Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด - Coggle Diagram
บทที่ 7 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด
การพยาบาลในระยะที่ 2 ของการคลอด
ระยะตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนกระทั่งทารกคลอดหมดทั้งตัว ครรภ์แรกใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ครรภ์หลัง
ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
Latent phase
ใช้เวลาประมาณ 10 - 30 นาที
ผู้คลอดจะมีความรู้สึกอยากเบ่ง เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก และจะรู้สึกอยากหลับ เมื่อมดลูกคลายตัว ยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมตนเองได้
Descent phase
ระยะนี้เวลาไม่แน่นอน
ส่วนนําทารกอยู้ในระดับ +2 ถึง +4 ระยะนี้ผู้คลอดจะมีความรู้สึกอยากเบ่งมากขึ้น หายใจเร็ว
Transitional phase
ระยะนี้ใช้เวลา 5-15 นาที
ส่วนนําทารกอยู่ในระดับ +4 และสามารถมองเห็นส่วนนําทางปากช่องคลอด ระยะนี้ผู้คลอดมักจะควบคุมตนเองไม่ได้ เบ่งแรงมากขึ้น ขณะเบ่งจะพบฝีเย็บยืดขยาย โป่งตึงมาก จนกระทั่งคลอดทารกออกมา
ประเมินอาการและอาการแสดงของผู้คลอด
Probable signs
มีอาการปวดถ่ายและปวดเบ่ง (bearing down)
บริเวณปากช่องคลอดถ่างขยาย (gapping) ฝีเย็บโป่งตึง รูทวารหนักบานออก
มดลูกมีการหดรัดตัวรุนแรงและนานขึ้น ประมาณ 60-90 วินาทีต่อครั้ง ทุก 2 นาที
มีมูกเลือด (mucous bloody show) ออกเพิ่มมากขึ้น
มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ
มองเห็นส่วนนําของทารกบริเวณปากช่องคลอด
Positive signs
เป็นอาการแสดงว่าผู้คลอดเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอดแน่นอน ทราบได้จากการตรวจภายในจะคลําไม่พบขอบของปากมดลูก
ประเมินสภาพผู้คลอดและทารกในครรภ์
ประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
ฟังเสียงหัวใจของทารกทุก 5-10 นาที โดยฟังหลังจากมดลูกคลายตัว
ประเมินสภาวะของผู้คลอด
ภาวะขาดน้ํา เช่น อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ คอแห้ง ปากแห้ง
กระเพาะปัสสาวะ การเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกจะกดบริเวณ Urethra หรือ Bladder neck ทําให้ผู้คลอดไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เองหรือถ่ายลําบาก
ประเมินความเจ็บปวด พยาบาลควรประเมินระดับ และลักษณะความปวด และซักถามความต้องการในการบรรเทาความปวด
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
เฝ้าระวังภาวะมดลูกแตก
ประเมินการเคลื่อนต่ำของส่วนนําทารก
การเตรียมคลอด
การเตรียมสถานที่
ห้องคลอด
เตียงคลอด
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สําหรับรับคลอด
การเตรียมผู้คลอด
อธิบายเหตุผลที่ย้ายเข้ามาในห้องคลอด
จัดท่าคลอด
การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การเบ่งคลอด
การตัดฝีเย็บ (EPISIOTOMY)
ชนิดการตัดฝีเย็บที่นิยม
การเตรียมตัวผู้ทําคลอด
การช่วยคลอดปกติ
การทําคลอดศีรษะ
การทําคลอดไหล่และลําตัว
การผูกและตัดสายสะดือ
การแปรผล APGAR 1 นาทีแรก
การพยาบาลในระยะที่ 3 ของการคลอด
ระยะที่นับตั้งแต่ทารกคลอดจนกระทั่งรก และเยื่อหุ้มทารกคลอดครบ โดยปกติจะใช้เวลา 5-30 นาที โดยทั่วไปภายหลังทารกคลอด 5-10 นาที รกจะลอกตัวและคลอดออกมา
การประเมินอาการแสดงของรกลอกตัว
Cord signs
จะมีการเคลื่อนต่ำของสายสะดือ เกิดจากรกลอกตัวเคลื่อนต่ำมาอยู่บริเวณมดลูกส่วนล่าง ทำให้ายสะดือที่ติดอยู่กับรกเคลื่อนต่ำลงมาด้วย พบสายสะดือเหี่ยว คลาย
เกลียวและคลําชีพจรบริเวณสายสะดือเหนือ Land mark ไม่ได้
Vulva signs
จะมีเลือดไหลออกมาให้เห็นภายนอกทางช่องคลอดประมาณ 50 ซีซี ระหว่างที่รกมีการลอกตัว ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีทุกราย อาการแสดงนี้จะพบในการลอกตัวของรกแบบ Matthew Duncan's method
Uterine signs
มีการเปลี่ยนแปลงของมดลูกภายหลังจากที่รกลอกตัวแล้ว โดยมดลูกส่วนบนจะหดตัวโดยเปลี่ยนรูปร่างจากแบนยาวรี (discoid) เป็นกลมแข็ง (globular form)เนื่องจาก รกลอกหลุดออกไปจากตําแหน่งที่เกาะไปสู่ส่วนล่างของมดลูก ทําให้มดลูกส่วนบนหดรัดตัวได้ดีขึ้น ลอยตัวอยู่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเอียงไปทางด้านขวา เพราะด้านซ้ายมีลําไส้ใหญ่ (Sigmoid colon)ขวางอยู่
การพยาบาล
ป้องกันการตกเลือด
ขณะรอรกลอกตัวไม่ควรคลึงมดลูก เพราะจะกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว ทําให้ปากมดลูกปิด (Cervical cramp)
ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะ ถ้าพบว่าน้ําปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมาก ควรกระตุ้นให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะ ถ้าผู้คลอดไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้ อาจพิจารณาสวนปัสสาวะให้
หลังจากที่รกคลอดแล้ว ควรคลึงมดลูกและไล่ก้อนเลือดออก เพื่อกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว และฉีดยาประเภทเออร์กอต (ergot) ซึ่งที่นิยมได้แก่ Methyl-ergonovine (Methergin) หรือออกซิโทซินเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ป้องกันการติดเชื้อ
เนื่องจากในระยะนี้ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ได้รับการพักผ่อนน้อยอาจทําให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
ให้ความอบอุ่นแก่ผู้คลอด
ระยะนี้ผู้คลอดเสียเหงื่อและน้ําออกจากร่างกายมีอาการอ่อนเพลียจากการเบ่งคลอด อาจทําให้มีอาการหนาวสั่น เพื่อปรับความสมดุลของร่างกาย ดังนั้นควรปิดแอร์และห่มผ้าให้
การคลอดรกและเยื่อหุ้มทารก
ให้คลอดเองตามธรรมชาติ
โดยอาศัยแรงเบ่งของผู้คลอด (Bearing down effort) ซึ่งจะช่วยทําให้ความดันภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ผลักดันให้รกเคลื่อนต่ำ และคลอดออกมา
การช่วยคลอดรก
Modified Crede’ Maneuver
Brandt-Andrews Maneuver
Controlled cord traction
ตรวจการฉีกขาดของแผลฝีเย็บและช่องทางคลอด
การฉีกขาดของแผลฝีเย็บ
First degree tear มีการฉีกขาดเฉพาะที่เยื่อบุช่องคลอด และผิวหนังไม่เกิน 2 เซนติเมตร จาก fourchette
Second degree tear มีการฉีกขาดถึงชั้นกล้ามเนื้อ แต่ยังไม่ถึงกล้ามเนื้อรอบรูทวารหนัก
Third degree tear มีการฉีกขาดถึงชั้นกล้ามเนื้อรอบรูทวารหนัก (sphinctor-ani muscle)
Fourth degree tear มีการฉีกขาดถึงชั้นกล้ามเนื้อรอบรูทวารหนัก ตลอดถึงผนังด้านหน้าของลําไส้ตรง (anterior rectum wall)
ระดับความลึกของแผล
ระดับที่ 1 ฉีกขาดเฉพาะผิวหนัง เยื่อบุช่องคลอด ไม่เกิน 2 cms. จาก fourchet
ระดับที่ 2 ฉีกขาดลึกกล้ามเนื้อ ไม่ถึง anal sphincter
ระดับที่ 3 ฉีกขาดถึงหูรูดทวารหนัก
ระดับที่ 4 ฉีกขาดไปจนถึงผนังของทวารหนัก
โดยตรวจการฉีกขาดบริเวณคลิตอริส (clitoris) รูเปิดท่อปัสสาวะ (external urethral orifice) แคมใน (labia minora) ทั้ง 2 ข้าง ปากมดลูก ผนังช่องคลอดและฝีเย็บ
การตรวจรก
เพื่อประเมินว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดออกมา
สมบูรณ์หรือไม่ เพราะถ้ามีเศษรกค้างอยู่ในโพรงมดลูกอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา
การตกเลือด ภายหลังคลอดมดลูกเข้าอู่ไม่ดี (subinvolution of uterus)
การติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
ตรวจรกด้านลูก
สีเทาและมัน เนื่องจากมีเยื่อหุ้มทารกชั้น Amnion คลุมอยู่และมีเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรกแผ่ออกเป็นรัศมี โดยขนาดจะเรียวเล็กลงไปเรื่อยๆ และจะสิ้นสุดก่อนถึงขอบรก 1-2 เซนติเมตร แต่ถ้าเส้นเลือดขนาดไม่เรียวเล็กลงเมื่อถึงขอบรก อาจมีรกน้อยเกิดขึ้นได้ ที่ขอบของ Chorionic plate จะเป็นวงสีขาวซึ่งเกิดจากขอบของ Decidua vera มาเชื่อมกับ Decidua capsularis เกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เรียกว่า Closing ring of wrinkleWaldeyer ซึ่งจะอยู่บริเวณขอบรกพอดี
ตรวจเยื่อหุ้มทารก
ตรวจดูความสมดุลของเยื่อหุ้มทารกกับตัวทารก รอยแตกส่วนที่สั้นที่สุดของเยื่อหุ้มทารก ซึ่งปกติจะห่างจากขอบรกไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร ถ้าน้อยกว่า 7 เซนติเมตรอาจแสดงว่ามีภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa)
เยื่อหุ้มทารกชั้นใน (amnion) เป็นเยื่อหุ้มทารกที่ติดกับตัวทารกหรือด้าน Chorionic plate ซึ่งเป็นชั้นที่ห่อหุ้มทารกและน้ำคร่ำไว้ จะมีลักษณะมัน ใส เหนียว
เยื่อหุ้มทารกชั้นนอก (chorion) เป็นเยื่อหุ้มทารกที่ติดกับผนังมดลูก ต่อเป็นแผ่นเดียวมาจากขอบรก มีลักษณะหนา ขุ่น ไม่เรียบ เพราะมี Decidua vera และ Decidua Capsularis เยื่อหุ้มทารกชั้นนี้ฉีกขาดง่ายและมีโอกาสหลุดค้างอยู่ในโพรง
มดลูก
ตรวจรกด้านมารดา
เนื้อรก (cotyledon) ปกติจะมี 15-20 ก่อน แต่ละก่อนจะแยกออกจากกันโดยมีร่องกั้นเรียกว่า Placenta sulcus
เนื้อรกจะมีสีแดงเข้มคล้ายเปลือกลิ้นจี่
ถ้ามีบางส่วนของเนื้อรกค้างอยู่ในโพรงมดลูก จะพบว่ามีช่องว่างหรือร่องห่างระหว่าง Cotyledon ผิวของ Cotyledon จะไม่เรียบ และอาจมีเลือดซึมออกมา
ควรตรวจลักษณะผิดปกติบนเนื้อรก
calcification มักพบในรายที่อายุครรภ์เกินกําหนดผู้คลอดมีภาวะความดันโลหิตสูงเบาหวาน หรือสูบบุหรี่มากในขณะตั้งครรภ์
infarction ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของรกตามธรรมชาติ หรือผู้คลอดอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานหอบหืด
ตรวจสายสะดือ
สายสะดือปกติจะมีความยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร (เฉลี่ย 50 เซนติเมตร)
สายสะดือมีลักษณะบิดเป็นเกลียวและมีสารหล่อลื่นเคลือบบนสายสะดือ เรียกว่า Wharton jelly ทําให้สายสะดือไม่หักพับงอ
เส้นเลือดในสายสะดือมี 3 เส้น คือ หลอดเลือดดําสายสะดือ (umbilical vein) 1 เส้น หลอดเลือดแดงสายสะดือ (umblical artery) 2 เส้น
บนสายสะดืออาจจะมีปม (knot) เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ True knot (สายสะดือผูกเป็นปมเหมือนผูกเชือก) ซึ่งมักเกิดจากสายสะดือที่ยาวเกินไปและทารกในครรภ์ดิ้นไปมา ทําให้เกิดสายสะดือผูกเป็นปม และ False knot
False jelly knot
False vascular knot
ตำแหน่งการเกาะของสายสะดือบน Chorionic plate
Central insertion or Insertio centralis สายสะดือเกาะบริเวณตรงกลาง Chorionic plate
Lateral insertion or Insertio lateralis สายสะดือเกาะบริเวณด้านข้าง Chorionic plate
Marginal insertion or Insertio marginalis สายสะดือเกาะบริเวณขอบรก ทําให้มองดูเหมือนด้ามแร็กเก็ต จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Battledore insertion
Membranous insertion or Insertio velamentosa สายสะดือเกาะ
บริเวณเยื่อหุ้มทารกชั้น Chorion
ชั่งน้ำหนักรกและประเมินการเสียเลือดหลังคลอด
ปกติรกจะมีน้ําหนักประมาณ 500 กรัม หรือประมาณ 1/5 - 1/6 ของน้ําหนักตัวทารก (คิดเป็นกรัม)
ในระยะที่ 3 ของการคลอด [ผู้คลอดจะเสียเลือดประมาณ] 150 - 200 ซีซี ถ้าเสียเลือดตั้งแต่ 500 ซีซี ขึ้นไปหรือมากกว่า 1% ของน้ําหนักตัวผู้คลอด แสดงว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)
การพยาบาลในระยะที่ 4
ของการคลอด
ระยะตั้งแต่รกคลอดแล้วจนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อย ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอดสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการหดรัดตัวไม่ดี หากผู้คลอดได้รับการดูแลช่วยเหลือไม่ทันอาจทําให้ผู้คลอดเสียชีวิตได้ ภายหลังรกคลอดจะมีเลือดออกทางช่องคลอดประมาณ 150-200 ซีซี เป็นเลือดที่เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดบริเวณที่รกลอกตัว เลือดจะออกมาชั่วระยะหนึ่งและจะหยุดไหล
กลไกการหยุดของเลือดโดยวิธีธรรมชาติ
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การหดรัดตัวของมดลูกแต่ละครั้งจึงทําให้โพรงหลอดเลือดถูกรัดให้แคบลง และภายหลังรกคลอดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจะมากขึ้น ส่งผลให้โพรงหลอดเลือดตีบ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติที่ทําให้เกิดการหยุดของเลือด เรียกว่า Living ligature
การเกิด Thrombosis ไปอุดโพรงหลอดเลือด ทําให้เลือดหยุดได้ ซึ่งมักเกิดภายใน 2-3 ชั่วโมง ภายหลังคลอด
การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
Methergin 0.2 mg.เป็นสารกลุ่ม Amine alkaloids มีผลทําให้มดลูกหดรัดตัวชนิดไม่คลายตัวโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยานี้จะออกฤทธิ์ภายหลังฉีด 5-10 นาที และออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมงภายหลังฉีด ฤทธิ์ข้างเคียง คือ ทําให้หลอดเลือดหดตัว จึงทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ดังนั้นก่อนฉีดยาจึงควรวัดความดันโลหิต ถ้าสูงมากกว่า 130/90mmHg.ไม่ควรให้ยานี้
Syntocinon or Pitocin 10 unit ยานี้ออกฤทธิ์ทําให้มดลูกหดรัดตัวเป็นระยะๆและออกฤทธิ์นาน 1 ชั่วโมง ปัจจุบันมักจะฉีดภายหลังจากไหล่หน้าคลอด ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสามารถลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดได้ดีกว่าฉีดหลังจากรกคลอด
การประเมินสภาพผู้คลอด
ศึกษาประวัติผู้คลอด
จากประวัติการฝากครรภ์ ได้แก่ อายุผู้คลอด จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ และการผ่านการคลอด ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน หมู่เลือด ความเข้มข้นของเลือดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และอาการระหว่างตั้งครรภ์ (โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง,ไทรอยด์, โลหิตจาง)
ข้อมูลจากใบรายงานการคลอด ได้แก่ ชนิดของการคลอด ยาที่ใช้ในระยะก่อนคลอดและระยะคลอด สาเหตุของของการคลอดผิดปกติ การตอบสนองของผู้คลอดต่อการเจ็บครรภ์และการคลอด
การประเมินสภาพผู้คลอดในระยะที่ 4
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ตําแหน่งและระดับยอดมดลูก ภายหลังรกคลอด มดลูกจะมีขนาดลดลงเท่ากับอายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ ระดับยอดมดลูกจะอยู่ต่ํากว่าระดับสะดือเล็กน้อยหรือประมาณ 5-6นิ้ว เหนือกระดูกหัวหน่าว มดลูกจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมแข็ง ถ้าตรวจพบมดลูกนิ่มแสดงว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดี ในกรณีที่พบว่าระดับยอดมดลูกสูงกว่าปกติและคลําได้มดลูกนิ่ม อาจแสดงว่ามีเลือดก้อน (blood clot) ค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก ทําให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
นอกจากนี้มดลูกอาจหดรัดตัวไม่ดีได้จากสาเหตุอื่น เช่น การคลอดยาวนาน ทําให้เกิดUterine atony หรือกระเพาะปัสสาวะเต็ม ทําให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
เลือดที่ออกทางช่องคลอด (bleeding per vagina)
ในระยะ 2 ชั่วโมงภายหลังคลอด เลือดจะออกประมาณ 100 ซีซี (1 ชั่วโมงแรกประมาณ 60 ซีซีชั่วโมงต่อมาประมาณ 30 ซีซี) ถ้าพบว่ามีเลือดออกจํานวนมาก และเมื่อรวมกับจํานวนเลือดที่ออกในระยะคลอดแล้วมากกว่า 500 ซีซี ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดถือว่าเป็นการตกเลือด
การประเมินจํานวนเลือดที่ออกควรตรวจดูจากผ้าอนามัย (เลือดชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนประมาณ 50 ซีซี)ในบางครั้งการเสียเลือดในระยะภายหลังคลอดไม่ถึง 500 ซีซี การตรวจดูผ้าอนามัยควรตรวจดูบ่อยๆเพื่อจะได้ทราบว่ามีเลือดออกผิดปกติมากจะได้ช่วยเหลือได้ทันที
ฝีเย็บ (perineum)
เมื่อครบ 2 ชั่วโมงหลังคลอด ให้ประเมินและบันทึกระดับความเจ็บปวดโดยใช้แบบวัด Pain Scores แบบ Numberic Scale คะแนนเต็ม 10 คะแนน
การประเมินลักษณะของแผลฝีเย็บใช้ REEDA Scores
Redness ความแดงของแผล
Edema แผลบวม
Ecchymosis มีเลือดคั่งหรือก้อนเลือดใต้แผล (hematoma)
Discharge มีเลือดไหลออกจากแผล
Approximation of edges แผลปริแยก
กระเพาะปัสสาวะ
ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็ม จะพบว่ามดลูกจะลอยตัวสูงและเอียงไปทางขวา คลําบริเวณเหนือหัวหน่าวจะเป็นก้อนนุ่มหยุ่น ถ้าน้ําในกระเพาะปัสสาวะมีมาก จะขัดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกส่งผลให้เลือดออกมากขึ้น ในกรณีที่ใส่สายสวนปัสสาวะต้องสังเกตอาการอุดตันของสายยางและปริมาณปัสสาวะที่ไหล
ความปวดภายหลังคลอด
อาจมีอาการปวดมดลูกจากการหดรัดตัวของมดลูกหรือจากการปวดแผลฝีเย็บ เนื่องจากการกระทบกระเทือนของแผลหรือจากภาวะHematoma ถ้าพบต้องรายงานแพทย์ หากมีขนาดใหญ่มากกว่า 2เซนติเมตร ควรเลาะไหมเอาก้อนเลือดออกและเย็บแผลใหม่
กรณีมีสารน้ำในทางหลอดเลือดดำ
ควรตรวจสอบชนิด ปริมาณของสารน้ําที่ให้และยาที่ให้ในสารน้ํา และประเมินบริเวณที่ให้สารน้ําว่ามีการอักเสบหรือไม่
การตอบสนองของผู้คลอดต่อทารกเกิดใหม่
เพื่อนําไปสู่ความสําเร็จ Breast Feeding และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้คลอดและทารก
สัญญาณชีพ
จากประวัติการฝากครรภ์ ได้แก่ อายุผู้คลอด จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ และการผ่านการคลอด ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน หมู่เลือด ความเข้มข้นของเลือดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และอาการระหว่างตั้งครรภ์ (โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง,ไทรอยด์, โลหิตจาง)
ข้อมูลจากใบรายงานการคลอด ได้แก่ ชนิดของการคลอด ยาที่ใช้ในระยะก่อนคลอดและระยะคลอด สาเหตุของของการคลอดผิดปกติ การตอบสนองของผู้คลอดต่อการเจ็บครรภ์และการคลอด
การพยาบาล
ดูแลความสุขสบายทั่วไปและสิ่งแวดล้อม
ดูแลให้ผู้คลอดได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ พยาบาลควรจัดลําดับการพยาบาลให้เหมาะสม เพื่อให้รบกวนผู้คลอดน้อยที่สุด และช่วยดูแลทารกให้ในช่วงเวลาที่ผู้คลอดพักผ่อน
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับน้ําและอาหารอย่างเพียงพอ โดยเริ่มจากอาหารเหลวก่อนพร้อมทั้งประเมินอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังรับอาหาร
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างอยู่เสมอ
ดูแลช่วยบรรเทาอาการปวดมดลูกและแผลฝีเย็บ
แนะน้าผู้คลอดเรื่องการท้าความสะอาดแผลฝีเย็บและ
อวัยวะสืบพันธุ์
ดูแลด้านจิตสังคม โดยส่งเสริมให้ผู้คลอดและทารกได้อยู่
ด้วยกัน
บันทึกรายงานการคลอด
การย้ายผู้คลอดไปหน่วยหลังคลอด