Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด
การรับผู้คลอดใหม่
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
ข้อมูลส่วนตัว
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน
ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
ประวัติด้านจิตสังคม
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
เจ็บครรภ์
มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
มีเลือดสดออกทางช่องคลอด
น้ำเดิน
ลูกดิ้นน้อย
แพทย์นัด
การตรวจร่างกาย
ลักษณะรูปร่าง
น้ำหนัก
การตรวจสัญญาณชีพ
ตรวจร่างกายตามระบบ
การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความวิตกกังวล
และปฏิกิริยาต่อการเจ็บครรภ์
การตรวจครรภ์
การดู
ดูขนาดของท้อง
หน้าท้องย้อย (pendulous abdomen)
กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างกัน (diastasis recti)
ลักษณะมดลูกโตตามยาวหรือตามขวาง
สังเกตการเคลื่อนไหวของทารก
สังเกตบริเวณเหนือหัวเหน่า
การฟัง
อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 110-160 ครั้งต่อนาที สม่ำเสมอ
ได้ยินชัดเจนทางด้านหลังทารก คือ บริเวณสะบักข้างซ้าย
การคลำ
umbilical grip
ท่าทารกในครรภ์
pawlik, s grip
หาส่วนนำ
engagement
descent
bilateral inguinal grip
ระดับของส่วนนำ attitude
fundal grip
ประเมินอายุครรภ์และขนาดของทารกในครรภ์
4.การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
วางมือบริเวณส่วนยอดของมดลูก (fundus) เพื่อประเมินความถี่ความแรง และระยะเวลาการหดรัดตัวของมดลูก ประเมินให้ครบทั้งduration, interval/ frequency, intensity
บันทึก Duration : ระยะเวลาตั้งแต่มดลูกเริ่มหดรัดตัวจนถึงระยะที่มดลูกคลายตัว
Interval : ระยะเวลาตั้งแต่มดลูกหดเริ่มหดรัดตัวจนถึงระยะเริ่มหดรัดตัวใหม่อีกครั้งหนึ่ง
Intensity : ความแรงของการหดรัดตัว
mild แรงดันภายในมดลูกประมาณ 25-40 mmHg. ลักษณะคล้ามดลูกได้ค่อนข้างนิ่ม (แก้ม)
moderate แรงดันภายในมดลูกประมาณ 50-70 mmHg.คลำส่วนต่างๆของทารกได้ไม่ชัดเจน (คาง)
strong แรงดันภายในมดลูกประมาณ 70-90 mmHg. คล้าส่วนต่างๆของทารกไม่ได้ (หน้าผาก)
การตรวจทางช่องคลอด
Cervical effacement
Effacement 100% หมายความว่าไม่มีส่วนของ cervical canal อีกต่อไปจุดที่เป็น external os และ internal os กลายเป็นจุดเดียวกัน
สิ่งที่จะประเมินจากการตรวจทางช่องคลอด
สภาพช่องคลอด
สภาพปากมดลูก
สภาพถุงน้ำทูนหัว ส่วนนำ
ระดับของส่วนนำ
สภาพเชิงกราน
สภาพช่องคลอด
ประเมินความนุ่มและการยืดขยายของผนังช่องคลอด ผู้คลอดที่เคยผ่านการคลอดและมีการตัดฝีเย็บมาก่อน อาจท้าให้ความยืดหยุ่นของผนังช่องคลอดลดลง
สภาพถุงน้ำคร่ำ
การตรวจจะทำได้ง่ายขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว เนื่องจากความดันภายในโพรงมดลูกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ถุงน้ำคร่ำโป่งออกมาจนคลำได้ชัดเจน
ถ้ายังอยู่จะคลำได้ลักษณะหยุ่นๆ และโป่งตึงเวลาเจ็บครรภ์
ถ้าแตกแล้วจะคลำได้ผมของทารกเมื่อถูจะมีลักษณะสากๆและเมื่อดันให้ส่วนนำขึ้นไป จะมีน้ำคร่ำไหลออกมาจากhind water
ส่วนนำ
การตรวจหาส่วนนำเพื่อดูว่าเป็นศีรษะ ก้น หรือส่วนอื่นๆ
สภาพเชิงกราน
Subpubic arch ปกติเชิงกรานแบบสตรีจะมีลักษณะโค้งทำมุมมากกว่า 85 องศาขึ้นไป
ความโค้งของ sacrum ถ้า sacrum ลาดตรง แสดงว่า ช่องกลางเชิงกรานแคบ
ลักษณะของ ischial spines ถ้าคลำได้เป็นปุ่มแหลมยื่นออกมาชัดเจน อาจเป็นเชิงกรานแบบเพศชาย ซึ่งแคบกว่าปกติ
กระดูก coccyx ปกติจะเคลื่อนไปด้านหลังได้เล็กน้อย ถ้ากระดูก coccyx งุ้มเข้า จะทำให้ช่องทางออกเชิงกรานแคบ
เพื่อวินิจฉัยว่าผู้คลอดได้เข้าสู่ระยะคลอดแล้ว
เพื่อวินิจฉัยท่าของทารกในครรภ์
เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
เพื่อประเมินความผิดปกติของช่องทางคลอด
Cervical dilatation
การตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือด CBC, VDRL, HbsAg, HIV, blood type,ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อประเมินภาวะเบาหวาน และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเพื่อประเมินภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์และการทำหน้าที่ของไต ซึ่งต้องทำทุกราย
การตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะน้ำเดิน
Nitrazine paper test : ใช้ทดสอบความเป็นกรดด่างในช่องคลอดถ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแสดงว่าเป็นผลบวก ผลบวกลวงจาก น้ำอสุจิปัสสาวะ เลือด สารหล่อลื่นที่ใช้ในการตรวจ
Fern test : พบการผลึกของ NaCl ในน้ำคร่ำ เป็นรูปใบเฟิร์น
Nile blue sulfate test : นำน้ำที่ขังอยู่ในช่องคลอด 1 หยดผสมกับnile blue sulfate 1 หยด บนสไลด์ แล้วนำไปลนไฟเล็กน้อย แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์จะพบเซลล์ไขมันของทารกติดสีแสด พบผลลบลวงในรายที่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์
การตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้คลอดแต่ละราย
การตรวจพิเศษ
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง โดยเฉพาะในผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนเพื่อค้นหาความผิดปกติ หรือในรายที่สงสัยว่าทารกในครรภ์จะเล็กหรือโตกว่าอายุครรภ์
Electronic Fetal heart rate Monitoring: EFM
การเตรียมผู้คลอด
ด้านร่างกาย
การเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
วิธีการชำระ ฟอกสบู่ โกนขนบริเวณหัวหน่าว รอบปากช่องคลอด บริเวณฝีเย็บ และรอบทวารหนักเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียที่อาจผ่านเข้าสู่ช่องคลอด
การสวนอุจจาระ
เพื่อช่วยให้ลำไส้ว่าง ทำให้มีเนื้อที่ภายในช่องเชิงกรานมากขึ้น ส่วนนำของทารกจะเคลื่อนต่ำลงมาได้สะดวก ไม่ขัดขวางการหดรัดตัวและช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และป้องกันการติดเชื้อระหว่างการคลอด
การเตรียมความสะอาด
ร่างกาย
ผู้คลอดที่มีอาการเจ็บครรภ์ไม่มากควรได้อาบนำแต่ในรายที่เจ็บครรภ์ถี่ปากมดลูกเปิดกว้างแล้วควรเช็ดตัวให้ เปลี่ยนเสื้อผ้าของโรงพยาบาลดูแลความสะอาดปากฟันผม และเล็บ ถ้าเล็บยาวตัดให้สั้น ในรายที่ทาเล็บควรล้างสีทาเล็บออก
ด้านจิตสังคม
การเตรียมทางด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้คลอดคลายความกลัว ความวิตกกังวล มีความพร้อมมากขึ้นที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ
ผู้คลอดควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการคลอด การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีความก้าวหน้าของการคลอด การดูแลรักษาพยาบาลที่จะได้รับ รวมทั้งการปฏิบัติตนขณะรอคลอด และทำความรู้จักกับบุคลากรและสถานที่
ด้านทารกในครรภ์
เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงทารกไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความก้าวหน้าของการคลอดมากขึ้น มดลูกหดรัดตัวแรงและถี่ขึ้น ทารกที่อยู่ในครรภ์เกิดความเครียดได้
กรณีที่ผู้คลอดได้รับยาต่างๆ ได้แก่ ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ยาบรรเทาความเจ็บปวด ทารกก็ได้รับผลข้างเคียงจากยานั้น
เฝ้าระวังโดยการฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะๆ การจะฟังเสียงหัวใจทารกบ่อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับช่วงระยะในการเปิดของปากมดลูก ในรายที่มีความเสี่ยงสูงอาจพิจารณาใช้เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลา (continuous fetalheart rate monitoring)
การพยาบาลในระยะรอคลอด
ด้านผู้คลอด
ด้านร่างกาย
ความสุขสบายและสิ่งแวดล้อม
ดูแลความสะอาดร่างกาย จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ อากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าเป็นได้ควรเป็นห้องปรับอากาศ
ควรเช็ดหน้าและเช็ดตัวให้ ตลอดจนดูแลความสะอาดปากและฟัน
ในรายที่ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว ควรดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกใส่ผ้าซับหรือผ้าอนามัยไว้
สัญญาณชีพ (vital sign)
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต วัดทุก 4 ชม.ยกเว้นอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ > 37.6 องศา หรือมีถุงน้ำคร่ำแตกวัดทุก 2 ชม.
หรืออาจวัดบ่อยขึ้นตามข้องบ่งชี้ ของผู้คลอด เช่น ผู้คลอดมีความดันโลหิตสูง หรือต่ำกว่าปกติ ชีพจรเร็วกว่า 90 ครั้ง/นาที
การได้รับสารน้ำและอาหาร NPO เมื่อเข้า active phase
ระยะปากมดลูกเปิดช้า (latent phase) ผู้คลอดเจ็บครรภ์ไม่มากและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ควรดูแลให้ผู้คลอดได้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และดื่มน้ำได้
ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (active phase) ควรงดอาหารและนำทางปากจนกว่าระยะที่สามของการคลอดสิ้นสุดลงเพราะอาจมีความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
การขับถ่ายปัสสาวะ
ควรกระตุ้นให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็มทำให้ขัดขวางต่อการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก และทำให้เกิดความไม่สุขสบายในขณะที่มดลูกหดรัดตัว
ประเมินบริเวณหัวเหน่าของผู้คลอดว่ามีการโป่งนูนหรือไม่ ในรายที่ปัสสาวะไม่ได้ หรือมีกระเพาะปัสสาวะเต็มควรสวนปัสสาวะให้
การพักผ่อน
การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ผู้คลอดเกิดความอ่อนเพลีย และเป็นผลให้กล้ามเนื้อมดลูกเหนื่อยล้าตามไปด้วย
ดูแลให้ผู้คลอดพักผ่อน โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีแสงสว่างหรือเสียงดังรบกวน มีความเป็นส่วนตัว ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
ท่าของผู้คลอดขณะเจ็บครรภ์ (position)
การเปลี่ยนท่าและการท้ากิจกรรมของผู้คลอด ในระยะปากมดลูกเปิดช้าและในช่วงต้นของระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ควรแนะนำให้ผู้คลอดเปลี่ยนอิริยาบถหลายๆ ท่า เช่น นั่ง ยืน คลาน นั่งยองๆ เดิน
ท่าที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ท่านอนหงายเป็นเวลานาน เพราะจะท้าให้มดลูกกดหลอดเลือด inferior vena cava เกิดภาวะ supine hypotensive syndrome ได้ ควรให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมการทำงานของไต
รายที่ได้รับยาระงับความเจ็บปวด ควรให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
รายที่ถุงน้ำแตกหรือได้รับการเจาะถุงน้ำและศีรษะทารกยังไม่ engagementควรแนะน้าให้นอนพักบนเตียง ไม่ควรเดินเพราะอาจมีสายสะดือพลัดต่ำได้
การบรรเทาความเจ็บปวด
ถ้าผู้คลอดมีความหวาดกลัว วิตกกังวล ก็จะทำให้มีความรู้สึกเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น
การบรรเทาความเจ็บปวดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการดูแลผู้คลอด
พยาบาลสามารถให้การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดได้ โดยใช้เทคนิคต่างๆ
ด้านจิตสังคม
สร้างสัมพันธภาพกับผู้คลอด
เคารพสิทธิและคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้คลอด
ให้ผู้คลอดมีโอกาสติดต่อกับญาติ
ประเมินความต้องการของผู้คลอดและให้การตอบสนองอย่างเหมาะสม
ประเมินความวิตกกังวล ความกลัวของผู้คลอดเกี่ยวกับการเจ็บครรภ์ การคลอด และให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
จัดบรรยากาศให้สงบเงียบเป็นสัดส่วน
อยู่เป็นเพื่อนผู้คลอดอย่างใกล้ชิด
เปิดโอกาสให้ผู้คลอดซักถามปัญหา
ยอมรับพฤติกรรมที่ผู้คลอดแสดงออกมา
ด้านทารก
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
ระยะ latent ควรฟังทุก 1 ชั่วโมง
ระยะ active ควรฟังทุก 30 นาที
ในผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงสูง ในระยะ latent ควรฟังทุก 30 นาที และในระยะ active ควรฟังทุก 15 นาที
ระยะเบ่งควรฟังทุก 5-10 นาที
ควรฟังให้เต็มนาทีและควรฟังเมื่อมดลูกคลายตัวแล้ว 20-30 วินาที
ในรายที่ถุงน้ำแตกควรฟังทันที และหลังจากนั้นฟังทุก 5-10 นาที
สังเกตลักษณะน้ำคร่ำ
เมื่ออายุครรภ์ไม่ครบกำหนด น้ำคร่ำมีลักษณะใส สีเหลืองจางๆ คล้ายสีฟางข้าว
ใกล้ครบกำหนดคลอด น้ำคร่ำจะขุ่นขึ้นคล้ายน้ำมะพร้าว
มีขี เทาปนในน้ำคร่ำจะสังเกตเห็นน้ำคร่ำมีสีเขียวหรือสีเหลืองน้ำตาลและข้น ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะทารกขาดอากาศหายใจ
สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
ในรายที่ทารกดิ้นมากขึ้นและแรงขึ้นอย่างทันทีทันใด อาจแสดงถึงภาวะ fetal distress อย่างเฉียบพลัน
การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารก
การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องอิเลคโทรนิคส์ (continuous electronic fetal heartrate monitoring)
ในกรณีที่ผู้คลอดมีภาวะเสี่ยงสูง เครื่องมือนี้บันทึกผลเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจทารกและลักษณะการหดรัดตัวของมดลูกบนกระดาษ
ประเมินภาวะ fetal distress
FHR ช้าหรือเร็วกว่าปกติ (>160 ครั้ง/นาที หรือ <110 ครั้ง/นาที)
จังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอติดต่อกัน 2-3 ครั้ง
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium stained)
ทารกดิ้นมากและแรงขึ้นทันทีทันใดและช้าลงตามลำดับ
ด้านการดำเนินการคลอด
การเฝ้าคลอด
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
Latent phase ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 1 ชม
Active phase ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที
กรณีได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที
การประเมินการเคลื่อนต่ำของส่วนนำและการตรวจทางช่องคลอด
จะปฏิบัติเมื่อต้องการทราบความก้าวหน้าของการคลอดควรตรวจทุก 2 – 4 ชั่วโมง หรือตรวจเมื่อมีความจำเป็นเช่น ผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มาก ถุงน้ำคร่ำแตก ผู้คลอดแสดงพฤติกรรมว่าใกล้คลอด
โดยประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูกการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ และการหมุนของศีรษะทารก
การบันทึกผลการประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
Friedman’s curve
เป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเปิดขยายของปากมดลูกกับระยะเวลาของการคลอด จะพบความสัมพันธ์เป็นกราฟลักษณะรูป เอส (S-shape) หรือรูปซิกมอยด์ (sigmoid)
WHO Partograph
ช่วยให้ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดได้ง่าย สะดวกบอกความผิดปกติได้ชัดเจน และรวดเร็วกว่าการบันทึกเป็นตัวอักษรส่วนประกอบที่ส้าคัญของ WHO partograph มี 4 ส่วน
สภาวะของทารกในครรภ์ (fetal condition)
ความก้าวหน้าของการคลอด (progress of labor)
การให้ยาและการรักษา (drug and treatment)
ภาวะของมารดา (maternal condition)
ภาวะแทรกซ้อนในระยะที่ 1 ของการคลอด
Fetal distress (fetal hypoxia หรือ asphysia)
การมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium staining of amniotic fluid)
Mild meconium staining น้ำคร่ำมีสีเหลือง มีขี้เทาจำนวนน้อยปนในน้ำ
Moderate meconium staining น้ำคร่ำมีสีเขียวปนเหลือง มีขี้เทาจำนวนมากปนน้ำคร่ำ
Thick meconium staining น้ำคร่ำมีสีเขียวคล้ำและเหนียวข้นมาก
late deceleration และ variable deceleration
การช่วยเหลือ
ให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกดีขึ้น
ให้ออกซิเจน 10 ลิตร/นาที รายงานแพทย์ทราบทันที
ฟัง FHS ทุก 5-15 นาที ลงบันทึกไว้ทุกครั้งหรือติด fetal monitoring
กรณีที่ผู้คลอดได้รับ oxytocin ควรหยุดให้ทันที
ดูแลผู้คลอดให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และปรับจ้านวนหยดตามแผนการรักษาของแพทย์
อยู่ใกล้ชิดผู้คลอด ปลอบโยน เพราะผู้คลอดจะเกิดความกลัว วิตกกังวล
กรณีปากมดลูกเปิดหมดแล้ว ช่วยแพทย์เตรียมทำคลอด ตามกุมารแพทย์และเตรียมเครื่องมือในการช่วยทารกไว้ให้พร้อม
ระยะคลอดยาวนาน (prolonged labor)
ระยะคลอดยาวนานในช่วงปากมดลูกเปิดช้า (prolonged latent phase)
ระยะปากมดลูกเปิดช้า ใช้เวลานานกว่า 20 ชม. ใน
ครรภ์แรก และมากกว่า 14 ชม. ในครรภ์หลัง
สาเหตุ
ความผิดปกติในการหดรัดตัวของมดลูก (power)
ความไม่พร้อมของปากมดลูก คือ ปากมดลูกแข็งไม่บาง และไม่เปิดขยาย
การได้รับยาแก้ปวดมากเกินไป
การช่วยเหลือ
ประเมินว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริงหรือเจ็บครรภ์เตือน
ให้นอนพัก 6 – 10 ชม. พบว่าร้อยละ 80 จะเข้าสู่ระยะ active phase
แพทย์จะพิจารณาให้ oxytocin เจาะถุงน้ำคร่ำ หรือผ่าตัด คลอดทางหน้าท้องเมื่อมีข้อบ่งชี้
ระยะคลอดยาวนานในช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว (prolonged active phase)
ปากมดลูกเปิดขยายล่าช้า (arrest of dilatation)
ปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 1.2 ซม./ชม.ในครรภ์แรก และปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 1.5 ซม./ชม. ในครรภ์หลัง
ส่วนนำเคลื่อนต่ำช้า (arrest of descent)
ภาวะที่ส่วนน้าของทารกเคลื่อนต่้าลงน้อยกว่า 1 ซม./ชม.ในครรภ์แรก และน้อยกว่า 2 ซม./ชม. ในครรภ์หลัง
สาเหตุ
มักพบร่วมกับภาวะ Cephalo-pelvic disproportion (CPD) ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ มดลูกมีการหดรัดตัวผิดปกติหรือผู้คลอดรับยาบรรเทาความเจ็บปวดมากเกินไป
การช่วยเหลือ
บันทึกความก้าวหน้าของการคลอดโดยใช้ WHO partograph
หาสาเหตุที่ทำให้เกิดระยะคลอดยาวนาน
แพทย์จะเจาะถุงน้ำ ถ้าถุงน้ำยังไม่แตก
ประเมินและตรวจภายหลังครบ 4 ชม.
ในสถานที่ที่ไม่สามารถดูแลภาวะฉุกเฉินได้ควรส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
สายสะดือพลัดต่ำ (Prolapsed cord)
ภาวะที่สายสะดือเลื่อนต่ำลงมาอยู่ข้างๆ หรือต่ำกว่าส่วนนำ อาจจะเคลื่อนมาอยู่ในช่องคลอดหรือพ้นช่องคลอดออกมาเป็นสาเหตุการตายของทารกสูงถึงร้อยละ 50
สาเหตุมาจาก ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ การตั้งครรภ์แฝด การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนก้าหนดก่อนที่จะมี engagement ภาวะน้ำมากผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ ทารกมีความพิการแต่กำเนิด และทารกที่มีสายสะดือยาวผิดปกติ
บทบาทพยาบาลในการช่วยเหลือ
การป้องกันการเกิดภาวะสายสะดือย้อย
แนะน้าให้สตรีมีครรภ์ไปโรงพยาบาลทันทีที่ถุงน้ำแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีภาวะเสี่ยง
ในระยะคลอด ควรเจาะถุงน้ำคร่ำเฉพาะเมื่อจำเป็นและปฏิบัติอย่างระมัดระวัง
ผู้คลอดที่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำแล้ว แต่ศีรษะยังไม่เคลื่อนเข้าสู่ช่องเชิงกราน ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง
ฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก
การพยาบาลเมื่อเกิดภาวะสายสะดือย้อย
ให้ผู้คลอดนอนก้นสูง เพื่อป้องกันการกดทับสายสะดือ
ถ้าพบสายสะดือโผล่พ้นออกมานอกช่องคลอด ให้ใส่ถุงมือแล้วดันส่วนน้าขึ้นไปไม่ให้กดทับสายสะดือ
ฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก เพื่อประเมินสภาวะทารกในครรภ์
ให้ออกซิเจน 5 – 10 ลิตร/นาที และดูแลช่วยเหลือให้คลอดโดยเร็ว
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจสำหรับผู้คลอดและครอบครัว