Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมืองอาเซียน - Coggle Diagram
การแสดงพื้นเมืองอาเซียน
ญี่ปุ่น
คาบูกิ (ญี่ปุ่น: 歌舞伎; โรมาจิ: kabuki) เป็นศิลปะการแสดงของญี่ปุ่น โดยมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ โดยมีเนื้อเรื่อง 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไรและเรื่องราวชีวิตของชาวเมือง
คาบูกิเริ่มต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 โดยมีการเปิดการแสดงในเกียวโต โดยคณะละครที่ประกอบด้วยผู้ร่ายรำสตรีที่นำโดยผู้ดูแลศาลเจ้าอิซูโมะ แต่หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1629 ได้มีประกาศรัฐบาลห้ามสตรีแสดงด้วยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาศีลธรรมของประชาชน ดังนั้นคะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชายและเมื่อรัฐบาลห้ามมิให้ผู้หญิงแสดง คาบูกิจึงแสดงโดยผู้ชาย เช่น ผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว เวทีละครสร้างอย่างวิจิตรงดงาม เป็นต้น
การเเต่งหน้าการเเต่งกาย คาบูกินั้นจะเน้นความฉูดฉาดอลังการ มีเอกลักษณ์ที่การแต่งหน้านักแสดงที่เรียกว่า คุมาโดริ (Kumadori) โดยจะทาหน้าเป็นสีขาวและวาดลวดลาย ซึ่งแบ่งสีออกเป็น สีแดงคือฝ่ายดี สีฟ้าคือฝ่ายร้าย สีน้ำตาลคือตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ นอกจากนี้ยังใส่วิกผมและสวมชุดหรูหราสวยงาม
บุคคลสำคัญ
คาบุกิเป็นการแสดงที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในญี่ปุ่น เกิดขึ้นจากการแสดงของไมโกะชื่อ อิซูโม โนะ คูโอนิ เธอดัดแปลงการร่ายรำเพื่อถวายเทพเจ้าของศาสนาชินโตมาเปิดการแสดงที่ริมฝั่งแม่น้ำของเกียวโต การแสดงของเธอเป็นที่กล่าวขวัญจนได้ไปแสดงให้พระจักรพรรดิชมและได้มีการก่อตั้งคณะละครแบบเธอขึ้นมาโดยนักแสดงเป็นหญิงล้วนทั้งหมด
เอกลักษณ์ของคาบูกิ ต่างจากละครโนห์ที่เป็นการแสดงชั้นสูง คาบูกิเป็นการแสดงละครสำหรับชาวบ้านทั่วไป จึงเป็นการแสดงที่สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ เรื่องราวที่นำมาเล่นได้แก่ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ตำนานซามูไรหรือวีรบุรุษ เรื่องราวในชีวิตของชาวบ้าน เช่น ความรัก เรื่องเศร้า หรือเหตุการณ์บ้านเมืองในตอนนั้น เป็นต้น ปัจจุบันมีการประยุกต์เอาการ์ตูนหรือเรื่องราวใหม่ๆ มาเล่นด้วยสเน่ห์ของการแสดงคาบูกิคือการบรรเลงดนตรีสด บทพูดและร้องที่ทรงพลัง การร่ายรำที่อ่อนช้อยแม้เป็นผู้ชาย และการแสดงสีหน้าท่าทางอย่างเกินจริง
-
จีน
-
นาฏศิลป์จีนเกิดจากระบำทรงเจ้าในพิธีทางศาสนาหรือเรียกว่า ”รามาอู๋อู“ นับเป็นศิลปะที่เก่าแก่มากที่สุด จุดประสงค์ในการแสดง เพื่อบำบัดภัยอันตรายจากธรรมชาติ บำบัดความเจ็บไข้ และความทุกข์ทั้งปวง
ในสมัยราชวงศ์โจวศิลปะทางนาฏศิลป์ของจีนมีหลากหลาย เช่น ละครใบ้ ละครตลก การขับกล่อม การเล่านิทานประกอบดนตรี เพลงพื้นบ้าน นาฏศิลป์มีทั้งที่เป็นของชาวบ้าน และในราชสำนัก แต่เจริญสูงสุดในราชวงศ์ถัง โดยจักรพรรณ ”มิ่งฮวง“ ทรงเชี่ยวชาญนาฏศิลป์ และการดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ทรงจัดตั้งวิทยาลัยการละครในพระราชอุทยานสวนสน นครเชียงอาน ทรงอุปถัมภ์ค้ำจุนนาฏศิลป์ทุกแขนง ชาวนาฏศิลป์จีนยกย่องท่าเป็นบิดาแห่งการละคร และบูชาพระพุทธรูปก่อนการแสดงทุกครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคล
การแสดงนาฏศิลป์จีนโบราณจะไม่มีฉากใช้วิธีสมมุติ ผู้แสดงต้องรับการฝึกเป็นระยะเวลานาน เพราะต้องฝึกร้องเพลง เต้นระบำ ฝึกกายกรรม ผู้แสดงต้องมีพรสวรรค์ มีความสามารถรอบด้าน ความจำดีเป็นเยี่ยม ต้องจำบทเจรจาได้ เพราะการแสดงนาฏศิลป์จีนจะไม่มีการบอกบท
-
เกาหลี
จุดเด่นของนาฏศิลป์เกาหลีคือ มีลักษณะคล้ายนาฏศิลป์สเปน คือผู้แสดงเคลื่อนไหวทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ตะวันตกและนาฏศิลป์ตะวันออกเข้าด้วยกัน ซึ่งนาฏศิลป์ตะวันตกเน้นหนักในการใช้ขาและร่างกายส่วนล่าง แต่นาฏศิลป์ตะวันออกจะใช้ส่วนไหล่ แขน และมือประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ในประเทศเกาหลีนาฏศิลป์เกาหลีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในราวศตวรรษที่ 3 นาฏศิลป์เกาหลีในสมัยโบราณใช้แสดงในพิธีทางศาสนา วิวัฒนาการของนาฏศิลป์เกาหลีก็ทำนองเดียวกับของชาติอื่น มักจะเริ่มและดัดแปลงให้เป็นระบำปลุกใจในสงคราม เพื่อให้กำลังใจแก่นักรบ หรือเป็นการร้องรำทำเพลงในหมู่ชนชั้น
การแต่งกาย ประกอบไปด้วย ชุดฮันบก และในบ้างครั้งอาจจะมี อุปกรณ์เสริมอย่าง พัด หน้ากาก หรืออีกหลายๆอย่างขึ้นมา
การร่ายรำแบบดั้งเดิมของเกาหลีมีความคล้ายคลึงกันบางอย่างกับรูปแบบการเต้นร่วมสมัย โดยเน้นที่การเคลื่อนไหวไปตามเส้นโค้ง จุดเด่นคือขาและเท้าของนักเต้นมักจะซ่อนอยู่ในชุดฮันบก
ลักษณะทางอารมณ์ของการเต้นรำมีทั้งอารมณ์ความเศร้าและความยินดี นักเต้นต้องสามารถแสดงการเคลื่อนไหวอย่างไหลลื่นไปกับดนตรีแบบดั้งเดิม การเต้นรำแบบดั้งเดิมของเกาหลีมักใช้กับดนตรีเกาหลีแบบดั้งเดิม รวมทั้งกลองแบบดั้งเดิม, ขลุ่ย และอื่น ๆ
-
-
-
-
-
อินเดีย
-
1.ภารตนาฏยัม เป็นนาฏศิลป์ของอินเดียตอนใต้ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้หญิงแสดงและนิยมแสดงเดี่ยว มีการใช้จังหวะเท้าที่รวดเร็ว-การแต่งกาย ผู้หญิงจะสวมเสื้อรัดรูป คอกว้าง แขนสั้น ห่มสาหรี เจิมจุดแดงกลางหน้าผาก
2.กถัก เป็นนาฏศิลป์ของอินเดียตอนเหนือ นิยมแสดงเดี่ยว ผู้แสดงอาจเป็นหญิงหรือชายก็ได้ เป็นการผสมวัฒนธรรมฮินดูและมุสลิม-การแต่งกาย ผู้หญิงสวมเสื้อคอกว้าง แขนสั้น เอวลอย ใช้สาหรีคลุมผม ผู้ชายใช้ผ้าโพกศีรษะ
3.มณีปุรี ผู้แสดงจะต้องมีความสามารถ มีฝีมือ การแสดงมีสองรูปแบบ คือ ระบำกับละคร เนื้อเรื่องที่แสดงนำมาจากวรรณคดี-แต่งกายคล้ายชาวยุโรป คือ นุ่งกระโปรงบาน ที่เรียกว่า “สุ่ม” มีลวดลายสวยงามมาก