Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวช
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์
ความผิดปกติทางจิต มีความผิดปกติมาจากทางกายและสามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าจัด และการรักษาด้วยไฟฟ้า สาเหตุที่ทพให้เกิดความผิดปกติทางจิตอาจจะเป็นเพราะว่าความผิดปกติของ สารสื่อประสาท พันธุกรรม ความเสื่อมของร่างกาย ความแปรปรวนของฮอร์โมน สารพิษ และความคิดเป็นต้น
ทฤษฎีจิตวิทยาของฟรอยด์
ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์สามารถแบ่งจิตของมนุษย์ได้เป็น
Conscious ระดับรู้สึกตัว
2.Pre-concious ระดับก่อนรู้สึกตัว
3.Unconcious ไร้จิตสำนึก
และยังมีโครงสร้างบุคลิคแบ่งได้เป็น
1.Id พลังซึ่งให้ได้มาของความพอใจ
2.Ego พลังแห่งการรับรู้และเข้าใจ
3.Super ego พลังแห่งการเรียนรู้
ฟรอยด์กล่าวว่าเรื่องของความหวาดกลัวที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่สามารถควบคุม Ego ไม่สามารถควบคุม Id หรือ Super Ego ได้โดยร่างกายจะมีกลวิธานที่ตอบสนอง คือ การเก็บกด การทดแทนที่ การทำให้ตนเสมือน การโทษผู้อื่น และปฏิกิยาแกล้งทำเป็นต้น
การบำบัดทางจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Therapy)
ใช้ในกระบวนการบำบัดทางจิตเพื่อช่วยผู้ป่วยสำรวจและทำความเข้าใจจิตไร้สำนึกของตน
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal theories)
Harry Stack Sullivan ไม่เชื่อในทฤษฎีของฟรอยด์ แต่คิดว่าคนเราต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ โดยกล่าวว่าคนที่ No relationship จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นเหมือนส่วนเกิน บุคคลขาดความตระหนักในเรื่องของการมีสัมพันธภาพ เพราะเหตุนี้จึงได้มีระบบของ Self - System ขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนสำคัยของบุคลิกภาพที่เป็นเกราะป้องกันความวิตกกังวล
1.ฉันดี Good me
2.ฉันเลว Bad me
3.ไม่ใช้ฉัน Not me
เราสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้โดย มุ่งเน้นการพยาบาลแบบองค์รวม การใช้วิธี One-to-One ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกมั่นคงภายในจิตใจ ช่วยหาจุดดีของตนเองเป็นต้น
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีที่กล่าวถึง "พฤติกรรมของคนเกิดจากการเรียนรู้"
Classical conditioning ของ Pavlov มีดังนี้
1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) การหยุดพฤติกรรมเมื่อเกิดความรู้สึกของสิ่งที่อยากได้
2.กฎแห่งการสรุปกฎเกณพ์โดยทั่วไป (Law of Generalization) การเชื่อมโยงพฤติกรรมที่ตอบสนอง
3.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) การเรียนรู้แยกแยะความต่างในการตอบสนอง
เราสามารถนำไปใช้ในการฝึกจิตของผู้ที่มีปัญหาได้
ทฤษฎีเงื่อนไขการกระทำของสกินเนอร์ (Operant conditioning theory)
ทฤษที่ที่กล่าวเกี่ยวกับการที่คุณอยากที่จะได้อะไรคุณจะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากคุณสามารถทำมันได้คุณก็จะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทฤษฎีของสกินเนอร์จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้จากการลงมือทำโดยมีแรงเสริม (Reinforcement) ที่จะเป็นแรงเสริมช่วยให้เป็นแรงจูงใจในการกระทำ
โดยแรงเสริมแบ่งออกเป็น 1.Positive Reinforcement) สิ่งเร้าที่รับเข้ามา ทำให้เกิดความพึงพอใจ และส่งผลต่ออัตราการตอบสนอง เปลี่ยนแปลงไปทางลักษณะที่เข้มข้นขึ้นหรือสิ่งที่คนพอใจ 2.Negative Reinforcement สิ่งเร้าที่เมื่อเราตัดออกไปจากสถานการณืนั้น มีผลให้อัตราตอบสนองเปลี่ยนไปทางลักษณะที่เข้มข้นขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้มีปัจจัยที่มีผลกระทบคือ Timing, Magnitude and Appeal, Consistency
ทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยม (Cognitive Behavior theory)
ทฤษฎีที่ว่า มุ่งเน้นให้คนหาปัญหาของตนเองด้วยตนเอง และแก้ไขปัยหาของตนเองด้วยตนเองเช่นกัน โดยอยู่บนหลักของความเป็นจริง
สาเหตุนั้นเกิดได้หลายอย่าง เช่น คิดรุปเกินจริง ยึดตัวเองเป็นสำคัญ คิดสุดโต่ง และเลือกสรุป เป็นต้น
ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theory)
Abraham Maslow
พัฒนาทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ความต้องการพื้นฐาน (Physiological Needs), ความปลอดภัย (Safety Needs), ความรักและการเป็นส่วนหนึ่ง (Love and Belongingness Needs), ความเคารพนับถือ (Esteem Needs), และการบรรลุศักยภาพสูงสุด (Self-Actualization Needs)
มาสโลว์เชื่อว่ามนุษย์ต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองและแสวงหาความหมายในชีวิต
ทฤษฎีบุคลิกภาพแห่งตนของคาร์ล โรเจอร์ส
มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบด้วยกัน 1.ตนที่ตนมองเห็น (Self concept) 2.ตนตามที่เป็นจริง (Real self) 3.ตนตามอุดมคติ (Ideal self)
ทฤษฎีบุคลิกภาพแห่งตนของ Carl Rogers เน้นการพัฒนาตนเองและการเติบโตของบุคคลผ่านการรับรู้และการยอมรับตนเองอย่างแท้จริง รวมถึงการได้รับการยอมรับจากผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข การบำบัดแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางจึงเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่เปิดกว้างและยอมรับเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาตนเองและบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง
ทฤษฎีระบบ (System theory)
แนวคิดของทฤษฎีนี้เชื่อว่า มนุษย์เป็นระบบบเปิดที่จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั้นคือ ครอบครัว ชุมชน ระบบจะประกอบด้วย ร่างกาย ิจตใจ สงคม และจิตวิญญาณ ส่วนพฤติกรรมคือเป็นผลรวมการตอบสนองของร่างกาย จิตใจ สังและจิตวิญญาณ
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial theory)
อิริกสันแบ่งขั้นตอนของมนุษย์เป็น 8 ขั้นตอนได้แก่
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ (Trust V.S Mistrust) วัยทารก 1 ปีแรก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวเอง-ความไม่มั่นใจในตัวเอง (Atonomy V.S Shame and Doubt) เด็กอายุ 2 ปี
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด (Initiative V.S Guilt) เด็ก 3-5 ปี
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียร-ความรู้สึกต่ำต้อย (Industry V.S Inferiority) เด็กอายุ 6-11 ปี
ขั้นที่ 5 ตวามเป็นเอกลักษณ์-ความสับสนในบทบาท (Identy V.S Role confusion) เด็กเข้าสู่วัยรุ่น คือ อายุระหว่าง 12-18 ปี
ขั้นที่ 6 ความผูกผัน-การแยกตัว (Intimacy V.S Isolation) อายุระหว่าง 19-40 ปี
ขั้นที่ 7 การทำประโยชน์ให้สังคม-การเห็นแก่ตัว (Generativity V.S Self-Absorption) อายุระหว่าง 40-60 ปี
ขั้นที่ 8 บูรณาภาพ-ความสิ้นหวัง (Integrity V.S Despair) อายุ 60 ปี ขึ้นไป
การนำไปใช้
การให้คำปรึกษาและจิตบำบัด:
การใช้ทฤษฎีนี้ในการทำความเข้าใจปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยในแต่ละช่วงวัย
การให้คำแนะนำและการบำบัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
เป็นทฤษฎีทางการพยาบาลที่เน้นไปที่การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ทฤษฎีนี้มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระที่สุด ทฤษฎีการดูแลตัวเองของโอเร็มแบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎีย่อย
ทฤษฎีการดูแลตัวเอง (Theory of Self-Care):
เน้นว่าบุคคลทุกคนมีความสามารถและความรับผิดชอบในการดูแลตัวเอง เพื่อรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การดูแลตัวเองในที่นี้หมายถึงกิจกรรมที่บุคคลต้องทำเองเพื่อรักษาชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง
ทฤษฎีข้อบกพร่องในการดูแลตัวเอง (Theory of Self-Care Deficit):
เมื่อบุคคลไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพหรือข้อจำกัดอื่น ๆ พยาบาลจะต้องเข้ามาช่วยดูแลเพื่อเติมเต็มข้อบกพร่องนี้
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (Theory of Nursing Systems):
แบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก คือ ระบบการพยาบาลเต็มรูปแบบ (Wholly Compensatory Nursing System) ระบบการพยาบาลแบบกึ่งพึ่งพา (Partially Compensatory Nursing System) และระบบการพยาบาลแบบช่วยเหลือ (Supportive-Educative Nursing System)
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy Adaptation Model) ถูกพัฒนาขึ้นโดย Sister Callista Roy ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ทฤษฎีนี้เน้นที่ความสามารถของบุคคลในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพ โดยพิจารณาว่าบุคคลเป็นระบบที่เปิดรับและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีนี้มีแนวคิดหลักๆ
แนวคิดหลักของทฤษฎีการปรับตัวของรอย ซึ่งสามารถนำไปใช้โดยการแนะนำผู้ป่วยได้
1.บุคคล (Person)
บุคคลถูกมองว่าเป็นระบบที่เปิดรับ (open system) ที่มีการตอบสนองและปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
2.สิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อมหมายถึงทุกสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล ทั้งภายในและภายนอก
3.สุขภาพ (Health)
สุขภาพเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
4.การพยาบาล (Nursing)
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการช่วยบุคคลปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและรักษาสมดุลในสี่มิติของการปรับตัว
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว
เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย โดยเน้นว่าความสัมพันธ์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการดูแลและการบำบัดรักษา ทฤษฎีนี้พัฒนาในช่วงทศวรรษที่ 1950 และถือว่าเป็นหนึ่งในทฤษฎีสำคัญที่เน้นการพยาบาลจิตเวช ทฤษฎีของเพบพลาวแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอนและมีแนวคิดหลักที่สำคัญดังนี้
บทบาทของพยาบาลและผู้ป่วย (Nurse-Patient Roles):
Stranger ในระยะเริ่มแรก พยาบาลและผู้ป่วยเป็นคนแปลกหน้า ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่แน่ใจหรือกลัว
Resource Person พยาบาลให้ข้อมูลและแหล่งทรัพยากรที่ผู้ป่วยต้องการเพื่อทำความเข้าใจปัญหาสุขภาพของตนเอง
Teacher พยาบาลสอนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับสุขภาพและวิธีการดูแลตัวเอง
Leader พยาบาลนำและช่วยผู้ป่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
Surrogate พยาบาลทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือผู้สนับสนุนให้กับผู้ป่วยในช่วงที่ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแอหรือไม่มั่นคง
Counselor พยาบาลให้การสนับสนุนทางอารมณ์และช่วยผู้ป่วยทำความเข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของตนเอง
ระยะของความสัมพันธ์ (Phases of Interpersonal Relationship):
Orientation Phase ระยะเริ่มต้นที่พยาบาลและผู้ป่วยเริ่มรู้จักกัน ผู้ป่วยจะเริ่มเปิดใจและเปิดเผยปัญหาของตน
Identification Phase ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกว่าพยาบาลเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและช่วยเหลือเขาได้ และเริ่มร่วมมือในการรักษา
Exploitation Phase ระยะที่ผู้ป่วยใช้ทรัพยากรและความรู้จากพยาบาลเพื่อพัฒนาการดูแลตัวเอง
Resolution Phase ระยะสุดท้ายที่ความสัมพันธ์สิ้นสุดลง เมื่อผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้และไม่ต้องการการสนับสนุนจากพยาบาลอีกต่อไป