Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Osteoarthritis Sholder
ข้อไหล่เสื่อม, การพยาบาล, การผ่าตัดข้อไหล่เทียม,…
-
การพยาบาล
- ดูแลทำความสะอาดแผลโดยใช้หลัก aseptic technique และสังเกตอาการผิดปกติของแผล เช่น แผลผ่าตัด บวม แดง ร้อน มีหนองหรือเลือดซึมออกจากแผล ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รายงานแพทย์
- ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อพบว่ามีใข้ (อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5°C) ให้รายงานแพทย์
- ดูแลความสะอาดของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
- ดูแลให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลแผลผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
- ระวังไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ
- ผู้ป่วยไม่ควรสัมผัสหรือเกาแผล
- สังเกตอาการของการติดเชื้อ ดังนี้ แผลผ่าตัดบวม แดง ร้อน มีอาการปวดแผล ผ่าตัดเพิ่มขึ้น มีไข้ T > 37.5 °C มีหนองหรือเลือดซึมออกจากแผล ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์
-
การผ่าตัดข้อไหล่เทียม
-
-
Anatomic Shoulder Arthropathy
เป็นการผ่าตัดในผู้ป่วยที่เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ ทุกอย่างยังดีอยู่ มีเพียงผิวข้อเทียมเท่านั้นที่สึกเสื่อม โดยวิธีการผ่าตัดจะคล้ายกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ แพทย์จะผ่าตัดเพื่อทำครอบผิวที่บริเวณหัวข้อไหล่ใหม่ให้กลับมาลื่นเรียบอีกครั้ง ไม่ได้เปลี่ยนกลไกของข้อไหล่ ในส่วนของเบ้าข้อไหล่ที่สึก ก็จะเปลี่ยนเป็นโพลิเทอรีน เข้าไปฝังให้มีความลื่นเรียบเหมือนข้อไหล่ที่เป็นปกติ
Reverse Shoulder Arthropathy
เป็นการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นขาดร่วมด้วยกับผิวข้อสึก ใช้การผ่าตัดข้อไหล่เทียมแบบพิเศษ ซึ่งเรียกว่า “ชนิดกลับด้าน” จะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวให้เรียบ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงกลไกของข้อไหล่ใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนจากที่กระดูกที่เป็นหัวกลมให้กลายเป็นเบ้า และเปลี่ยนจากกระดูกที่เป็นเบ้าให้กลายเป็นหัวกลม ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก ทำให้ไม่ต้องพึ่งเส้นเอ็นที่ขาดไปแล้ว เมื่อผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจะสามารถกลับมายกไหล่ได้ ใช้งานไหล่ได้อย่างเป็นปกติ
-
-
-
การรักษา
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด (Conservative Treatment)
เป็นการรักษาแบบเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่ได้รุนแรงมาก
-
-
-
-
การรักษาแบบการผ่าตัด
เป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ที่การรักษาโดยการฉีดยาหรือให้รับประทานยาแล้วอาการไม่ทุเลา
ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้อไหล่เสื่อมเพียงเล็กน้อย โดยแพทย์จะผ่าตัดส่องกล้องขนาดเล็ก ๆ เพียง 4 มิลลิเมตรเข้าไปในข้อ เพื่อเข้าไปซ่อมแซมเอ็นที่ฉีกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้ข้อไหล่เสื่อมมากขึ้นให้หายเป็นปกติ หรือ ส่องกล้องเข้าไปเพื่อเหลา หรือ กรอกระดูกที่งอกทับเส้นในคนไข้บางราย เพื่อแก้อาการไหล่ติดขัด ให้กลับมายกแขน ยกไหล่ ใช้งานแขนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งลักษณะการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องนี้ จะเป็นการจัดการกับสาเหตุของข้อไหล่เสื่อมแบบทุติยภูมิ ที่เข้าไปเคลียร์ความผิดปกติในข้อ ให้สามารถใช้งานได้ปกติ และลดอาการติดขัดข้อไหล่ของผู้ป่วย
-
พยาธิสภาพ
ข้อไหล่(Glenohumeral joint) จะประกอบไปด้วยส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (Head of Humerus) ซึ่งมีลักษณะโค้งนูน (Convex) และส่วนเบ้าของกระดูกสะบัก (Glenoid) ซึ่งมีลักษณะโค้งเว้า (Concave) โดยรัศมีความโค้งของกระดูกทั้ง 2 ด้านมีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นความมั่นคงของข้อไหล่จึงจำเป็นต้องอาศัยจากเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นรอบๆ เป็นหลัก
เส้นเอ็นข้อไหล่ (Rotator cuff tendon) เป็นเส้นเอ็นที่เกาะจากกระดูกสะบักไปยังหัวกระดูกต้นแขน (Humerus) มีจำนวน 4 เส้น เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญ โดยทำงานประสานกันช่วยในการยก, หมุนข้อไหล่ และสร้างความมั่นคงให้การ เคลื่อนไหวของข้อไหล่
เมื่อเส้นเอ็นข้อไหล่ มีการฉีกขาดขนาดใหญ่หรือไม่สามารถทำงานได้ (Massive rotator cuff tear or dysfunction) ขณะทำการยกแขน แรงดึงกล้ามเนื้อหัวไหล่ (Deltoid muscle) จะดึงให้หัวกระดูก Humerus เลื่อนขึ้นด้านบนไม่อยู่ตรงกลางเบ้า เกิดการขบกันของหัวกระดูกกับขอบเบ้าด้านบนและชนกับส่วนของกระดูก Acromion
ทำให้ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดมีอาการปวดในบางช่วงของการยกไหล่ในระยะแรก เมื่อการฉีกขาดเป็นมากขึ้น ข้อไหล่เกิดการเสียสมดุลจะมีอาการอ่อนแรงและยกไหล่ได้ไม่สุด จนเกิดการเสื่อมของข้อไหล่ในที่สุด
-
-
-
-
-
-
-
-