Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน - Coggle Diagram
บทที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ชุมชนเข้มแข็ง
การที่สมาชิกในชุมชน เข้าร่วมคิด ร่วมทำ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ ความร่วมมือกันในชุมชนจะทำให้มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆและจะทำให้เกิดผู้นำตามธรรมชาติ
ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง
สมาชิกชุมชนมีความเชื่อมั่นว่าตนและคนในชุมชนสามารถแก้ไขปัญหา
และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองได้
สมาชิกชุมชนรักที่จะพึ่งตนเอง มีความเอื้ออาทร รักห่วงใยกันและพร้อมที่จะจัดการกับปัญหาของตนและชุมชนร่วมกัน
สมาชิกเลือกผู้นำชุมชน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้แทนชุมชนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีการตัดสินใจและทำงานร่วมกันในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นวิถีชีวิตของชุมชนโดยมีผู้นำร่วมผลักดันอย่างแข็งขัน
สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมประเมินสภาพปัญหาของชุมชน ร่วมกำหนดอนาคตของชุมชน ร่วมคิด ตัดสินใจ ดำเนินงาน ติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชน
สมาชิกชุมชนเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองและชุมชน จากการเข้าร่วมเวทีชาวบ้านและการทำงานร่วมกัน
มีแผนของชุมชนในการพัฒนาทุกด้าน โดยมุ่งพึ่งตนเองเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คนและหวังผลการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพึ่งภายนอกเป็นการพึ่งเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุดไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
มีเครือข่ายความร่วมมือกับหมู่บ้าน ชุมชนอื่น ท้องถิ่น หน่วยงานและบุคคคต่าง ๆ ในลักษณะความสัมพันธ์แบบเพื่อนแท้
มีการแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
มีบุคคลที่มีความหลากหลายที่รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชนที่เป็นทางการหรือไม่ก็ตาม
การมีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะร่วมกันของสมาชิกในชุมชน
การมีจิตสำนึกของการพึ่งพาตนเองและรักษาเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมกันทำและรับผิดชอบต่อกันในชุมชน
การมีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมกันรับผิดชอบ
มีการระดมการใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
การมีการเรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกันหลากหลายรูปแบบ
มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะประโยชน์ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
มีการจัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายของชุมชนสืบทอดต่อๆ กัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน
ผู้นำในชุมชน ถ้าชุมชนใดก็ตามมีผู้นำที่มีความรู้มีวิสัยทัศน์
ที่ก้าวไกล มีความเสียสละ และมีความอดทน
ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
ระบบความสัมพันธ์เชิงสังคมที่แน่นแฟ้น
การบริหารจัดการที่ดี เป็นลักษณะภายในชุมชนที่มีหลักการบริหารจัดการที่ดีในการบริหารโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน
แนวคิด แนวทาง การดำเนินงานให้เกิดความเข็มแข็งของชุมชนนั้น
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC)
กระบวนการวิเคราะห์ภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis)
กระบวนการวิเคราะห์มุมมองและสภาพงานขององค์กร (Balanced Score Card)
กระบวนการประชาคม ประชาสังคม (Civil Society)
กระบวนการสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพรวมถึงการประเมินผลลัพธ์ด้วยตนเอง
รูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน Cohen and Uphoff(1981)
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making)
การริเริ่มในการตัดสินใจ
การดำเนินการตัดสินใจ
ตัดสินใจปฏิบัติการ
การมีส่วนร่วมปฏิบัติการ (Implementation)
การสนับสนุนในด้านทรัพยากร
การประสานความร่วมมือ
การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits)
การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
กระบวนการของการมีส่วนร่วม
การวางแผน ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา
การดำเนินกิจกรรม ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ และบริหารการใช้ทรัพยากร มีความรับผิดชอบในการจัดสรรควบคุมทางการเงิน
การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ ประชาชนต้องมีความสามารถในการนำเอากิจกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้และ การได้รับประโยชน์ประชาชนต้องได้รับการแจกจ่ายผลประโยชน์จากชุมชนในพื้นฐาน
การมีส่วนร่วมในการประเมินผลเป็นการเปิดโอกาสให้
ชุมชนเข้าร่วมตรวจสอบ และติดตามผล
ระดับของการมีส่วนร่วม
ระดับที่ไม่มีส่วนร่วม (Non-participation)
ประชาชนเป็นผู้รอรับคำสั่ง (Manipulation)
ประชาชนเป็นผู้รับบริการ (Therapy)
ระดับที่ประชาชนมีส่วนร่วมปานกลาง (Degree of Tokenism)
ประชาชนได้รับการบอกเล่า (Informing)
ประชาชนได้รับการปรึกษาหารือ (Consultation)
ประชาชนได้เข้าร่วมโครงการ (Placation)
ระดับที่อำนาจอยู่ที่ประชาชน (Degree of Citizen Power)
ประชาชนและรัฐมีส่วนเท่า ๆ กัน (Partnership)
ประชาชนมีส่วนควบคุมบางส่วน (Delegated Power)
ประชาชนควบคุมเองทั้งหมด (Citizen Control)
นวัตกรรมสุขภาพ
ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์
(Product Innovation)
เชิงพาณิชย์ใหม่ที่ไม่เคยมีใครผลิตหรือพัฒนามาก่อน
นวัตกรรมเชิงกระบวนการ
(Process Innovation)
วิธีการหรือกระบวนการใหม่ๆมาใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เน้นเรื่องการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
นวัตกรรมเชิงรูปแบบบริการ
(Service Model Innovation)
นำแนวคิดในการดำเนินงานใหม่ๆที่มีความสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบคำนึงถีงความต้องการของผู้ใช้บริการ
กระบวนการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น
การอนุรักษ์
การที่บอกหรือสร้างคุณค่าของดีที่เรามีอยู่ให้ปรากฏด้วยวิธีการต่างๆ
การฟื้นฟู
การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไปหรือกำลังจะเลิกให้กลับมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง
การพัฒนาต่อยอด
การนำภูมิปัญญาชุมชนมาบูรณาการด้วยศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
การต่อยอดภูมิปัญญา
เป็นการสร้างทางเลือกใหม่ขึ้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นการเอาไปทดแทนภูมิปัญญาดั้งเดิม
การใช้ยาที่ถูกต้อง
การใช้ยาแผนปัจจุบันกับสมุนไพรร่วมกัน
มะขามแขก เกิดปฏิกิริยากับยาขับปัสสาวะ
ขิง แปะก๊วย เกิดปฏิกิริยากับยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาลดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
ขมิ้นชัน เกิดปฏิกิริยากับยารักษามะเร็ง
โสม เกิดปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษามะเร็ง
ยาสมุนไพรไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ 24 รายการ
กลุ่มยารักษาอาการของระบบทางเดินอาหาร
ยาขมิ้นชัน ยาขิง ยากล้วย ยาฟ้าทะลายโจร
ยาชุมเห็ดเทศ ยามะขามแขก
กลุ่มยารักษาอาการของระบบทางเดินหายใจ
ยาฟ้าทะลายโจร
กลุ่มยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ยากล้วย
กลุ่มยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ยาขิง
กลุ่มยารักษาอาการทางระบบผิวหนัง
ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ยาทิงเจอร์พลู ยาบัวบกครีม ยาเปลือกมังคุด
ยาพญายอครีม ยาว่านหางจระเข้เจล ยาเมล็ดน้อยหน่าครีม
กลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก
ยาเถาวัลย์เปรียง ยาสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง และยาใช้ภายนอก ได้แก่ ยาพริก ยาไพล ยาน้ำมันไพล
กลุ่มยารักษาอาการระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเจี๊ยบแดง ยาหญ้าหนวดแมว
กลุ่มยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน
ยาบัวบก ยามะระขี้นก ยารางจืด ยาหญ้าปักกิ่ง
ยาถอนพิษเบื่อเมา
ยารางจืด
ยาลดความอยากบุหรี
ยาหญ้าดอกขาว