Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ - Coggle Diagram
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการก าหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
จะทำอะไร
ทำไมต้องทำ
ต้องการให้เกิดอะไร
ทำอย่างไร
ใช้ทรัพยากรอะไร
ทำกับใคร
เสนอผลอย่างไร
การลงมือทำโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการก าหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
จะทำอะไร
ทำไมต้องทำ
ต้องการให้เกิดอะไร
ทำอย่างไร
ใช้ทรัพยากรอะไร
ทำกับใคร
เสนอผลอย่างไร
การนำเสนอและแสดงโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น
การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยค าพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยค าพูดเป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
การสาธิตผลงาน
ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน
คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ
การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน ์รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
งานอดิเรกของนักเรียน
การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงาน นักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เหล่านี้
5.1 ส่วนนำ
ส่วนนำเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
ชื่อโครงงาน
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จ
บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ (ประมาณ 150-250 คำ)
5.2 บทนำ
บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
ขอบเขตของโครงงาน
5.3 หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎีเป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎีหรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
5.4 วิธีดาเนินการ
วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน ์อุปสรรคของการท าโครงงาน หรือข้อสังเกตที่ส าคัญหรือข้อผิดพลาดบาง
ประการที่เกิดขึ้นจากการท าโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
5.7 ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนา ผลงานของโครงงานได้ใช้ด้วย
5.8 บรรณานุกรม
บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
5.9 การจัดทาคู่มือการใช้งาน
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบาย วิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
ชื่อผลงาน
ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
ความต้องการของซอฟต์แวร์ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ
องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
– ชื่อโครงงาน ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
– ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
– อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
– ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
– แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
– สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
– วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
– หลักการและทฤษฎีหลักการและทฤษฎีที่นา มาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
– วิธีดำเนินงาน
– กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์สถานที่และงบประมาณ
– ขั้นตอนการปฏิบัติวัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
– ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
– เอกสารอ้างอิง ซื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน