Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี, มีความปลอดภัย - Coggle Diagram
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี
สำรวจสถานการณ์ ปัญหาที่สนใจ เพื่อกำหนดหัวข้อ โครงงาน
เห็นประโยชน์และความคุ้มค่าของเรื่องที่จะทำโครงงาน
ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา : :
สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษาซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำปรึกษา
มีเวลาเพียงพอ
มีงบประมาณเพียงพอ
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากครูผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการ ทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว ผู้เรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วยแหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ การศึกษาผลงานของโครงงานคอมพิวเตอร์จากงานแสดงนิทรรศการ หรือจากเอกสารรายงาน โครงงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจค้นหาได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้เรียนในด้านความรู้ เทคนิคและวิธีการพัฒนา นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวคิดที่จะดัดแปลงผลงานดังกล่าว มาจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ในหัวข้อที่ตนสนใจด้วย
การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
3.1 กำหนดขอบเขตงาน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารวิชาการ เพื่อนำมากำหนดขอบเขต ลักษณะและแนวทางในการวางแผนจัดทำโครงงาน
3.2 การออกแบบการพัฒนา
การออกแบบพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตัวแปล ภาษาและวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้กำหนด คุณลักษณะของผลงาน ระบุเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้งกำหนดตารางการปฏิบัติงาน
3.3 พัฒนาโครงงานขั้นต้น
การพัฒนาโครงงานขั้นต้น เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำผลจากการปฏิบัติไปปรับปรุง แผนการปฏิบัติงานที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เสนอ โครงงานที่ต้องการตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงงานและหลักการ
3.4 จัดทำและเสนอข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
เขียนข้อเสนอโครงงานนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่ออาจารย์ที่ปรึกษาจะได้แนะนำในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างราบรื่น
การลงมือพัฒนาโครงงาน
4.1 การเตรียมการ
ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่น ๆ ที่จะใช้ในการทดลองพร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่าง ๆระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
4.2 การลงมือพัฒนา
ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้า
4.3 การตรวจสอบผลงานและแก้ไข
การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
4.4 การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
มื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้เรียนอาจพบข้อสังเกตประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
การจัดทำรายงาน
เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งานรายงาน
ส่วนนำ
ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนอ้างอิง
การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน
เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงผลงาน โดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการ โดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด
มีความปลอดภัย