Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ 66 ปี Pneumonia with Sepsis with…
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ 66 ปี Pneumonia with Sepsis with septic shock U/D :โรคหอบหืด มากกว่า 30 ปี ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มากกว่า 10 ปี
Pneumonia
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
โรคปอดอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคเข้าไปในปอดทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อ ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อส่งผลให้เกิดถุงลมในปอดอักเสบ การอักเสบนี้อาจทำให้ถุงลมเต็มไปด้วยหนองและของเหลว ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบโรคปอดอักเสบสามารถเกิดได้ทั้งจากแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ ได้แก่ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี มีพฤติกรรมสุขภาพสูบบุหรี่ มีโรคร่วม เช่น เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง โรคทางระบบประสาท กรดไหลย้อน
หัวใจวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะทุพโภชนาการ ไตวายเรื้อรัง หรือมีค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่นความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำ ฮีโมโกลบินต่ำ BUN(blood urea nitrogen) สูง หรือ Creatinine (Cr) สูง
กรณีศึกษา
-เล่นกับสุนัขและแมว
-อายุ 66 ปี
ผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด มากกว่า 30 ปี ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มากกว่า 10 ปี
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจะมีอาการและ
อาการแสดงของระดับความรู้สึกตัวที่เปลี่ยนแปลง สับสน มึนงง หรือง่วงซึม มีอุณหภูมิร่างกายต่ำหรือสูงผิดปกติ เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว และพร่องออกชิเจน
กรณีศึกษา
-รูปร่างผอม หายใจเหนื่อย หอบ ไม่ทำตามคำสั่ง
กระสับกระส่ายบางครั้ง
ริมหนังแห้ง ริมฝีปากแห้ง
ฟังเสียงปอดพบเสียง Crepitation both lung Moter power grade 4 all อวัยวะส่วนปลายและเล็บซีดเล็กน้อย Capillary refill time 3 วินาที ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
V/S T=39.4 C R=26 ครั้ง/นาที BP 140/80 mmHg O2 Saturation 93%
พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
พยาธิสภาพของโรคปอดอักเสบ จะเริ่มขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังกํารติดเชื้อ และแสดงอาการรุนแรงภายใน 4-5 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในรายที่มีอาารรุนแรงหรือรักษาไม่ทันท่วงที กํารอักเสบของปอดจะไปขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ ผู้ป่วยจะเกิดภาวะพร่องออกซิเจนอย่างรุนแรง แม้จะได้รับออกซิเจนอยู่ก็ตาม ซึ่งเรียกอาการนี้ว่า ภาวะหายใจล้มเหลว (respiratory failure) ส่งผลให้อวัยวะต่างๆทํางานล้มเหลวไปด้วยนําไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหายใจล้มเหลวมี 2 ลักษณะคือ การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute hypercapnic respiratory failure) และการหายใจล้มเหลวเรื้อรัง (chronic respiratory failure)
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด มากกว่า 30 ปี ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มากกว่า 10 ปี
หายใจเหนื่อยหอบ ไม่ทำตามคำสั่ง กระสับกระส่ายบางครั้ง ริมหนังแห้ง ริมฝีปากแห้ง ฟังเสียงปอดพบเสียง Crepitation both lung อวัยวะส่วนปลายและเล็บซีดเล็กน้อย Capillary refill time 3 วินาที
V/S T=39.4 C R=26 ครั้ง/นาที BP 140/80 mmHg O2 Saturation 93% WBC 19,540 cell/mm3
การรักษา
ทฤษฎี
ยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทานสำหรับอาการปอดอักเสบ ซึ่งยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่สามารถรักษาโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรียได้ ควรกินยาปฏิชีวนะให้ครบคอร์สเสมอ แม้ว่าจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม ซึ่งหากกินไม่ครบตามแพทย์สั่ง เชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายไม่หมด และการรักษาจะหายได้ยากขึ้นในอนาคตยาปฏิชีวนะไม่สามารถใช้ได้กับโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส แพทย์อาจสั่งยาต้านไวรัส และบางครั้งโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสสามารถหายได้เองจากการรักษาตัวที่บ้าน
ยาต้านเชื้อราใช้ในการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อรา ซึ่งโดยปกติแล้วการรักษาจะใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อกำจัดเชื้อ
กรณีศึกษา
- Valium 10 mg V ก่อนใส่ ETT - on ETT No.7.5 Mark 22 cm - CXR หลังใส่ ETT
- Sputum G/S, C/S
- Berodual 1 NB ทุก 8 hrs.
- Paracetamol 500 mg 1-tab oral prn q 4-6 hr.
- Bisolvon 1x3 pc
- Acetylcysteine 200 mg 1ซอง tid pc
- Amlodipine (5) 1x1 pc เช้า
- Zertine 1 tab hs
- Ceftriaxone 2 gm V ทุก 8 hrs
- 5% D/N/2 1000 cc. vein drip 1,000 cc ใน 1 ชั่วโมงแรก ต่อไป 120 ml/hr
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมถึง1. อาการของโรคเรื้อรังแย่ลง หากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพบางอย่างอยู่แล้ว โรคปอดอักเสบอาจทำให้อาการแย่ลงได้ รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว ในบางรายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย
- การติดเชื้อในกระแสเลือด โดยแบคทีเรียจากการติดเชื้อปอดอักเสบอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถนำไปสู่ความดันโลหิตต่ำจนเป็นอันตราย เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ และในบางกรณี อวัยวะภายในทำงานล้มเหลว
- ฝีในปอดจากปอดมีหนอง การใช้ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาได้ แต่บางครั้งอาจต้องระบายหรือผ่าตัดเอาหนองออก
- ภาวะหายใจลำบาก ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ภาวะหายใจลำบากเฉียบพลัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่รุนแรงจากการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว เป็นเหตุฉุกเฉิน ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หากไม่รักษาโรคปอดอักเสบ อาจมีของเหลวรอบๆ ปอดในเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดเป็นเยื่อบาง ๆ ที่อยู่ด้านนอกของปอดและด้านในของซี่โครง ของเหลวดังกล่าวอาจติดเชื้อและจำเป็นต้องระบายออก
- ไต หัวใจ และตับถูกทำลาย อวัยวะเหล่านี้อาจเสียหายหากไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ หรือหากเกิดปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกันมากเกินไป
- เสียชีวิต ในบางกรณี โรคปอดอักเสบอาจถึงแก่ชีวิตได้ จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในสหรัฐอเมริกา (CDC) ในปี 2562 ผู้ป่วยเกือบ 44,000 คนในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบ
-
การพยาบาล
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ได้แก่ ดูแลดูดเสมหะและสอนการไอขับเสมหะอย่างมีประสิทธิภาพประเมินปริมาณ ลักษณะและสีของเสมหะ และประเมินเสียงปอดด้วยการฟังปอดจากซ้ายไปขวาจากบนลงล่าง ทุก 2 ชั่วโมง2.จัดท่านอนศีรษะสูง Fowler position 30-45 เนื่องจากให้ผู้ป่วยหายใจ
สะดวกเคาะปอดเพื่อให้เสมหะหลุด3.พ่นยา Berodual 1 NB q 8 hrs.ตามแผนการรักษา4.ติดตามผลlab การตรวจ x-ray ผลการตรวจเลือด ตาม
แผนการรักษาของแพทย์
- สังเกตและประเมินภาวะพร่องออกซิเจน เช่นหน้าแดง กระสับกระส่าย หายใจติดขัด หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว
6.ประเมินสัญญาณชีพและ 02 sat ทุก 2-4
ชั่วโมง โดยเฉพาะการประเมินอัตราการหายใจและการดูแลวัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง ถ้ามีไข้อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5Cพิจารณาให้ยาลดไข้ และดูแลเช็ดตัวลดไข้
ความหมาย
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิด
ได้จากเชื้อแบคทีเรีย เชื่อไวรัสและเชื้อรา สาเหตุของโรคจะมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุและ สภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ในผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบสูงมาก เช่น การติดเชื่อในกระแสเลือด หรือ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตสูง
Sepsis
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
และเชื้อก่อโรคที่สำคัญในภาวะติดเชื้อ
ภาวะติดเชื้อเกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ และก่อให้เกิดการอักเสบกระจายไปทั่วร่างกาย สาเหตุหลักเกิดจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อก่อโรค (pathogen) และปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (host response) เชื้อก่อโรคที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา (Wiens ct al. 2012) นอกจากนี้ชนิดของเชื้อโรค และความเสี่ยงในการติดเชื้อยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านร่างกายของผู้ป่วย (host factors) ได้แก่ อายุ ภาวะโรคร่วม หรือโรคประจำตัว และลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ สามารถจำแนกชนิดของเชื้อก่อโรคตามอายุและตามปัจจัยต่างเสี่ยงต่างๆ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดัน หอบหืด ประสิทธิภาพการทำงานเม็ดเลือดขาวทำร้ายเชื้อโรคลดลง ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
อาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1) อาการเฉพาะที่หรือเฉพาะอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น หากมีอาการไอและเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจ อาจพบว่ามีการติดเชื้อที่ปอดหรือเยื่อหุ้มปอด หรือมีอาการปวดหลังและปัสสาวะบ่อย แสดงว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อที่กรวยไต เป็นต้น
2) อาการแสดงทางผิวหนัง เกิดจากการที่เชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด กระจายมาสู่บริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดรอยขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งในบางรอยนั้นอาจมีลักษณะที่ไม่จำเพาะ อย่างเช่นเป็นตุ่มหนองธรรมดา และในบารอยนั้นมีลักษณะจำเพาะที่สามารถบอกได้ถึงชนิดของเชื้อ
3) อาการที่เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือเป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการ
อักเสบทั่วร่างกาย เช่น มีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเชลเซียส ในบางรายอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย มีชีพจรเต้นเร็วขึ้นเกิน 90 ครั้งต่อนาที และหายใจเร็วเกิน 20 ครั้งต่อนาทีเป็นต้น
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมาด้วยอาการ มีไข้สูงอุณหภูมิร่างกาย 39.4 องศสเซลเซียส มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ชีพจร 96 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที มีอาการอ่อนเพลีย
พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
เป็นผลจากภาวการณ์ติดเชื้อที่เกิดจากกระบวนการ
อักเสบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในระยะแรกร่างกายจะอยู่ในภาวะ hypo-dynanic state โดยจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vasodilatation) ส่งผลให้ร่างกายขาด
สารน้ำที่จะให้ระบบไหลเวียน โลหิตนำไปสูบฉีด (hypovolemia)ประกอบกับการทำงานของหัวใจที่แย่ลงเป็นผลจาก cytokinesต่างๆที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวและกระบวนการอักเสบ
ที่มีอยู่ทำให้ปริมาณของออกชิเจนที่ถูกขนส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆลดลงในขณะที่เนื้อเยื่อะที่เนื้อเยื่อต่างๆมีความต้องการออกซิเจนมากขึ้นจากอัตราการเผาผลาญในร่างกายที่เพิ่มขึ้นทำให้เนื้อเยื่อทั่ว
ร่างกายเกิดภาวะขาดออกชิเจนอย่างรุนแรง
กรณีศึกษา
ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สมดุลหรือลดลงทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง เกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายสู่กระแสเลือด
การรักษา
ทฤษฎี
การใช้ยาปฏิชีวนะ
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจะได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียครอบคลุมหลายประเภท เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที และแพทย์อาจยังไม่สามารถระบุประเภทของเชื้อได้อย่างเฉพาะเจาะจงในเวลาอันสั้น โดยแพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะที่คาดว่ามีผลในการรักษาผู้ป่วยเข้าหลอดเลือดดำภายใน 6 ชั่วโมงแรกหรือเร็วกว่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อได้ผลตรวจเลือดแล้ว แพทย์จึงจะเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาประเภทของเชื้อได้เฉพาะเจาะจง โดยจะเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะแบบเม็ดให้ผู้ป่วยหลังจากระยะวิกฤตผ่านไปแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาในช่วงระยะเวลา 7–10 วัน หรือนานกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละรายการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
แพทย์จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ ทั้งนี้ สารน้ำที่ให้แก่ผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อในกระแสเลือดจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำและไตล้มเหลว โดยแพทย์จะให้สารน้ำภายใน 24–48 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ยาเพิ่มความดันโลหิต
ผู้ป่วยบางรายหากยังมีความดันโลหิตต่ำอยู่หลังจากได้รับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ แพทย์อาจให้ยาเพิ่มความดันโลหิต โดยยานี้จะทำให้หลอดเลือดตีบลงและช่วยเพิ่มความดันโลหิต
การดูแลผู้ป่วยตามอาการ
ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอาจจำเป็นต้องต่อท่อหรือใส่หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น หากผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ไต แพทย์อาจทำการฟอกไตเพื่อกำจัดของเสียในร่างกายออกการผ่าตัด
หากต้นเหตุของการติดเชื้อมากจากฝีหรือแผลที่ทำให้ลุกลามได้นั้น อาจต้องเจาะเอาหนองออกมา ส่วนผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออกไป และรักษาเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหาย
กรณีศึกษา
1.ให้ยาปฏิชีวนะ Ceftriaxone 2 g V ทุก 8 hrs.
2.มีเพาะเชื้อ sputum G/S,C/S
3.ดูแลผู้ป่วยให้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
4.สังเกตอาการข้างเคียงจากการให้ยาCeftriaxone
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย (Sepsis) เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรีย หากอาการรุนแรงอาจส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ และไตวายได้ ภาวะนี้พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (Septic Shock) เป็นผลจากการติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรง ทำให้ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อตายได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
เนื้อตายเน่า (Gangrene) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เนื้อเยื่อตายและเกิดการเน่า หากอาการรุนแรงอาจต้องตัดอวัยวะที่ได้รับผลกระทบออกไปด้วย เช่น แขนและขา
ภาวะหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงปอดอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ยังทำให้ปอดเสียหายถาวร และส่งผลกระทบต่อสมองจนนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับความจำ
กรณีศึกษา
เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดทำให้อวัยวะในร่างกายล้มเหลวจึงเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
-
การพบาบาล
- ค้นหาสาเหตุของการติดเชื้อ เก็บอุจจาระส่งตรวจและเพาะเชื้อ ส่งเลือดตรวจเพาะเชื้อ
2.ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพอาการและอาการแสดงทุก 15นาทีในชั่วโมงแรกที่ให้สารน้ำทุกๆ 30นาทีในชั่วโมงที่ 2 แล้วยืดเวลาออกไปเป็นทุกๆ 4 ชั่วโมง3.ลดปัจจัยจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดภาวะการติดเชื้อเพิ่มขึ้นใช้เทคนิคในการพยาบาลอย่างมีมาตรฐานเทคนิคปลอดเชื้อต่างๆ ล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังให้การพยาบาล4.ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยรักษาความสะอาดของปากและฟันเช็ดทำความสะอาดร่างกาย5.ติดตามผลดรวจทางห้องปฏิบัติการโดยดูจากเม็ดเลือดขาว (WBC) และค่านิวโดรฟิว (neutrophil)6.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Ceftriaxone 2 กรัม ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง ตามแผนการรักษาของแพทย์
ความหมาย
คือการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย โดยผู้ป่วยมักเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน จากนั้นแบคทีเรียจึงแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด และก่อให้เกิดความผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น มีการอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก และมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรงพยาบาล
Septic scok
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
ภาวะ Septic Shock เป็นผลมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส โดยมักเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
นอกจากนี้ บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้อาจเสี่ยงเกิดภาวะ Septic Shock ได้มากกว่าคนทั่วไป
-ผู้สูงอายุ
-ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคไข้รูมาติก โรคมะเร็ง เป็นต้น
-หญิงตั้งครรภ์
-เด็กแรกเกิด
-ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
-ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดและพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
-ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี
-ผู้ที่ต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่อาจเสี่ยงทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายจนเกิดการติดเชื้อได้ เช่น ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ สายสวนปัสสาวะ หรือใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องได้รับการฉีดยา
กรณีศึกษา
ผู้สูงอายุ อายุ66ปี -ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีการติดเชื้อภายในร่างกาย ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเบาหวานความดันโลหิตสูง หอบหืดเป็นมา10ปี
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
อาจเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยจะส่งผลให้มีความดันโลหิตต่ำผิดปกติ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีให้น้ำเกลือ รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นร่วมด้วย
-สับสนเฉียบพลัน
-เวียนศีรษะ
-ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ
-มีปัญหาในการหายใจอย่างรุนแรง
-พูดไม่ชัด
-ริมฝีปากเขียวคล้ำ
-ผิวหนังซีดและเย็น
-คลื่นไส้ อาเจียน
-ท้องเสีย
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมาด้วยอาการ มีไข้สูงอุณหภูมิร่างกาย 39.4 องศสเซลเซียส มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ชีพจร 96 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที มีอาการอ่อนเพลีย
พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
ภาวะช็อกเกิดจากการติดเชื้อ หากเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบจะเกิดจากเอ็นโดท็อกซิน ซึ่งสามารถทำลายเนื้อเยื่อและหลออดเลือดฝ่อยทำกระต้นให้เกิดการอักเสบทำให้พลาสมาและเม็ดเลือดขาวมายังบริเวณ
ที่ติดเชื้อ มีการหลั่งสารเคมี เช่น คอมพลีเมนต์ อีสตามีน แบรดีใคนินเป็นต้น ทำให้หลอดเลือดขยายทั่วร่างกาย มีการทำลายเนื่อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อซึ่งเป็น สาเหตุของภาวะช็อก ในระยะแรกหัวใจจะ
เพิ่มปริมาณเลือกที่บีบออกจากหัวใจในเเต่ละครั้ง หัวใจจะเต้นเร็วและแรงขึ้นจะมี CO ลดลง บริเวณที่มีการติดเชื้อจะมีสารไซโตไคน์ที่หลั่งออกมาจากเม็ด เลือดขาว เกล็ดเลือด และผนังหลอดเลือดอยู่ ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อทำลายเชื้อโรคเพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยให้เเผลหาย หากมีการติดเชื้อ
รุนเเรงสารไซโตไคน์ที่มีปริมาณมากจะหลั่งเข้าไปในกระเเสเลือด
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องทำให้ร่างกายมีการติดเชื้อ ทำให้หลอดเลือดขยายตัวทั่วร่างกายมีการทำร้ายเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะช็อก
การรักษา
ทฤษฎี
การรักษาภาวะ Septic shock ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุของการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งวิธีการรักษาที่แพทย์อาจนำมาใช้ มีดังนี้การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับผู้ป่วย โดยการได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มที่มีอาการจะช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ซึ่งวิธีการให้ยาที่นิยมมากที่สุด คือ การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ หากพบตำแหน่งของการติดเชื้อที่ชัดเจน เช่น แผล ฝี หนอง เป็นต้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคดังกล่าวออกไป
การรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เป็นปกติ เป็นการให้สารน้ำเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานเป็นปกติ แต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยากระตุ้นความดันโลหิต ยากระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้อินซูลิน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ แพทย์อาจให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยผ่านท่อหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
กรณีศึกษา
1.การรักษาโรค ได้แก่ การจัดการที่สาเหตุของการติดเชื้อ และการให้ยาปฏิชีวนะ
2.การรักษาตามอาการและประคับประคอง
2.1ดูแลเครื่องช่วยหายใจ
2.2 รักษาภาวะกรด-ด่าง เพราะผู้ป่วยมักมีภาวะ metabolic acidosis แก้ไขโดยSodium Bicarbonate
2.3ให้ IV Fuid อย่างเพียงพอ ติดตาม CVP,POWP และ ปริมาณปัสสาวะ
2.4ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ อาจต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น Dopamine , dobutamine
2.5ให้ยา Vasopressor เช่นDopamine ขั้นสูง adrenaline ,noradrenaline
2.6 ให้ Steroid ขนาดสูง
2.7 I immonotheraputic Tnanali rie endotoxin
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
ผู้ป่วยภาวะ Septic Shock อาจเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ตับวาย ภาวะการหายใจล้มเหลว ความผิดปกติด้านการแข็งตัวของเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุ ระยะเวลาในการเริ่มต้นรักษา สาเหตุและตำแหน่งของการติดเชื้อในร่างกาย และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
กรณีศึกษา
การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้เคสกรณีศึกษา มีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดเกิดอวัยวะล้มเหลวเกินภาวะช็อคหลังการติดเชื้อ
การพยาบาล
1.ประเมิน SOS score ทุก 4 ชั่วโมง
2.ให้การพยาบาลโดยยีตหลัก aseptic technique
3.ตูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ 5% D/N/2 1000 cc. vein drip 1,000 cc
ใน 1 ชั่วโมงแรก ต่อไป 120 m/hr
4.ดูแลให้ได้รับยา Ceftriaxone 2 gm v ทุก 8
ตามแผนการรักษาของแพทย์และติดตามอาการข้างเคียงหลังยา ได้แก่ ผื่น บวมแดงบริเวณที่ฉีด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
5.บันทึกสัญญาณชีพและบันทึกสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย ทุก2 ชั่วโมง
6.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น เหงื่อออก ตัวเย็นปวตตะคริวกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย เหงื่อออก ผิวหนังชีด หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเบาหายใจหอบถี่
ความหมาย
เป็นภาวะอาการที่มักเกิดหลังการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีระดับความดันโลหิตลดต่ำผิดปกติจนเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะทำงานลดลงหรือทำงานผิดปกติ