เชื้อจุลชีพก่อให้เกิดอันตราย มีผลต่อการทำงานของโฮสต์
Mutualism การอยู่ร่วมกันโดยที่จุลชีพได้ประโยชน์ แต่ไม่เกิดโทษต่อโฮสต์
เชื้อจุลินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Bifidobacterium , Lactobacillus
2.จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น Clostridium ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง โรคมะเร็ง เป็นต้น
ร่างกายคนมีเชื้ออยู่ในอวัยวะอยู่แล้ว โดยที่ไม่ทำให้เกิดโรค เรียกว่า Normal Flora หรือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น
ภูมิต้านทานอ่อนแอ เชื้อที่ทำไม่ให้เกิดโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้ เรียกว่า การตืดเซื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection)
การแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
1.ทางผิวหนัง (skin)
เช่น เชื้อมาลาเรีย ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง จากยุง เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง เช่น Stephylococcus epidermidis เชื้อบาดทะยัก ซิฟิลิส เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังผ่านบาดแผล
2.เยื่อหุ้มตา (conjunctiva
) เช่น เชื้อ Chlamydia trachomatis เชื้อหนองในเทียมจากแม่เข้าสู่ตาของลูกขณะคลอด ทำให้ลูกตาบอด
3.ทางเดินหายใจ (Respiratory tract)
เช่นโรคที่ติดมากับละอองหายใจ เช่น หัด (measles) อีสุกอีใส เป็นต้น
4.ทางเพศสัมพันธุ์ (sexual contact)
เช่น HIV HPV โรคหนองใน (Neisseria gonorrhea)
5.ทางปาก (Oral) เข้าสู่กระเพาะลำไส้
เช่น เชื้อปรสิต (ไข่หรือตัวอ่อนระยะติดต่อ)
แบคทีเรีย เช่น (salmonella typhi)
เชื้อราที่ปะปนมากับอาหาร เป็นต้น
6.ทางเดินปัสสาวะ (urinary tract)
เช่น E.coil และ Neisseria gonorrhoeae ในผู้ชาย เป็นต้น
7.ทางรก (Transplacental route)
เช่น Toxoplasma gondii (โรคขี้แมว)
หรือ Rubella virus โรคหัดเยอรมัน
8.การถ่ายเลือด (Blood transfusion)
เช่น HIV และ Hepatitis B,C เป็นต้น
หลังจากได้รับเชื้อโรค เชื้อโรคอาจอยู่เฉพาะหรือแพร่ไปยังอวัยวะอื่นก็ได้ โดยเชื้อโรคบางชนิดมีความจำเพาะต่อเนื้อเยื่อบางชนิดเท่านั้น เช่น ไวรัสตับอักเสบจะทำลายเฉพาะเซลล์ตับ
การป้องกันและตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อ
การป้องกันทางกายวิภาค (ด่านแรก) ป้องกันเชื้อ
ผิวหนัง เยื่อบุ : จะป้องกันฝุ่นละออง เชื้อจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอมต่างๆไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
การปัสสาวะ :ในท่อปัสสาวะมีสภาพเป็นกรดอ่อน สามารถป้องกันจุลินทรีย์บางชนิดได้ โดยจะขับออกทางน้ำปัสสาวะ
น้ำตา น้ำลาย สารคัดหลั่ง : มีเอนไซม์ Lysozyme สามารถทำลายผนังเซลล์แบคทีเรียได้ และในน้ำลายมีความเป็นด่าง ช่วยยับยั้งการโตของของเชื้อโรคได้
ระบบย่อยอาหาร : มีกรดดกลือ (HCI) เป็นน้ำย่อยที่หลั่งออกมาจากกระเพาะอาหาร มีความเป็นกรดสูง สามารถทำลายแบคทีเรียได้
เชื้อจุลชีพประจำถิ่น : เป็นผู้แย่งอาหารและพื้นที่อยู่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค และยังยั้งการโตของเชื้อได้
ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (ด่านสอง) ป้องกันเชื้อ
Acute Inflammation : เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ
Phagocytosis : เป็นกลไกลการป้องกันตนเองของโฮสต์เพื้อกำจัดและย่อสลายเชื้อโรค
Interferon : เป็นกลุ่มโปรตีนที่มีความสำคัญในการขัดขววางการแบ่งตัวของไวรัส
Complament system : เป็นระบบที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องของโปรตีนในซีรั่มมากกว่า 20 ชนิด เพื่อช่วยแอนติบอดีในการทำลายแบคทีเรีย
Natural kill cell : เป็นเซลล์กลุ่มลิมโฟไซต์ สร้างจากไขกระดูก ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เนื้องอกและเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก
ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (ด่านสาม) มีการสร้างแอนติบอดี
เม็ดเลือดขาวกลุ่ม Lymphocyte : ผลิตแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ สามารถทำลายเซลล์มะเร็งๆได้โดยตรง รวมถึงทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ระบบน้ำเหลือง : มีเม็ดเลือดขาวในกลุ่มฟาโกไซต์อยู่มาก ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
วัคซัน : สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีต้านเชื้อโรคได้
ทอกซอยด์ : เป็นสารพิษของจุลินทรีย์ที่ถูกทำให้หมดความเป็นพิษแล้วแต่ยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ไม่ทำให้เกิดโรค
เซรุ่ม : การฉีดเซรุ่มเข้าสู่ร่างกาย เป็นการต้านเชื้อโรคแบบฉับพลัน เช่น คนที่ภูกสุนัขกัดและมีเชื้อพิษสุนัขบ้า จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มก่อนที่เกิดอันตรายถึงตายได้
พยาธิสภาพจากการติดเชื้อ
1.การอักเสบเป็นน้ำใส 2.การเกิดหนอง 3.การอักเสบเป็นมูก 4.การอักเสบเป็นแผ่นเยื่อปกคลุมผิว 5.การเน่าตายของเนื้อเยื่อ 6.Paeudomembranous inflammation 7.การมีลักษณะพิเศษ (แกรนูโลม่า) 8.มีแผล 9.การอักเสบแบบเรื้อรัง 10.การอักเสบในแนวราบ 11.ก่อเกิดมะเร็ง 12.การอักเสบแบบทำลายหลอดเลือด 13.การสร้างสารที่เป็นลักษณะเฉพาะของเชื้อไวรัสนั้น 14.Without specific pathologic morphological changes ไม่พบพยาธิสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน 15.Anemia
ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อ
1.พันธุกรรม การควบคุมของยีนในกลุ่ม histocompatibility antigens
2.อายุ เด็กและผู้สูงวัยมีภูมิคุ้มกันด้อยกว่าวัยหนุ่มสาว
3.ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนสารอาหาร
4.ปัจจัยทางเมแทโบลิก ฮอร์โมนบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ โดยยับยั้งการกินสิ่งแปลกปลอมเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
5.ลักษณะทางกานวิภาค ความผิกปกติจากผิวหนัง เยื่อบุ ทำให้เกิดการติดเชื้อง่าย
6.ปัจจัยเกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพ ถ้าจุลชีพประจำถิ่นเกิดการทำลาย เชื้อจุลชีพก็จะเกิดการเพิ่มจำนวน
7.ลักษณะทางสรีระ เช่น ควมเป็นกรดของน้ำย่อย การไหลของน้ำปัสสาวะ ฯลฯ ถ้าสิ่งเหล่านี้ผิดปกติเชื้อโรคก็เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย