Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
ความหมาย
ความสูงอายุ หรือ ความชราภาพ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ อารมณ์ การเรียนรู้ สติปัญญา และเศรษฐกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เริ่มตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา
องค์การสหประชาชาติ ให้นิยามว่า ผู้สูงอายุ คือ ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยเป็นการนิยามนับตั้งแต่อายุเกิด
พระราชบัญญติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย ซึ่งผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนี้ กำหนดเป็นวัยเกษียณอายุราชการที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพและบทบาทในสังคม
ต่างประเทศที่เจริญแล้วมักจัดผู้สูงอายุโดยนับจากอายุ 65 ปีขึ้นไป
สังคมผู้สูงอายุ องค์การสหประชาชาติแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป
มากกว่า ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7
ระดับที่ 2 สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society/complete Aged society) คือ เมื่อประชากร
อายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 หรือประชากรอายุ 65 ปี เพิ่มเป็นร้อยละ 14
ระดับที่ 3 ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) คือสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้น
ไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
การแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย ทั้งนี้ผู้สูงอายุมิได้มีลักษณะเหมือนกันหมด แต่จะมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ
ผู้สูงอายุวัยต้น The young old (อายุ 60-69 ปี) เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรงดี อาจมีโรคประจ าตัวบ้าง การ
ดูแลเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
ผู้สูงอายุวัยกลาง The middle old (อายุ 70-79 ปี) เป็นกลุ่มเข้าสู่วัยเสื่อม ร่างกายเริ่มอ่อนแอ มีโรคประจ าตัว
หรือโรคเรื้อรัง ความสามารถในการดูแลตนเองลดลง การดูแลจึงเน้นเพิ่มศักยภาพ
ผู้สูงอายุวัยปลาย The oldest old (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่เข้าสู่วัยเสื่อม เจ็บป่วยบ่อยขึ้น อวัยวะ
เสื่อมสภาพ อาจมีภาวะทุพพลภาพ ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งจากครอบครัวและการแพทย์
ประเภทของผู้สูงอายุ แบ่งตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจ าวัน
กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม: ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ด าเนินชีวิตในสังคมได้โดยอิสระ เข้าร่วมกิจกรรมในสังคม ยังมีสุขภาพดี หรือยังไม่มีโรคเรื้อรัง หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังแต่ยังควบคุมดูแลได้ สามารถช่วยเหลือครอบครัวและสังคมได้
กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน: ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือต้องการความช่วยเหลือเพียงบางส่วน อาจมีข้อจ ากัดบางด้านในการด าเนินชีวิตในสังคม มีภาวะด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน โรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้และมีกลุ่มอาการส าคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ
กลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง: ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการท ากิจวัตรประจ าวันได้ ต้องการความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้าย และ/หรือการท ากิจวัตรพื้นฐานประจ าวันอื่น และเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหลายโรคและมีภาวะแทรกซ้อน ภาวะหง่อม/เปราะบาง
ความสูงอายุที่ก าหนดโดยความเป็นโรค
กลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพดี (Well older person)
• กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีภาวะทุพพลภาพ (Chronic & Disability older person)
• กลุ่มผู้สูงอายุที่หง่อม (Frail older person)
ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ (Frail elderly)
ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายไม่ป่วยแต่พร้อมจะป่วย
ซึ่งมีอาการแสดงตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปจาก 5 อย่าง
น้้าหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ทราบสาเหตุมากกว่า 3-4 กิโลกรัม หรือมากกว่าร้อยละ 5 ของน้้าหนักตัวใน
ระยะเวลา 1 ปี (weight loss)
มีความรู้สึกเหนื่อย หมดแรง (exhaustion)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (weakness)
เดินช้าลง (slow walking speed)
การออกแรงในชีวิตประจ้าวันลดลง (low physical activity)