Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก, เทคโนโลยีแก้ปัญหา, เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า - Coggle…
-
เทคโนโลยีแก้ปัญหา
-
2.5 การทดสอบและประเมิณผล
2.5.1 การทดสอบหน่วยย่อย
การทดสอบวิธีนี้มุ่งเน้นทดสอบในบางระบบย่อยหรือบางส่วนที่สนใจเพื่อตรวจสอบและแก้ไข หรือพัฒนาส่วนนั้นให้ดีขึ้น ตัวอย่างการทดสอบเฉพาะจุดที่เป็นปัญหา เช่น การทดสอบความปลอดภัยจากการชนของรถยนต์
2.5.2 การทดสอบทั้งระบบ
การทดสอบลักษณะนี้มักใช้กับงานที่มีหลายระบบหรือหลายองค์ประกอบทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบว่าระบบย่อยต่าง ๆ นั้นทำงานสัมพันธ์กันหรือไม่การทดสอบทั้งระบบนั้นต้องการความแม่นยาสูง จึงต้องมีการประเมินผลการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้งานจริง
-
2.7 การนำเสนองาน
2.7.1 การนำเสนอด้วยวาจา
เนื้อหา
ผู้นำเสนอควรเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอให้ชัดเจน เป็นลำดับ ตามโครงเรื่องที่วางแผนไว้ สามารถแสดงที่มาหรือความสำคัญของปัญหา หรือจุดประสงค์ของการพัฒนาผลงานได้ชัดเจน
ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมาย
ผู้นำเสนอควรพิจารณาว่าผู้ฟังคือใคร เพื่อให้สามารถเตรียมเนื้อหา ตลอดจนใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟังและตรงวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
ผู้นำเสนอ
ผู้นำเสนอควรมีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิดใจ โดยการวางแผนก่อนนำเสนอ ศึกษาข้อมูลที่จะนำเสนอให้พร้อม กำหนดรูปแบบการนำเสนอและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกันเนื้อหา
-
2.2 การระบุปัญหา
2.2.1 แนวคิดแบบสั้น
เป็นแนวคิดที่เริ่มใช้ในระบบโรงงานอุตสาหกรรมและงานธุรกิจ โดยเน้นไปที่การสร้างคุณค่า การขจัดความสูญเปล่า การสูญเสียในระหว่างการดำเนินการ หรือลดปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนสิ้นสุด โดยสรุปมีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่
-
-
-
-
-
-
-
-
2.2.2 การสัมภาษณ์
การระบุปัญหาเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนที่สนใจจะต้องมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น ทำให้เข้าใจประสบการณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่ามีสิ่งที่ทำให้พึงพอใจ หรือมีปัญหาใด และต้องการสิ่งใดเพื่อขจัด ปัญหาหรือทำให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริงผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความรู้เบื้องต้น และเข้าใจสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องการจะสื่อสารการเตรียมการสัมภาษณ์มีขั้นตอนดังนี้
-
-
-
-
2.6 การเขียนรายงาน
เมื่อดำเนินการทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการเขียนรายงานเพื่อแสดงกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ และเพื่อเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดการต่อยอดของผลงาน การเขียนรายงานมีข้อดี คือ สามารถนำเสนอรายละเอียดหรือข้อมูลของสิ่งที่ต้องการนำเสนอได้มาก ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านข้อมูลส่วนที่ต้องการได้ การเขียนรายงานโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนอ้างอิง โดยรายงานในวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี มีรายละเอียดในแต่ละส่วนดังนี้
ส่วนเนื้อเรื่อง
รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา อธิบายความรู้หรือหลักการที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ
สรุปและข้อเสนอแนะ อภิปรายผลการทดสอบ ข้อสรุปและผลการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้งจุดเด่นหรือความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น ประโยชน์และแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้
ระบุปัญหา อธิบายที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนนำ
-
-
ปกนอกและปกใน ประกอบด้วย ชื่อรายงาน ชื่อผู้จัดทำ ชื่อโรงเรียน ระดับชั้น (ที่กำลังศึกษา) ชื่อครูที่ปรึกษา ปีการศึกษาที่ดำเนินการ
ส่วนอ้างอิง
บรรณานุกรม ใช้การอ้างอิงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น American Psychological Association (APA)ภาคผนวก ส่วนที่แสดงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบสอบถาม แบบประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
-
2.4 การออกแบบแนวคิด
เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว จะนำแนวทางนั้นมาออกแบบเป็นภาพร่าง ผังงาน หรือแผนภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง การออกแบบเป็นภาพร่าง สามารถทำได้ทั้งแบบ 2 มิติ คือ มีด้านกว้างและด้านยาว และแบบ 3 มิติ คือ มีทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านสูง การออกแบบโดยการร่างภาพ 3 มิติ จะทำให้มองเห็นภาพได้ทุกด้าน มีความสมจริงมากกว่าภาพ 2 มิติทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้มากขึ้น
-