Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของวัสดุ วัสดุแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง - Coggle Diagram
ประเภทของวัสดุ วัสดุแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
โลหะ
เป็นตัวนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก
ไม่ยอมให้แสงผ่าน
ผิวของโลหะที่ขัดเรียบจะมีลักษณะเป็นมันวาว
มีจุดเดือดและ จุดหลอมเหลวสูง ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง(ยกเว้นปรอทซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว)
โลหะมีความแข็ง และเหนียว จึงสามารถแปรรูปได้จึงถูกใช้งานในด้านโครงสร้างอย่างกว้างขวาง[1][2]
ธาตุที่มีสมบัติความเป็นโลหะสูง คือ ธาตุที่สามารถให้ หรือสูญเสียอิเล็กตรอนแก่ธาตุอื่น ๆ ได้ดี
วัสดุฉลาด
เซนเซอร์ (sensors) คือตัวที่ทำหน้าที่รับแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
เส้นใยนำแสง
วัสดุเพียโซอิเล็กทริก
อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องกลระดับไมโคร
แอคทูเอเตอร์ (actuator) คือส่วนที่มีหน้าที่ตอบสนองและปรับเปลี่ยนรูปร่าง ตำแหน่ง ความถี่ธรรมชาติ หรือลักษณะเฉพาะทางกลอื่นๆ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ สนามไฟฟ้า และหรือสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีวัสดุอยู่ 4 ประเภทที่ใช้ทำแอคซูเอเตอร์ ได้แก่
โลหะผสมจำรูป (shape memory alloys)
เซรามิกที่เป็นเพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric ceramics)
วัสดุแมกนีโตสตริกทีฟ (magnetostrictive materials)
ของไหลอิเล็กโตรรีโอลอจิคอล หรือ แมกนีโตรีโอลอจิคอล (electrorheological/magnetorheological fluids)
สารกึ่งตัวนำ
สารกึ่งตัวนำ (อังกฤษ: semiconductor) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง
ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้
สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเติมสารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำแท้ เช่น ซิลิกอน หรือเยอรมันเนียม เพื่อให้ได้สารกึ่งตัวนำที่มีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้น สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สารกึ่งตัวนำประเภทเอ็น (N-Type) และสารกึ่งตัวนำประเภทพี (P-Type)
เซรามิก
เซรามิกสามารถนำมาประยุกต์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ได้มากมาย อาทิ หม้อไหถ้วยชาม เครื่องเคลือบดินเผา อิฐ กระเบื้องเคลือบ วัสดุประเภทซีเมนต์ แก้ว และวัสดุทนไฟ เป็นต้น ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาได้มีความเจริญก้าวหน้าในกระบวนการผลิต ตลอดจนมีความเข้าใจในลักษณะพื้นฐาน และกลไกที่ควบคุมคุณสมบัติของเซรามิก ทำให้มีการพัฒนาเซรามิกประเภทใหม่ ๆ มากมาย คำว่าเซรามิกจึงมีความหมายที่กว้างขึ้นรวมถึงเซรามิกที่มีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ด้วย โดยวัสดุเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้ในงานต่าง ๆ เช่น
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ฉนวนไฟฟ้า
วัสดุขัดเจียร
ชิ้นส่วนยานอวกาศ
ภาชนะ และเครื่องครัว (Table ware)
เครื่องประดับตกแต่ง (Decoration & Garden ware)
เครื่องสุขภัณฑ์