Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี - Coggle Diagram
ขั้นตอนการทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี
ข้อที่2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related lnformation Search)
2.การสังเกต เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ประกอบเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีอื่นๆ
1.กานสัมภาษณ์ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ หากผู้ตอบมีข้อซักถามไม่เข้าใจก็สามารถถามได้จากผู้สัมภษณ์โดยตรง
3.การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เบือกมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรที่สนใจ
4.การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ได้แก่ หนังสือ รายงาน บทความ และเอกสารต่างๆซึ่งต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของผู้เขียนรายงาน
ข้อที่3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Soiution Desingn)
เมื่อทำการสืบค้น รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่ใช้ในการปัญหาที่ได้มารวบรวมและประยุกต์กับการทำงานเพื่อออกแบบวิธีการ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่รวบรวมได้มาทำการประเมินและ ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้
การนำกระบวนการเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้น สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้น โดยหากผู้อ่านท่านใดนสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่ เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยี ได้ตามลิงค์ด้านล่าง
ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ข้อที่1 การสำรวจสถานการณ์หรือปัญหาที่สนใจ (problem ldentification)
การระบุปัญหาเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้เเก่ การสังเกต ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น