Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
🌺การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค🌺, (ภาคอีสาน
การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง…
🌺การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค🌺
ภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้มีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูง ที่อยู่ตรงกลางภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่งเป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบ ๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ทั้งด้านฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้ มีทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ แต่อยู่ร่วมกันโดยสงบสุขโดยอาศัยวัฒธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์
ด้วยความที่ภูมิประเทศภาคใต้ ตั้งอยู่แถบศูนย์สูตมีผลให้อากาศร้อน ชาวใต้จึงนิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย หลวม ๆ ส่วนมากใช้ผ้าฝ้าย รูปแบบเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่คล้ายกับของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะอยู่ในลักษณะอากาศแบบเดียวกัน ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของภาคใต้คือผ้ามัดย้อม ผ้ายก ผ้าจวน ผ้าไหม พุมเรียง และผ้าปาเต๊ะ
-
เครื่องดนตรีภาคใต้
สำหรับทีมีใด้ามน้าสนหนึ่งภา
และมีเอกลักษณ์ทางด้านดนตรี
อย่างลำลึก
ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีเครื่องดน
ตรีประจำ
ที่ภาคสร้างขึ้นมาไว้เพื่อบรรเลง
เพลงขับขาน
ในยามทำกิจกรรมต่าง ๆ
ของผู้คนในภาคใต้
ซึ่งเครื่องดนะขึ้นนาคใต้ในแ
ต่างก็มีความน่าสนใจเป็นอย่าง
มาก เช่น
ทับ,ปี่,โหม่ง,ฉิ่ง,กลองทัด ฯลฯ)
-
การแสดงพื้นบ้านภาคใต้
เช่น โนรา
เป็นนาฏศิลป์ที่ได้การแสดงของภาคใสดในบรรดาศิล
มีความยังยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี
การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ
ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์ราเป็นเรืองที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
นายควน ทวนยก นายปี่(เป่าปี่) ได้เล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระพระบรมวงศานุวงศ์มีต่อตนเองว่า ตอนนั้นในหลวงเสด็จมาประทับที่พระตำหนักทักษิณ ตนเองได้ไปเป่าปี่โนราหน้าพระที่นั่ง และมีโอกาสแสดงหน้าพระที่นั่งให้กับพระราชวงศ์หลายพระองค์ การแสดงครั้งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดคือตอนไปรำที่บ้านไม้เกียง (ชายทะเล) เล่นไปแป๊บเดียวฝนตกลงมาแต่ก็ไม่มีใครลุกหนี พระองค์ก็ยังประทับอยู่ ทำให้ซาบซึ้งมาก ความประทับใจครั้งที่ ๒ คือสมเด็จพระเทพรัตฯ เสด็จมาที่จังหวดพัทลุง นายควนได้ไปเป่าปี่โนราหน้าพระที่นั่ง และได้เป่าเพลงที่ตัวเองประยุกต์ขึ้น สมเด็จพระเทพรัตฯ ก็ทรงถามว่าเพลงแต่งขึ้นมาใหม่ใช่ไหม ทรงสนพระทัยและโปรดมาก ครั้งหนึ่งไปแสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถที่บนเขาตันหยง ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับทรงรับสั่งว่าให้กลับไปเป็นครูสอนคนเล่นต่อไป เป็นแรงบันดาลใจให้นายควนสอนคน ตอนนี้เปิดสอนโดยไม่คิดเงิน และรับเล่นหนังตะลุงในงานต่างๆโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
⭐️การอนุรักษ์⭐️
โดยการปลุกจิตสํานึกให้คนในท้องถิ่น
ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสําคัญ
ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนนุ
การจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ
ภาคเหนือ
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า
ในภาคเหนือภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึง มีอุปนิสัยอ่อนโยนยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนข้อยงดงามละเมียดละไมเนิบนาบอ่อนหวานการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือเรามักเรียกว่า " ฟ้อน " มีลักษณะคล้ายระบำ คือมีผู้แสดงหลายคนเป็นชุดเป็นหมู่
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
บุคคลสำคัญ เจ้าเคลือแก้ว ณ เชียงใหม่เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2456ผลงาน : ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2533
เป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงพื้นเมืองภาคเหนือที่ยังจดจำคำร้อง ทำนอง ไว้อย่างครบถ้วน
-
ภาคกลาง
เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีพื้นบ้านภาคกลางที่สาคัญ ได้แก่จะเข้ขลุ่ย ซออู้ซอด้วง ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ปี่ฉิ่ง ฉาบ เล็ก กรับ และโหม่ง
ภาคอีสาน
การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น
-
-
-
-
ตัวอย่างการเเสดงภาคอีสาน
เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก
ศิลปินเเห่งชาติ
[เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง) เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถพิเศษสามารถเล่นและถ่ายทอดดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิดโดยเฉพาะ "โปงลาง"
-
บัวผัน จันทร์ศรี
ศิลปินเพลงพื้นบ้านเพลงอีเเซว
2526–2527 รับโล่ชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และศูนย์สังคีตศิลป์ ในพิธีเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านครั้งที่ 2 (สาขาเพลงพื้นบ้านภาคกลาง) ซึ่ง
ได้รับรางวัลศิลปินเเห่งชาติ พ.ศ.2533 สาขาศิลปะการเเสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลาง